แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงด้วยวิถีอิสลามเพื่อพัฒนาสุขภาวะชุมชน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. ในชุมชนมีครัวเรือนต้นแบบที่ดำเนินตามเศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีอิสลามอย่างน้อย 5 ครัวเรือน 2. กลุ่มในชุมชนอย่างน้อย 3 กลุ่ม มีการบริหารงานและนำหลักศาสนาอิสลามมาใช้ในการดำเนินงาน ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. ในชุมชนมีครัวเรือนต้นแบบที่ดำเนินตามเศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีอิสลาม 2. กลุ่มต่างๆ ในชุมชนใช้หลักศาสนาอิสลามมาใช้ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

  • มีครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 8 ครัวเรือน
  • ครัวเรือนต้นแบบมีการนำหลักศรษฐกิจพอเพียงตามวิถีอิสลาม มาปฎิบัติปรับใช้ในชีวิตประจำวัน
  • กลุ่มองค์กรต่างๆ ในชุมชนนำหลักศาสนาอิสลามมาใช้ในการดำเนินงานในกลุ่มเป็นไปตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
  • มี 3 กลุ่ม ที่หลักการบริหารงานและนำหลักศาสนาอิสลามมาใช้ในการดำเนินงาน ในองค์กร ได้แก่กลุ่มออมทรัพย์กลุ่มรักษ์คลองยาง และกลุ่มกู้ชีพ-กู้ภัยคลองยาง
2 เพื่อให้คนในชุมชนมีการจัดการตนเอง ให้เกิดแหล่งอาหารที่ปลอดภัย ปลอดสารพิษ และสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้กับเยาวชน
ตัวชี้วัด : ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ 1. คนในชุมชน จำนวน 50 ครัวเรือน มีการปลูกผักสมุนไพร ผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน 2. เด็กและเยาวชน จำนวน 50 คน เกิดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรตามวิถีอิสลามควบคู่กับการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. มีผักสมุนไพรในชุมชนเพิ่มขึ้น อย่างน้อย 20 ชนิด ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ 1. คนในชุมชนบริโภคพืชผักสมุนไพรปลอดสารพิษ 2. ผู้ป่วยโรคเรื้อรังบริโภคผัก สมุนไพรรักษาโรคเรื้อรังควบคู่กับการรับประทานยาจากโรงพยาบาล 3. เด็กและเยาวชนมีความตระหนักต่อการดำรงชีวิตตามวิถีอิสลามและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ 4. เด็กและเยาวชนมีความรู้และสามารถทำเกษตรด้วยตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและบทบัญญัติของอิสลาม

 

 

  • เกือบ ุ60 ครัวเรือน มีการปลูกผักสมุนไพร ผักปลอดสารพิษไว้บริโภคในครัวเรือน
  • มีเด็กและเยาวชน จำนวน ุ65 คน ที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรตามวิถีอิสลามควบคู่กับการใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
  • ครัวเรือนในชุมชนบ้านคลองยางมีการปลูกผักสมุนไพรตามบ้านเรือนมากกว่า 20 ชนิด
  • คนในชุมชนบริโภคพืชผักสมุนไพรปลอดสารพิษ เพิ่มขึ้น
  • ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเกิดพฤติกรรมบริโภคผัก สมุนไพรรักษาโรคเรื้อรังควบคู่กับการรับประทานยาจากโรงพยาบาล
  • เด็กและเยาวชนร้อยละ 65% มีความตระหนักต่อการดำรงชีวิตตามวิถีอิสลามและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • เด็กและเยาวชนร้อยละ 30% เกิดองค์ความรู้และสามารถทำเกษตรด้วยตนเองตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและบทบัญญัติของอิสลาม
3 เพื่อติดตามและสนับสนุนโครงการ
ตัวชี้วัด : - รายงานผลการดำเนินงานโครงการฉบับสมบูรณ์ - รายงานการเงิน

 

 

  • ได้เล่มรายงานผลการดำเนินงานโครงการฉบับสมบูรณ์
  • สามารถสรุปรายละเอียดรายการค่าใช้จ่ายตลอดโครงการ