ข้างถนนกินได้สร้างรายได้บ้านในถุ้ง(ต่อยอด)

สรุปโครงการ26 กันยายน 2558
26
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย naithung
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปโครงการในรอบปีที่ผ่านมา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ในการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ ได้มีการวางแผนงานเป็นอย่างดี และมีผู้เข้าร่วมฟังการสรุปโครงการจำนวนมาก ผลของการสรุปโครงการมีดังนี้
1. ระยะต้นโครงการสรุปได้ว่า ในช่วงแรกของการดำเนินโครงการนั้นมีการพัฒนาของชุมชน ดังต่อไปนี้
1.1 คน มีแกนนำหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการ 4 คน คือ อบต. ผู้ใหญ่ ปราชญ์ชาวบ้าน กรรมการหมู่บ้าน คณะครู และชาวบ้าน ซึ่งเป็นเด็กเสียส่วนมาก 1.2 เครื่อข่าย ในระยะต้นได้มีเครื่อข่ายของ อสม. คือนางดวงใจ นะหู ได้ร่วมเข้าพัฒนาโครงการ เยี่ยมชมโครงการ และให้คำแนะนำ เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ
1.3 สิ่งแวดล้อม ในระยะต้นนั้น แม้ว่าโครงการจะดำเนินการมาแล้ว 1 ปี แต่การพัฒนายังไม่ครอบคุมในหลายพื้นที่ ริมถนนยังมีขยะอยู่บ้างส่วน โครงการจึงเข้ามาพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 1.4 จิตสำนึก คนที่ร่วมโครงการในระยะต้น ที่เห็นขยะแล้วเก็บทันที มีเพียง 10 คน และมีความตระหนักเข้าใจในการรักษาสิ่งแวดล้อม มี 20 คน 2ระยะกลาง 2.1 คน มีแกนนำเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก มีครู 2 โรงเรียนในชุมชน อบต เข้าร่วมทั้ง 2 คน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เข้าร่วมโครงการ จากระยะต้นมีเพียงเด็กเป็นตัวขับเครื่องโครงการ แต่ระยะกลางนั้น มีผู้ปกครองเข้าร่วมมากมายร่วมทั้งกลุ่มเยาวชน เข้ามาร่วมอีกหลากหลายกลุ่ม
2.2 เครื่อข่าย เพิ่มขึ้นจากระยะต้นหลายกลุ่ม คือ เครือข่ายจากนายกอบต ศูนย์การเรียนรู้ในอำเภอ กลุ่มต่างๆที่เคยมีอยู่ในชุมชนก็มาเข้าร่วม เช่น กลุ่มออมทรัพย์ชายทะเลป่าสน 2.3 สิ่งแวดล้อม ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการขุดลอกคูคลอง เพื่อให้น้ำไหลผ่านได้สะดวกโดยที่ไม่ติดขยะ บริเวรบ้านของผู้เข้าร่วมโครงการ ที่ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทางก็ได้รับการคัดแยกก่อนทิ้งมีการสร้างรายได้จากขยะเกิดขึ้น มีการนำขยะไปหมักเพื่อทำเป็นปุ๋ย ชุมชนดูสะอาดตาขึ้น
2.4 จิตสำนึก คนที่เห็นขยะแล้วเก็บทันที มีเพิมขึ้นเป็น 15 คน และคนที่ตระหนักรู้ถึงการรักษาความสะอาดในชุมชนมีประมาณ 25 คน 3. ระยะปลาย 3.1 คน มีแกนนำเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก คือผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ครู  2 โรงเรียนในชุมชน อบต เข้าร่วมทั้ง 2 คน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้เข้าร่วมโครงการ เด็กและชาวบ้าน  มีผู้ปกครองร่วมทั้งกลุ่มเยาวชน และเด็กเปาะเนาะครูเบญ 3.2 เครือข่าย เพิ่มขึ้นจากระยะต้นและระยะกลางคือ เครือข่ายจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (ดร.พ้วน) เครือข่ายจากมหาวิทยาลัยราชภัฎ (นักศึกษา) เครือข่ายจาก สสส ชะอวด
3.3 สิ่งแวดล้อม ชุมชนดูสะอาดตาขึ้น กองขยะที่พัฒนาแล้วได้หมดไป คูคลองไม่กลายเป็นที่ทิ้งขยะ บริเวรสองข้างทาง และบริเวรบ้านผู้เข้าร่วมโครงการ มีผักสวนครัวได้เก็บกิน ทำให้ภูมิทัศน์ในชุมชนสวยงาม 3.4 จิตสำนึก คนที่เห็นขยะแล้วเก็บทันที มีประมาณ 20 คน และคนที่ตระหนักรู้ถึงการรักษาความสะอาดในชุมชนมีประมาณ 40 คน 3. ระยะปลาย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมในครั้งนี้มีผลสรุปว่า โครงการได้ดำเนินการมาถูกทางแล้ว เพราะการพัฒนาโครงการในครั้งนี้ทั้ง 2 ปี ได้ทำให้ชาวบ้านในถุ้ง ได้สร้างรายได้จากขยะ ที่มีการคัดแยกแล้ว ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักในการประกอบอาหารในแต่ละวัน รู้จักควบคุมรายจ่ายโดยดารทำบัญชีครัวเรือนแบบใหม่ และส่งผล ให้ชุมชนน่าอยู่มากยิ่งขึ้น และสุดท้ายคือหากโครงการได้ต่อในปีที่ 3 ทางแกนนำโครงการและแกนนำชุมชน คิดว่า จะจัดตั้งกองทุน จากรายได้ของการคัดแยกขยะและการขายผักข้างทาง หรืออาจจะทำต้นกล้า ไว้ขาย แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับทาง สสส.ว่าจะให้ต่อโครงการหรือไม่ 

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 400 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมมีทั้งประชาชนในหมู่บ้านและในตำบล รวมทั้งหมด 400 คน ประกอบด้วย 1. แกนนำโครงการ แกนนำชุมชน คณะครูสองโรงเรียนในชุมชน เด็กเยาวชน ในหมู่บ้าน จำนวน 200 คน 2. แกนนำในตำบล นายก อบต.ท่าศาลา นายอำเภอท่าศาลา คณะกรรมการอิสลามจังหวัด กลุ่มชาวบ้านในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง จำนวน 200 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี