ศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม (ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง)

ผลักดันแผน ครั้งที่2 เรียนรู้สู่การปฏิบัติ31 กรกฎาคม 2558
31
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย อ.คอลดูน
circle
วัตถุประสงค์

ชุมชนและชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการแผนชุมชนสู่การจัดการความรู้ด้วยกระบวนการชูรอ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ใช้กระบวนการชูรอในการจัดการความรู้ในการขับเคลื่อนผลักดันเกิดผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์โดยเน้นการบูรณาการร่วมกับองค์กร ภาคี ทั้งในและนอกชุมชน และให้ความรู้ในโอกาสต่างๆในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาวะตามวิถีอิสลาม ซึ่งมีการดำเนินการดังนี้

  • วันศุกร์มีการให้ความรู้โดยโต๊ะอีหม่ามที่เป็นประธานสภาชูรอโดยให้ความรู้ในการใช้หลักศาสนาในการดำเนินการผลักดันและประสานการทำงาน และมีการบูรณาการร่วมกับ อสม ในการส่งเสริมแผนดำเนินงานขอเทศบาลตำบลบ้านนา

  • วันเสาร์และอาทิตย์ มีการจัดกระบวนการเรียนรู้กลุ่มย่อยในโซนและกลุ่มบ้าน ครัวเรือนต่างๆ โดยมีการจัดกิจกรรม ตามกลุ่มบ้าน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้พูดคุย และมีการถอดบทเรียนความรู้ของแต่ละคน และมีการสรา้งความตระหนักเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ เช่น เรื่องสุขภาพ การกิน การอยู่ การสร้างความสามัคคี โดยการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับอดีต ปัจจุบัน และการเตรียมตัวสู่อนาคต มีการสรุปเขียนแผนผังความคิด มีการนำเรื่องการจัดการความรู้มาพูดคุย และการนำข้อมูล ที่ได้จากการสำรวจข้อมูลและการศึกษาระบบสุขภาวะต่างๆในชุมชนและอธิบายแผน โดยยกตัวอย่างบทเรียนความสำเร็จโดยการเล่าเรื่องให้เชื่อมโยงกับกลุ่มบ้านโดยมีคำถามว่า การจัดการความรู้คืออะไรทำไปทำไมทำแล้วได้อะไร ทำอย่างไร และใครเป็นผู้ทำ จัดเวทีการเรียนรู้สู่กลุ่มย่อยต่างๆ

  • วันจันทร์ คณะทำงานมีการสรุปบทเรียนและการจัดกิจกรรมและปรับปรุงกิจกรรมเพื่อพัฒนา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดกลุ่มเกษตรวิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม จำนวน 30 คนในการประชุมอย่างต่อเนื่องและซึ่งส่วยใหญ่เป็นเครือข่ายสภาชูรอในระดับต่างๆ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน ทำให้ประชาชนเห็นความสำคัญเกี่ยวกับข้อมูลและเกิดความตระหนัก ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายในปีแรกในการสร้างความตระหนัก A1 (Awareness)
    และเกิดเป้าหมายในปีที่ 2 คือ การสร้างความพยายาม A2 (Attempt) และเป้าหมายในปีที่ 3 คือ สู่ความสำเร็จ   A3 ( Achievement ) และปีที่ 4 สู่ความยั่งยืน A4 ( Accredited System )

  • เกิดการพัฒนากลไลการขับเคลื่อนสุขภาวะที่สอดคล้องกับโมดูลหน่วยเรียนรู้ที่เชื่อมโยงวิถีของโมดูลเครือญาตินั้นๆ

  • เกิดการศึกษาและพัฒนาแนวทางการทำความเข้าใจให้กับแกนนำในระยะต่างๆ โดยเริ่มต้นที่ครอบครัวของผู้รับผิดชอบโครงการภายในศูนย์เรียนรู้ และคณะบุคคลที่มีอุดมการณ์ ความเข้าใจ ในประเด็นสุขภาวะ ก่อนและขยับไปยังครัวเรือนแกนนำครัวเรือนเพื่อปฏิบัติจนเห็นผลเป็นรูปธรรม และชวนสมาชิกในแต่ละกลุ่มร่วมคิดร่วมทำไป (เกิดวาทะกรรมที่ว่า ททท ทำทันที) โดยประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียงแนวทางวิถีอิสลาม โดยไม่เน้นทำเพื่อโลกนี้ ไม่พึ่งพาโลกนี้มากจนเกินไป แต่จะมีความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องในเรื่องของพระเจ้าว่าพระเจ้าเป็นผู้ประทานความสำเร็จ โดยสาระสำคัญคือ " กิจกรรมที่ได้ทำ คือ บัญชีรับ -จ่ายของครอบครัว จัดลำดับความสำคัญ ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษกินเอง จนเป็นที่มาของการก่อตั้งกลุ่มเกษตรวิถีอิสลามยั่งยืน ซึ่งแต่ก่อนชาวบ้านไม่เคยปลูกผักสวนครัวจนวันนี้ได้เกิดความตระหนักในกลุ่มคนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยมีหลักคิดคือให้สมาชิกสนใจการดูแลสุขภาพมากขึ้น และเริ่มมีการวางแผนชีวิตสู่แผนชุมชนสุขภาวะตามลำดับ

  • ได้มีชูรอในระดับกลุ่มบ้าน และชูรอในระดับครัวเรือนขึ้น จัดทำสารชุมชนชูรอขึ้นเพื่อสื่อสารทำความเข้าใจภายในชุมชน

จากการเรียนรู้ที่ผ่านมาคณะทำงานจึงได้สังเคราะห์ความรู้ออกมาเพื่อปรับปรุงและกำหนดแนวทางการดำเนินโครงการดังนี้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ชุมชนโดยสามารถสรุปวิธีการดังนี้

  • เกิดการตระหนักและเปิดรับความรู้ใหม่ในกลุ่มบุคคลที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการ

  • เกิดการขยายแนวร่วมการตั้งทีมงานและการลงมือปฏิบัติ

  • มีการทำให้เป็นทางการการปรับปรุงกิจกรรมที่ได้ทำไปแล้วและการเผยแพร่ผลสำเร็จ

  • มีการประเมินผลการปฏิบัติและการคิดค้นกิจกรรมใหม่ๆ ที่เหมาะสม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

80 คน

โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นสัปบุรุษในบ้านน้ำเค็ม ผู้สนใจทั่วไป กลุ่มเป้าหมายครัวเรือนผู้เข้าร่วมโครงการ 70 ครัวเรือน โดย แบ่งตามโซนต่างๆ และกลุ่มทั้ง 7 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ครัวเรือน มีแกนนำที่ส่วนใหญ่มาจากสภาชูรอ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ปัญหาและสถานการณ์

การดำเนินการในระดับหมู่บ้านซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ ประชากร พันกว่าคน สามร้อยกว่าครัวเรือน ยังดำเนินการได้ไม่ประสบความสำเร็จ อีกทั้งชาวบ้านไม่คุ้นเคยกับการจัดประชุมในระดับหมู่บ้าน หมู่บ้านยังขาดการบูรณาการการทำงานร่วมกัน มีปัญหาความไม่เข้าใจซึ่งกันและกันในการบริหารจัดการชุมชน อีกทั้งสถานที่ไม่เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ให้เกิดสุนทรียสนทนา อย่างไรก็ตามหมู่บ้านมีทุนศาสนาและวัฒนธรรมที่เข้มแข็ง จึงจำเป็นอย่างยิ่งหากจะมีการบูรณาการประเด็นการทำงานในระดับหมู่บ้าน ต้องอาศัยทุนดังกล่าวและการรับฟังคณะทำงานในด้านศาสนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสิทธิชุมชน

  • แนวทางการแก้ปัญหา

ผลักดัน การชูรอในทุกระดับ เช่น ระดับหมู่บ้าน ระดับกลุ่มบ้าน ระดับครัวเรือน เพื่อสร้างความสัมพันธุ์ที่ดีต่อกัน และส่งเสริมเครือข่ายฐานรากให้เข้มแข็งในการจัดการความรู้ ในเรื่องเฉพาะด้าน เกี่ยวกับ การทำมาหากิน วิธีคิด และ วิถีชีวิตอิสลามที่ยั่งยืน โดยหลีกเลี่ยงประเด็นการเมือง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-