ศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม (ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง)

ยกร่างแผน ครั้งที่1/1 เรียนรู้แผนวิถีอิสลามยั่งยืน ทางนำชีวิต ทางนำชุมชน17 เมษายน 2558
17
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย อ.คอลดูน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อแยกหมวดหมู่แผนกิจกรรมให้ง่ายต่อการนำมาใช้
  • เพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนชีวิตตามแนวทางอิสลาม การดำเนินชีวิต การพัฒนาอาชีพสู่ความพอเพียง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชาสัมพันธ์ผู้สนใจ เชิญชวนมาพูดคุยและเรียนรู้การปลูกผัก การทำเศรษฐกิจพอเพียงที่สอดคล้องกับวิถีอิสลามและการดำเนินชีวิตตามแนวทางวิถีอิสลาม และทำความเข้าใจพัฒนาหลักสูตรเพื่อเป็นประสบการณ์ให้ความรู้ ประสานสถาบันการศึกษาในการใช้ประสบการณ์จากหลักสูตรในการเทียบเคียงรายวิชาเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อใช้ในการรับรองประสบการณ์วิชาชีพ หรือเพื่อการสรา้งเสริมประสบการณ์ชีวิต
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดกลุ่มผู้สนใจและหลักสูตร วิถีอิสลามยั่งยืน โดยมีการสรา้งบทเรียนโมดูลเพื่อเป็นสื่อการเรียนชนิดหนึ่งที่มุ่งพัฒนาให้ครัวเรือนที่สนใจ ในกลุ่มเล็ก ได้เกิดความรู้ตามความต้องการ โดยที่บทเรียนนั้นจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้อย่างชัดเจนที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ คือ การพัฒนาศักยภาพสภาชูรอ เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับแผน ได้เรียนรู้การวางแผนชีวิต การพัฒนาคุณภาพชีวิตตนเอง การดูแลสุขภาวะ การวิจัยชาวบ้าน (วิจัยแบบกำปง) โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้ ตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคน มีการติดตามประเมินผลก่อนและหลังเรียนโดยการเยี่ยมเยือน มีการประยุกต์ใช้กระบวนการชูรอเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างเข้่าใจบริบทของครัวเรือนและพื้นที่การเรียนรู้นั้นๆ

  • มีความตระหนักเกี่ยวกับการใช้ศาสนาเป็นทางนำและแก้ปัญหาต่างโดยมีการประยุกต์หลักการจัดการเวลาในการดำเนินชีวิตตามตัวบทของงานดะวะห์(การเผยแพร่ศาสนา) 8 ชม. เพื่อ งานศาสนา 8 ชม.เพื่อการทำมาหากินบนโลกด้วยคุณธรรมจริยธรรม และ8 ชม.เพื่อการพักผ่อน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มผู้สนใจในการเรียนรู้วิถีชีวิตพอเพียงตามวิถีอิสลาม โดยมีทั้งผู้นำครอบครัวแม่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา

1.ชาวบ้านบางส่วนยังให้ความร่วมมือน้อยในการมาประชุมหรือการเรียนรู้เนื่องจากวิถีของชาวบ้านในเรื่องของเวลาการประกอบอาชีพคือ 90 % มีอาชีพกรีดยางพารา เวลาประมาณ 21.30.00 น. จะเป็นเวลาที่เข้านอน และตื่นมากรีดยางเวลา 02.00 น. ไปเสร็จเวลา ประมาณ 10 โมงเช้าและมีการพักผ่อนต่อ ในตอนสายทำให้เวลาเข้าร่วมกิจกรรมมีน้อย เพราะคิดว่าไม่สำคัญ และเมื่อดำเนินกิจกรรมไปจะสอบถามว่าโครงการให้ของอะไร มากกว่าเห็นการเรียนรู้ทำให้การดำเนินการในภาพใหญ่ดำเนินการได้ยาก

2.ชุมชนมีขนาดใหญ่ ซึ่งจากการแบ่งพื้นที่ทำงานออกเป็น 4 โซน พบว่าแต่ละโซนจะมีบริบทที่แตกต่างกัน

3.สถานที่รวมของหมู่บ้านคือศาลาประชาคมจะมีบรรยากาศที่เป็นทางการทำให้ชาวบ้านบางส่วนเบื่อหน่ายและเป็นภาพใหญ่ระดับหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ เป็นสาเหตุให้ชาวบ้านบางส่วนที่คณะทำงานได้เล็งไว้เป็นกลุ่มเป้าหมายไม่เข้าร่วมหรือเข้าร่วมแไม่แสดงความคิดเห็น

4.กรรมการซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่ม มีการเรียนรู้เกี่ยวกับบางเรื่องบางประเด็นอยู่แล้วเช่นการทำปุ๋ยใช่เองการทำบัญชีครัวเรือน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการทำแผนซึ่งมีประสบการณ์ในอดีตเกี่ยวกับการร่วมมือทำในเรื่องต่างๆ ที่สะท้อนให้เห็นความล้มเหลวของการรวมกลุ่มในเรื่องต่างๆ อาทิเช่น กองทุนต่างๆ การดำเนินโครงการต่างๆ ความคิดเหล่านี้ทำให้การดำเนินโครงการมีอุปสรรคในการดำเนินภาพรวมของหมู่บ้าน

แนวทางแก้ไข

ทางคณะทำงานจึงมีแนวทางการทำงานจากรับเป็นรุกแบบค่อยๆทำให้เป็นรูปธรรมโดย มีการลงไปจัดกระบวนการกับกลุ่มอาชีพ กลุ่มบ้าน กลุ่มเป้าหมาย ในระดับกลุ่มบ้าน ระดับครัวเรือน โดยมีการสอดแทรกในเรื่องศาสนาที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิต การกิน การอยู่ วิถีอิสลาม ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวบ้านที่นี่ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ดังคำขวัญที่กล่าวว่า " ชนน้อมนำหลักศรัทธา " และจัดลำดับโซนที่มีความง่ายในการดำเนินงาน มีจุดแข็งในการดำเนินบรรลุเป้าหมาย ดำเนินเป็นกลุ่มบ้าน เพื่อสร้างเครือข่ายครอบครัววิถีอิสลามพอเพียงต่อไป โดยคณะทำงานเลือกกลุ่มในบ้าน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดหมู่บ้านน้ำเค็ม เป็นเพื่อที่เป้าหมายในการสรา้งระบบเครือข่ายครัวเรือนวิถีอิสลาม และเป็นพื้นที่กิจกรรมในการศึกษาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชุมชนบ้านน้ำเค็มโดยอาศัยนวัตกรรมชุมชนสังคมโรงเรียนวิถีอิสลามยั่งยืนเป็นตัวแบบและใช้มัสยิดเป็นฐานและที่พึ่งของชุมชนในการขับเคลื่อน โดยจะเน้นกลุ่มผู้หญิง เด็ก และคนชรา

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อานัติ หวังกุหลำ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี