ศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม (ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง)

เปิดโครงการสร้างความเข้าใจวัตถุประสงค์โครงการ/เป้าหมาย /กระบวนการจัดทำแผนชุมชนกับตัวแทนครัวเรือน4 มกราคม 2558
4
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย อ.คอลดูน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาผู้นำองค์กรและกลุ่มต่างๆ ในชุมชนเป็นคณะกรรมการสภาชูรอบ้านน้ำเค็ม (สภาผู้นำ) ในการส่งเสริมขับเคลื่อนสร้างกระบวนการเรียนรู้ดำเนินการจัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วมที่มีคุณภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การดำเนินกิจกรรมจะมีอยู่ 2 สถานที่คือ

1.สถานที่ทำอาหารโดยจะให้ตัวแทนกลุ่มตัวอย่างคุ้มบ้านจาก ๔ คุ้มบ้านมารับผิดชอบในการเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารให้กับพี่น้องสมาชิกในหมู่บ้าน มีการเตรียมอาหารให้กับสมาชิก โดยมีคนนำเรื่องพูดคุยเรื่องราว จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค ในการที่จะทำให้ชุมชนน่าอยู่ โดยมีการเริ่มทำอาหารตั้งแต่เวลา 10.00 น ช่วงเช้า
2.สถานที่เปิดโครงการ ณ ศาลาประชาคมหมู่บ้าน 13.00 น.

  • 13.00 น. เริ่มลงทะเบียน
  • 14.00 น. ประธานเปิดพิธีโดยโต๊ะอีหม่ามมัสยิดนูรุ้ลยามาล
  • วิทยากรคนที่หนึ่ง คือนายทินกร  ยีหวังกอง ข้าราชการบำนาญ พัฒนาการอำเภอ เล่าถึงประสบการณ์ของการจัดทำแผน โดยให้ความรู้ความสำคัญ ของแผนชุมชน โดยเฉพาะชุมชนมุสลิมที่มีวิถีชีวิตแบบอิสลาม ยกตัวอย่างชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาชุมชน โดยวิทยากรเน้นการปรับกระบวนทัศน์เเพื่อการพัฒนาหมู่บ้าน
  • พี่เลี้ยงได้พูดคุยกับชาวบ้านในรายละเอียดที่มาโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่และพูดให้กำลังใจ
  • วิทยากรคนที่สอง นาย อะหมัด หรีขะหรี ได้แนะนำวิธีการสร้างชุมชนให้น่าอยู่ จากประสบการณ์ในการทำโครงการ สสส วิทยาลัยทุ่งโพ และเเนะเคล็ดลับหลักการมีส่วนร่วมของชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ และการเสวนา
  • วิทยากร นาย อิสมาแอล  หมินหวัง ได้พูดถึงประเด็นการร่วมมือของชุมชนพี่น้องมุสลิมในการพัฒนาชุมชน ผ่านการเล่าเรื่องเร้าพลัง  ที่น่าสนใจมากมาย
  • วิทยากรกระบวนการ นาย อิบนีคอลดูน  ยีหวังกอง ผู้รับผิดชอบโครงการ พูดคุยที่กระบวนการจัดทำแผนชุมชน โดยสรุป โดยเริ่มจากการวางแผนชีวิต ของแต่ละคน  วางแผนครอบครัว  วางแผนคุ้มบ้าน การพัฒนาแผนชุมชน สู่แผนแม่บทชุมชน

3.ตัวแทนครัวเรือนส่งใบสมัครเข้าร่วมโครงการเพื่อพัฒนาเป็นครัวเรือนต้นแบบ

4.ร่างคณะกรรมการสภาผู้นำชูรอ โดยตัวแทนคุ้มบ้านร่วมกันคัดเลือก และมีการแต่งตั้งจากโครงสร้างเดิมที่มีอยู่แล้ว รับสมัครจากประชาชนที่สนใจ ซึ่งได้พัฒนาเป็นคณะกรรมการชูรอต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะกรรมการสภาชูรอและชาวบ้านมีความรู้/ความเข้าใจ/กระบวนการจัดทำแผนชุมชน

  • เกิดสภาชูรอบ้านน้ำเค็ม (สภาผู้นำในชุมชน) ในการขับเคลื่อนงานจำนวน 15 คน
  • มีข้อมูลครัวเรือน 70 ครัวเรือนต้นแบบที่เข้าร่วมโครงการ
  • 15 คนเป็นแกนนำจาก 70 คน เป็นครัวเรือน ต้นแบบ

2.ได้ครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ  70 ครัวเรือน และผู้เข้าร่วมเข้าร่วมกิจกรรมเกิน มากกว่า 50% ได้ร่วมเรียนรู้ การจัดทำแผนชุมชน โดยผ่านกระบวนวิเคราะห์ จุดแข็ง  จุดอ่อนของชุมชน โดยจุดแข็งของชุมชนได้แก่ การมีวัฒนธรรมอิสลามและขนบธรรมเนียมประเพณีในการส่งเสริมการร่วมกิจกรรมของชุมชน เช่น วิถีนูหรี การร่วมงานเมาลิด การดำเนินกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา ในชุมชนมีผู้นำศาสนาที่มีความรู้ ร่วมถึงตัวแทนกลุ่มต่างๆที่พร้อมจะเรียนรู้ในการพัฒนาหมู่บ้าน และชุมชนมีจุดอ่อน ในเรื่องความขัดแย้ง ความไม่เข้าใจกัน ในการบริหารจัดการในประเด็นต่างๆ ชุมชนยังขาดการมีส่วนร่วมในเรื่องงานส่วนรวมเพราะยังมีความคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของตนเอง

3.ผลที่เกิดขึ้นคือ ได้เกิดความตระหนักในการมาร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาชุมชน และทบทวนแผนเดิมที่มีผลต่อการพัฒนา โดยมีการวิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จและความล้มเหลวที่ผ่านมาในการพัฒนาหมู่บ้าน และความตระหนักและพยายามในการเรียนรู้เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาหมู่บ้านร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 112 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

จำนวนคนที่เข้าร่วมกิจกรรม 112 คน

  • วิทยากร
  • ภาคีเครือข่าย วิทยาลัยทุ่งโพ
  • คณะกรรมการสภาชูรอ
  • ตัวแทนครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ
  • ผู้สูงอายุ
  • ทีมงานคณะทำงานศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามฯ
  • กลุ่มบ้านเจ้าภาพดูแลอาหาร
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา

  1. พื้นฐานความรู้ของชาวบ้านค่อนข้างต่ำ ไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการทางวิชาการในการวางแผน
  2. เกิดภาวะฝนตก สะพานข้ามคลองหมู่บ้านขาด
  3. ชาวบ้านบางส่วนยังไม่เข้าใจและมีส่วนร่วมน้อย
  4. วันและเวลาที่ดำเนินกิจกรรมยังไม่ตรงกับเวลาว่างของชาวบ้าน

แนวทางแก้ไข

  1. สร้างความรู้ความเข้าใจให้กับชาวบ้าน ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและสร้างกระบวนการที่ง่าย ปรับกระบวนการกิจกรรมตามแผนให้เหมาะสมกับบริบทชุมชน
  2. ประสานงานทำความเข้าใจกับพี่เลี้ยงในการเลื่อนกิจกรรมตามความเหมาะสม
  3. จัดกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความสนใจกับกลุ่มเป้าหมาย โดยต้องไม่เน้นวิชาการมากเกินไป และไม่เครียด
  4. กำหนดวันเวลาให้เหมาะสมกับเวลาว่างของกลุ่มเป้าหมาย
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อานัติ หวังกุหลำ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • สร้างความเข้าใจบริบทและลักษณะทางกายภาพของชาวบ้านบ้านน้ำเค็ม
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • อยากให้ช่วยส่งเสริมประชาสัมพันธุ์ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนการเข้าร่วมโครงการสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ และส่งเสริมอย่างต่อเนื่อง