task_alt

อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสมุนไพรพื้้นบ้าน : บ้านคลองทราย

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ อนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสมุนไพรพื้้นบ้าน : บ้านคลองทราย

ชุมชน หมู่ที่ 1 ตำบลคลองทราย อำเภอ นาทวี

รหัสโครงการ 57-02573 เลขที่ข้อตกลง 58-00-0041

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 ตุลาคม 2557 ถึง 15 พฤศจิกายน 2558

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2557 ถึงเดือน มีนาคม 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 2557 รอบ 2

วันที่ 29 พฤศจิกายน 2557 เวลา 09:00-21.00 น น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจการดำเนินโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-สามารถลงข้อมูลในเว้ปไซต์ได้ โดยได้ทำเมนูแผนภาพและการใส่ปฎิทินแผนงานโครงการ

-มีความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการ

-ได้เพื่อน ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และรู้จักชุมชนอื่นๆ ที่เข้าร่วมโครงการท้องถิ่นน่าอยู่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมปฐมนิเทศโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 2557 รอบ 2

กิจกรรมที่ทำจริง

-เรียนรู้การใช้เว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข จากวิทยากรที่ทางทีม สจรส.มอ ได้ให้คำแนะนำซึ่งมีรายละเอียดที่ค่อนข้างมาก ซึ่งต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ

-เรียนรู้การดำเนินกิจกรรมโครงการจากเจ้าหน้าที่ สสส.และอาจารย์พงษ์เทพ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้

-ทางพี่เลี้ยงได้ให้ฝึกการลงข้อมูลในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข เช่น เมนูแผนภาพ,เมนูรายละเอียด ,การใส่ปฎิทินแผนการทำงาน และการบันทึกรายงาน

 

2 2

2. ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงในการบันทึกข้อมูลลงในเวบไซต์คนใต้สร้างสุข

วันที่ 9 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีความเข้าใจเพิ่มมากขึ้นในการบันทึกข้อมูลในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สนับสนุนและติดตามผลโครงการโดยทีม สจรส.มอ

กิจกรรมที่ทำจริง

-เรียนรู้เพิ่มเติมการลงบันทึกข้อมูลในเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข เช่น การลงปฎิทินการทำงาน,การแก้ไขปฎิทิน

-กำหนดแผนงานให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ของชุมชน และแผนงานตามเอกสารข้อตกลง

 

2 2

3. ประชุมจัดตั้งสภาผู้นำ จำนวน 20 คน

วันที่ 15 มกราคม 2558 เวลา 13:30-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดตั้งสภาผู้นำในการขับเคลื่อนพัฒนาชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้สภาผู้นำ จากตัวแทนคนในชุมชน ได้แก่ ครู, รพ.สต., อสม.,ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน อบต. และประชาชน จำนวน 20 คน ประกอบด้วย 1.นายบุญศิริ จันทร 2.นายจิต นิลภ้กดี 3.นายเลี่ยน อ่อนทอง 4.นายธีระพล บุญทอง 5.นางสาววาสนา สุขมี 6.นางนฤมล บุญทอง 7.นางวิภา ดำแก้ว 8.นางอนงค์ อ่อนทอง 9.นางละออง  สีแก้ว 10.นางสาวดวงสุดา อินทร์ช่วย 11.นางอาภร เพชรสุข 12.นางณัฐธ้นยา พุดช่วย 13.นางแอบ ทองดำ 14.นางพิมพา ละม้าย 15.นางบังอร ณะไชย 16.นางรัตนา สังข์ทอง 17.นางสาวนัทชญา ตั่นหุ้ย 18.นางประไพย สุวรรณมณี 19.นางจีราวัลย์ ประช่เรืองฤทธิ์ 20.นางนพรัตน์ สมแหละ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมจัดตั้งสภาผู้นำชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้ประชุมจัดตั้งสภาผู้นำ จำนวน 20 คน โดยมีตัวแทนจากชุมชน เช่น ครู ,เจ้าหน้าที่ รพ.สต.,อสม.ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน,อบต. และประชาชนในพื้นที่

 

50 64

4. จัดทำป้ายชื่อโครงการและป้ายเขตปลอดบุหรี

วันที่ 17 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ในการลด ละ เลิก การสูบบุหรี่ในพื้นที่สาธารณะ และพื้นที่ในการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีป้ายเขตปลอดบุหรี่  เพื่อใช้รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ในการลดการสูบบุหรี่ในพื้นที่ดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ ใช้รณรงค์ในการลดการสูบบุหรี่ในพื้นที่การดำเนินกิจกรรม และพื้นที่สาธารณะ

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่ จำนวน 1 ป้าย

 

2 2

5. สภาผู้นำประชุมประจำเดือน ครั้งที่1

วันที่ 19 มกราคม 2558 เวลา 13:30-16.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมสภาผู้นำในการรายงานผลการดำเนินงาน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้แผนงานในการจัดประชุมชี้แจงโครงการ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558  ซึ่งตรงกับหมุู่บ้านมีการทำประชาคมแผนหมู่บ้าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมติดตามผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและวางแผนการทำงานครั้งต่อๆ ไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมสภาผู้นำ ในการเตรียมแผนงานกิจกรรม

 

20 20

6. ประชุมชี้แจงรายละเอียดของโครงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทยสมุนไพรพื้นบ้านให้คนในชุมชนได้รับรู้และเข้าใจความเป็นมาของการดำเนินโครงการ

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:00-16:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมชี้แจงโครงการให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้ข้อมูลในการดำเนินงานโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจในการดำเนินงานโครงการ ครู เด็กๆเยาวชน ร่วมกันแสดงความคิดเห็นสนใจการจัดกิจกรรมและให้ความร่วมมมือในการกิจกรรมในอนาคต
- นอกจากนี้ได้พูดคุยแผนในชุมชนร่วมกันทำประชาคม ได้เสนอแผนซ่อมแซมถนนในชุมชนและการขุดลอกคลอง ตลอดจนการซ่อมแซมศาลาเอนกประสงค์ การนำปรัญญา ศก.พอเพียง มาใช้ในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำง จากราคายางตกต่ำ และการรวมกลุ่มกันทำอาชีพเสริม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สภาผู้นำฯจัดประชุมชี้แจงโครงการให้ประชาชนในพื้นที่ชุมชนบ้านคลองทราย ม. 1 โดยการเชิญเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น (อบต.คลองทราย,คณะครูโรงเรียนบ้านลำชิง ,พัฒนาชุมชน ,รพ.สต. ลำชิง,รพ.สมเด็จพระบรมราชินีนารถ) ฯลฯ และประชาชนในหมู่บ้านรับฟังการชี้แจงรายละเอียด โครงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย สมุนไพรพื้นบ้าน เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้และเข้าใจความเป็นมาของการดำเนินงานโครงการฯ พร้อมทั้งรับสมัครครัวเรือนต้นแบบ 30 ครัวเรือนเพื่อปลูกสมุนไพรที่นำมาใช้ทั้งด้านอาหารและเครื่องดื่มในชีวิตประจำวัน
พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์รณรงค์เขตลดเหล้าและปลอดบุหรี่ในพื้นที่ดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

-การประชุมชี้แจงโครงการ ร่วมกับการประชาคมแผนงาน อบต.

 

140 113

7. สภาผู้นำประชุมประจำเดือนครั้งที่ 2

วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาผู้นำ ส่งเสริมและขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนอน่างมีส่วนร่วม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-หลวงตาทองคำ ผลปุญโญ รักษาการเจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ อนุญาติให้ร่วมลงรายละเอียดของโครงการในใบฎีกา โดยมอบหมายให้ นางสาววาสนา สุขมี เป็นผู้จัดทำออกแบบใบฎีกาทอดผ้าป่าสามัคคี -ผู้รับผิดชอบจุดรับบริจาคพัน์พืชสมุนไพรคือ นางนฤมล บุญทองและ นางนพรัตน์ สมแหละ -ผู้รับผิดชอบเรื่องเตรียมปรับพื้นที่สำหรับปลูกพืชสมุนไพร คือ นายเลี่ยน อ่อนทอง -ผู้รับผิดชอบติดต่อประสานงานคือ นายธีระพล บุญทอง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมร่วมกับผู้นำและกรรมการหมู่บ้านและกรรมการสำนักสงฆ์เพื่อวางแผนเตรียมงานทอดผ้าป่าสามัคคีของสำนักสงฆ์ มีการแบ่งหน้าที่ร่วมรับผิดชอบและขอลงรายละเอียดของโครงการในฏีกาเพื่อขอร่วมทอดผ้าป่าสมุนไพรและขอรับบริจาคพันธุ์พืชสมุนไพร

 

20 19

8. รับสมัครอาสาสมัครเยาวชน "เจตมูลเพลิงแดง " จำนวน 30 คน ในการเป็นทีมนักสำรวจร่วมกับกลุ่มสภาผู้นำ ฯ ครู และกลุ่มองค์กรในชุมชนในการรวบรวมชนิดพืชสมุนไพรในท้องถิ่นและองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาผู้นำองค์กรและกลุ่มต่างๆในชุมชนในการส่งเส่มและขับเคลื่อนการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ไม่เข้าใจในเรื้องสมุนไพรหรือประโยชน์และการนำไปใช้ แต่ยินดีที่จะเข้าร่วมกิจกรรม  โดยให้แจ้งเวลาจัดกิจกรรมประสานกับทางโรงเรียน มีรายชื่อต่อไปนี้ 1. ด.ช.ธานินทร์ สังข์ทอง 2. ด.ญ.วรรณวิษา เซ้งเตียว 3. ด.ญ.กาญจนา หมวดเพชร์ 4. ด.ช.ธีรภัทร ชัยยุทธ 5. ด.ช.วราฮาล มะหลี 6. ด.ญ.ปานตา ทองกลิ่น 7. ด.ญ.ตรีรัตน์ กมลเจริญ 8. ด.ญ.ขวัญกมล สงแก้ว 9. ด.ช.ศิวกร กายเพ็ชร 10. ด.ญ.พิมลนาฏ ศรีข่วย 11. ด.ญ.สุวภัทร ทองคำ 12. ด.ญ.ณราทิพย์ ยืนยง 13. ด.ญ.เยาวเรศ ทองบุรี 14. ด.ช.ภูสยาม อินทร์รัตนพงค์ 15. ด.ญ.ปรารถนา สุวรรณกาญจน์ 16. ด.ช.ปวริศ จันแก้ว 17. ด.ญ.ดวงพร พรหมรักษา 18. ด.ช.นันทวัฒน์ ดำแก้ว 19. ด.ช.วันชนะ อินทร์แก้ว 20. ด.ช.ชูเกียรติ สุวรรณกาญจน์ 21. ด.ช.ภัทรธร สุวรรณรัตน์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

รับสมัครอาสาสมัครเยาวชน "เจตมูลเพลิงแดง " จำนวน 30 คน ในการเป็นทีมนักสำรวจร่วมกับกลุ่มสภาผู้นำ ฯ ครู และกลุ่มองค์กรในชุมชนในการรวบรวมชนิดพืชสมุนไพรในท้องถิ่นและองค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพร

กิจกรรมที่ทำจริง

ได้เข้าไปประสานกับครูโรงเรียนนาหมอศรี เพื่อทำความเข้าใจและพูดคุยในการให้เด็กนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ซึ่งทางครูก็ให้ความร่วมมือที่จะให้นักเรียนระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนวัดนาหมอศรีผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 1 ตำบลคลองทราย เข้าร่วมกิจกรรมโดยแจ้งกิจกรรมที่ต้องการให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการร่วมสำรวจชนิดของสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นร่วมกันสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการ เพื่อสร้างจิตสำนึกร่วมอนุรักษ์ภูมิปัญญาด้านสมุนไพรของบรรพบุรุษให้คงอยู่สืบไป โดยให้ผู้สนใจร่วมกิจกรรมมาร่วมกิจกรรมในนาม "กลุ่มเจตมูลเพลิงแดง" ซึ่งครูจะได้นำไปพูดคุยในชั้นเรียนเพื่อรับสมัครเด็กที่มีความสนใจ และมีเวลาในการมาเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ

 

58 46

9. ประชุมคณะทำงานโครงการ

วันที่ 5 มีนาคม 2558 เวลา 14:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อให้คนในชุมชนได้ช่วยกันฟื้นฟู สืบทอดมรดกภูมิปัญญาด้านสมุนไพรในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดแบ่งหน้าที่ในการจัดหาอุปกร์และวัตถุดิบที่ต้องใช้

-นางสาว วาสนา สุขมีและนางนฤมล บุญทองรับผิดชอบเรื่องวัตถุดิบ สมุนไพร

-นางวิภา ดำแก้ว รับผิดชอบจัดเตรียมเอกสาร

-นายธีรพล บุญทอง รับผิดชอบเรื่องติดต่อประสานงานและเตรียมอุปกรณ์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมวางแผนเตรียมความพร้อมเพื่อการเรียนรู้ตำรับยาสมุนไพรลูกประคบ

กิจกรรมที่ทำจริง

ร่วมประชุมเพื่อจัดเตรียมอุปกรณ์และชนิดสมุนไพรที่ต้องใช้ในการทำลูกประคบ

 

5 4

10. สภาผู้นำประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 3

วันที่ 9 มีนาคม 2558 เวลา 13:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อพัฒนาผู้นำองค์กรและหลุ่มต่างๆในชุมชนในรูปแบบสภาผู้นำในการส่งเสริมส่งเสริมและขับเคลื่อนการเรียนรู้ขแงคนในชุมชนอย่างมีส่วนร่วม

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดแบ่งหน้าที่จุดรับผิดชอบร่วมกันทั้งกิจกรรมของสำนักสงฆ์และกิจกรรมโครงการเพราะสภาผู้นำและคณะทำงานโครงการทุกคนล้วนเป็นกรรมการของสำนักสงฆ์ด้วย

-นางสาววาสนา สุขมี,นางนฤมล บุญทอง,นางประไพย สุวรรณมณีรับผิดชอบกองอำนวยการและจุดรับบริจาคสมุนไพร

-นายธีระพล บุญทอง,นางวิภา ดำแก้ว,นางอนงค์ อ่อนทอง,นางนพรัตน์ สมแหละ,นางรัตนา สังข์ทอง,นางอาภร เพชรสุข รับผิดชอบจุดพฤกษาพาโชคและประชาสัมพันธ์โครงการ

-นายจิต นิลภักดี รับผิดชอบกองอำนวยการและประชาสัมพันธ์หลักของสำนักสงฆ์

-นางละออง สีแก้วและนางบังอร ณะไชย รับผิดชอบเรื่องอาหาร

-นส.ดวงสุดา อินทร์ช่วย,นางณัฐธันยา พุดช่วย ,นางแอบ ทองดำ รับผิดชอบเครื่องดื่ม

-นายเลี่ยน อ่อนทองรับผิดชอบเรื่องดูแลความสงบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ติดตามผลงานที่ผ่านมาและวางแผนทำงานครั้งต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมร่วมกับผู้นำท้องถิ่นและคณะกรรมการสำนักสงฆ์เพื่อวางแผนการทำกิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคีและรับบริจาคพันธุ์พืชสมุนไพร,แบ่งหน้าที่รับผิดชอบกำหนดจุดรับบริจาคและจุดพักเก็บพันธุ์สมุนไพรที่ได้ก่อนนำไปปลูกจริง

 

20 16

11. เรียนรู้ตำรับยา สมุนไพรลูกประคบ

วันที่ 11 มีนาคม 2558 เวลา 13:00-17.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การทำลูกประคบ 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ได้ลูกประคบน้ำหนักลูกละ 100 กรัม จำนวน 65 ลูก

-เด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชนได้เรียนรู้ และมีความรู้การทำลูกประคบและรู้ถึงประโยชน์ของลูกประคบ,วิธีการนำไปใช้และการเก็บรักษา

-กลุ่มผู้ป๋วย และกลุ่มผู้สูงอายุ ได้ลูกประคบหลังจากที่ทำเสร็จแล้ว กลับไปใช้เพื่อใช้บำบัดรักษาอาการปวดเมื่อย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เรียนรู้ตำรับยา สมุนไพรลูกประคบ

กิจกรรมที่ทำจริง

-วิทยากรให้ความรู้ สรรพคุณของสมุนไพรที่นำมาทำลูกประคบ
-วิทยากรให้ความรู้ การนำลูกประคบมาใช้กับการรักษาอาการเจ็บป๋วย -วิทยากรให้ความรู้ส่วนผสมของสมุนไพรแต่ละชนิด  โดยทางชุมชนได้เลือกการทำลูกประคบแบบแห้ง  โดยใช้สมุนไพร ต่อสูตรดังนี้

-ไพร 500 กรัม

-ขมิ้น 250 กรัม

-ผิวมะกรูด 200 กรัม

-ตะไคร้แกง 200 กรัม

-ใบมะขามแห้ง 100 กรัม

-การบูร 30 กรัม

-พิมเสน 30 กรัม

-เกลือแกง 50 กรัม

-อุปกรณ์ ,ผ้าด้ายดิบ,เชือกมะพร้าว,ถุงพลาสติกพับข้าง,ทัพพี,เครื่องชั่ง,กะละมัง

วิธีทำ -ชั่งสมุนไพรแต่ละชนิดตามสูตร

-ตำสมุนไพรแต่ละชนิด อย่างหยาบๆ

-เอาสมุนไพรแต่ละชนิดใส่กะละมัง

-ใส่การบูร พิมเสนและเกลือลงไป คลุกเคล้าให้เข้ากัน

-ตักสมุนไพรใส่ผ้าที่เตรียมไว้โดยชั่งน้ำหนักให้เท่าๆกัน ลูกประคบแต่ละลูกจะหนักประมาณ 100 กรัม

-ห่อลูกประคบให้เป็นลูกกลมๆ ใช้เชือกผูกให้แน่น

 

50 80

12. ทอดผ้าป่าสมุนไพร

วันที่ 14 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-19.00 น. น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดทำศูนย์เรียนรู้สมุนไพร ให้คนในพื้นที่ชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ได้สมุนไพรที่มีผู้มีจิตศรัทธา ได้บริจาคให้กับกลุ่ม ประมาณ 6  ชนิด  เช่น
หัวไพร  จำนวน  20 ต้น ,ตะใคร้ จำนวน  50 ต้น ,พริก 1  ต้น ,หญ้าปักกิ่ง 1 กระถาง,ตะไคร้หอม  50  ต้น,คว่ำตายหงายเป็น  1 กระถาง

-เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ชุมชนไม่เคยทำมาก่อน ยังเป็นสิ่งใหม่ในพื้นที่  คนในชุมชนยังขาดความเข้าใจ  และมีความเข้าใจน้อย จึงทำให้ได้สมุนไพรน้อยกว่าเป้าที่กำหนด ตลอดจนเป็นช่วงหน้าแล้งสมุนไพรบางชนิดแห้งและตาย แต่หลังจากได้มีการประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจให้คนที่เข้ามาร่วมงานทอดผ้าป่า  ครัวเรือนที่มีสมุนไพรได้มีการรับปากที่จะนำมาบริจาคให้ในวันหลัง ซึ่งทางคณะทำงานโครงการจะได้มีการนำสมุนไพรที่ได้รับบริจาค นำไปปลูกในพื้นที่ดินของสำนักสงฆ์ ที่ได้มีการปรับพื้นที่ไว้แล้ว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ขอรับบริจาคพันธุ์สมุนไพรจากผู้มีจิตศรัทธา และร่วมปลูกในพื้นที่ทั้ง 3 โซน คือ บ้าน,ที่ดินชุมชน,ในเขตป่าชุมชน 7 ไร่ และการบำรุงรักษาพืชเดิมที่มีอยู่ในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

ทอดผ้าป่าสมุนไพร โดยได้ทำกิจกรรมร่วมบุญกับการทอดผ้าป่าของสำนักฆ์ในการรับบุญจากญาติโยมในการทำบุญ ซึ่่งทางกิจกรรมของโครงการได้มีการพูดคุยเสียงตามสายประชาสัมพันธ์ให้ประฃาฃนทั้งในพื้นที่หมู่ 1 และพื้นที่ใกล้เคียงได้นำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ที่บ้าน นำมาบริจาคให้กับกลุ่มเพื่อนำไปปลูกเป็นพืชที่แหล่งเรียนรู้ในที่ดินของสำนักสงฆ์ ซึ่งเป็นที่ดินว่างเปล่ายังไม่ได้ใช้ประโยชน์ ตลอดจนในช่วงค่ำ โฆษกในงานทอดผ้าป่าก็ได้พูดคุยกับประชาชนที่มาร่วมงานทอดผ้าให้ประชาชนได้เห็นความสำคัญของการใช้พืชสมุนไพรมาใช้ในชีวิตประจำวันและให้มีการปลูกพืชสมุนไพรในพืชที่ชุมชนทั้งในครัวเรือนในบริเวณบ้าน ที่สวน ที่นา ฯ เพื่อไปสู่การอนุรักษ์สมุนไพรทั้งในท้องถิ่นและสมุนไพรหายาก

 

140 140

13. จัดทำรายงานปิดงวด 1

วันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-15.30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำรายงานปิดงวด 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการจัดทำรายงานปิดงวด 1 มีเอกสารดังนี้ เอกสาร ส.1 ,ส.2 ง.1  และการบันทึกข้อมูลเว้ปไซต์ คนใต้สร้างสุข  โดยมีพี่เลี้ยงและเจ้าหน้าที่
สจรส.มอ ให้คำแนะนำโดยให้ทางพื้นที่ที่ยังต้องเพิ่มรายละเอียด ให้มีความเรียบร้อบ และนำส่งเอกสารในวันจันทร์ที่ 23 มีค. 58

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำรายงานปิดงวด 1

กิจกรรมที่ทำจริง

-จัดทำรายงานปิดงวด 1 มีเอกสารดังนี้ เอกสาร ส.1 ,ส.2 ง.1

-ตรวจสอบเอกสารการเงิน  ใบสำคัญรับเงิน

-ความเรียบร้อยการบันทึกข้อมูล เว้ปไซต์คนใต้สร้างสุข

 

2 3

14. คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 16 มีนาคม 2558 เวลา 09:00-15.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

กิจกรรมที่ทำจริง

คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร

 

2 2

15. นำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย การทำน้ำมันเหลืองจากไพล,,การทำยาหม่องสมุนไพร

วันที่ 21 มีนาคม 2558 เวลา 10:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การแปรรูปสมุนไพรใกล้ตัวมาใช้ประโยชน์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-ประฃาชนในพื้นที่ หมู่ 1 ได้ความรู้เกี่ยวกับสมุน เช่น ประโยชน์ของสมุนไพร ,การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน,การแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์

-ได้ยาหม่องไพล จำนวน 150 ขวด ขนาดขวดละ 0.5 ออนซ์

-ได้น้ำมันไพลสำหรับนวดขวดละ 8 ซีซี จำนวน  200  ขวด

-ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในผลิตภัณฑ์ที่ได้ และมีมติร่วมกันว่าจะตั้งเป็นกลุ่มอาชีพและจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนโดยใช้ชื่อ "ชมรมอนุรักษ์สมุนไพรบ้านคลองทรายหมู่ที่ 1"

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เรียนรู้วิธีการแปรรูปสมุนไพรเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพและสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนจากสมุนไพรใกล้ตัวที่มีอยู่ในพื้นที่

กิจกรรมที่ทำจริง

เวลา 10.30 น.ผู้เข้าร่วมเรียนรู้กิจกรรมกันแปรรูปสมุนไพร พร้อมเพรียงกันที่ศาลาเอนกประสงค์ของชุมชน หมู่ 1 ซึ่งใช้เป็นที่ฝึกอบรม วิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปสมุนไพรมาใช้ประโยขน์ในขีวิตประจำวัน โดยนำเอาสมุนไพร คือไพรและขมิ้น มาแปรรูปเป็นน้ำมันหม่องสมุนไพรสูตรไพร และน้ำมันนวดสูตรไพรผสมขมิ้น ซึ่งผู้ที่เข้ารับการอบรมมีความสนใจและร่วมกันทำกิจกรรม จนแล้วเสร็จประมาณ 16.30 น. ได้ผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ ยาหม่องสมุนไพรสูตรไพร และน้ำมันนวดสูตรไพรและขมิ้น ซึ่งหลังจากเสร็จแล้วก็ได้แจกจ่ายให้กับผู้ที่เข้ามาเรียนรู้

 

50 55

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 53 15                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 213,000.00 50,272.00                  
คุณภาพกิจกรรม 60 44                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.เยาวชนอยุ่ในช่วงปิดเทอม ทำให้ไม่สามารถมาร่วมกิจกรรมได้

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. จัดทำรายงานปิดงวด 1 ( 16 มี.ค. 2558 )
  2. คืนเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร ( 16 มี.ค. 2558 )
  3. นำพืชสมุนไพรในท้องถิ่นมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย การทำน้ำมันเหลืองจากไพล,,การทำยาหม่องสมุนไพร ( 21 มี.ค. 2558 )
  4. การทำยากันยุงด้วยตะใคร้หอม ( 28 มี.ค. 2558 )
  5. ประชุมสภาผู้นำประจำเดือน ครั้งที่ 4 ( 1 เม.ย. 2558 )
  6. สภาผู้นำประชุมประจำเดือนครั้งที่ 5 ( 5 พ.ค. 2558 )
  7. ติดตามอาการหลังจากทดลองใช้ลูกประคบ 1 เดือน ( 13 พ.ค. 2558 )
  8. สภาผู้นำประชุมประจำเดือนครั้งที่ 6 ( 5 มิ.ย. 2558 )
  9. เยาวชนและ อสม.ลงพื้นที่สัมภาษณ์การเจ็บป่วย, การดูแลรักษาสุขภาพและการใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ครั้งที่ 1 ( 13 มิ.ย. 2558 )
  10. ติดตามอาการหลังจากทดลองใช้ลูกประคบ 2 เดือน ( 24 มิ.ย. 2558 )
  11. สภาผู้นำประชุมประจำเดือนครั้งที่ 7 ( 9 ก.ค. 2558 )
  12. งานสร้างสุขโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภาคใต้ ( 11 ก.ค. 2558 - 12 ก.ค. 2558 )
  13. ลงพื้นที่สัมภาษณ์การเจ็บป่วย,การดูแลรักษาสุขภาพและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ครั้งที่ 2 ( 16 ก.ค. 2558 )
  14. ติดตามอาการหลังจากทดลองใช้ลูกประคบ 3 เดือน ( 22 ก.ค. 2558 )
  15. เยาวชนและ อสม.ลงพื้นที่สัมภาษณ์การเจ็บป่วย, การดูแลรักษาสุขภาพและการใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ครั้งที่ 3 ( 2 ส.ค. 2558 )
  16. ร่วมกันออกแบบเครื่องมือสำรวจสมุนไพร ร่วมกับ อสม.และเจ้าหน้าที่รพ.สต.ลำชิง ( 5 ส.ค. 2558 )
  17. สภาผู้นำประชุมประจำเดือนครั้งที่ 8 ( 5 ส.ค. 2558 )
  18. ทำปุ่ยหมักชีวภาพ ( 6 ส.ค. 2558 )
  19. ศึกษาดูงานด้านสมุนไพรที่ศูนย์สมุนไพรทักษิณ คณะเภสัชศาสตร์ มอ. ( 10 ส.ค. 2558 )
  20. จัดประชุมให้ความรู้การปลูกพืชสมุนไพร การทำแปลงปลูก การขยายพันธุ์ การบำรุงรักษา และร่วมกันทำปุ่ยหมัก ครั้งที่ 2 ( 13 ส.ค. 2558 )
  21. ทำแปลงปลูกสมุนไพรและปลูกสมุนไพร ( 14 ส.ค. 2558 )
  22. อบรมให้ความรู้การออกแบบสำรวจเก็บข้อมูล โดยอาจารย์สุรเชษฐ์ พฤกษวาณิช สำนักงานเขตพื้นที่เขตการศึกษา 3 และนายชาญชัย ขุนเพชร พัฒนการอำเภอนาทวี ( 15 ส.ค. 2558 )

(................................)
นางสาว วาสนา สุขมี
ผู้รับผิดชอบโครงการ