ศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามยั่งยืนบ้านน้ำเค็ม (ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง)

ยกร่างแผน ครั้งที่2 เรียนรู้การทำแผนชุมชน กลุ่มวานีตา และผู้อาวุโส25 เมษายน 2558
25
เมษายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย อ.คอลดูน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเรียนรู้แผนชีวิต แผนชุมชน ความสำคัญของแผนเกี่ยวกับสุขภาวะที่มีต่อกลุ่ม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 25 เมษายน 2558 (13.00 - 16.00 น.) ขั้นตอนคือประสานงานเชิญชวน กลุ่มผู้หญิงในเขตพื้นที่ดำเนินโครงการที่สนใจแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแผนชีวืต แผนชุมชน และการรับฟังความคิดเห็นในการยกร่างแผนชุมชน โดยสรุปกลุ่มวานีต้าต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องทำมาหากิน การลดรายจ่าย อ. กิตติพงศ์ โชติรัตน์ อ.พิเศษวิทยาลัยชุมชนสงขลา ผู้มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับแผนชุมชน โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการระดมความคิดและสอดแทรกเกี่ยวกับความรู้ทางด้านการเกษตรการจัดการชีวิต การรับฟังปัญหาและการส่งเสริมการเรียนรู้ เปิดโอกาสซักถาม เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตครอบครัว มีการสอดแทรกประเด็นที่กลุ่มสนใจเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดสารพิษ ซึ่งประเด็นการปลูกผักเ้ป็นประเด็นจูงใจให้กลุ่มวานีต้าได้รวมตัวกันในครั้งนี้ และทางกลุ่มต้องการให้มีการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษอย่างยั่งยืน ด้านอ.ได้สอนเกี่ยวกับการทำสารไล่แมลง จากวัสดุที่มีในท้องถิ่น ทางกลุ่มมีความสนใจมากเพราะจะสามารถทำได้เอง และต้องการบรรจุประเด็นเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชลงในแผนในครั้งนี้ จากการจัดกิจกรรมทำให้กลุ่มวานีต้ามีส่วนร่วมในการวางแผนชุมชน

  • วันที่26 เมษายน2558 (14.30 - 17.30 น.) ดร.ชูโกร์ เปิดการเรียนรู้ เกี่ยวกับฮาลาลตอยยิบ และการส่งเสริมชุมชนสุขภาวะ การชูรอ การนำหลักการศาสนามาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยมีสื่อและยกตัวอย่างการใช้กระบวนทัศน์อิสลามและวิถีศาสนธรรมในการพัฒนาสุขภาวะชุมชน ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการศาสนาที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มวานีต้าได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และร่วมกันตั้งปณิธานในการส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารพิษและการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เกิดกลุ่มวานีต้าที่ส่งเสริมการปลูกผักขึ้นในชุมชน และการรวมตัวทำกิจกรรมของกลุ่มอาวุโส ในการเชื่อมโยงสายใยความสัมพันธ์เครือญาติ เริ่มประสานงานเพื่อให้เกิดศูนย์สามวัยบ้านน้ำเค็มให้เป็นรูปธรรม มีการให้ความรู้ผ่านองค์กรต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนครัวเรือนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ โดยเป็นกลุ่มผู้หญิง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ปัญหา

การรวมตัวในการดำเนินโครงการของคนวัยต่างๆยังมีการรวมตัวไม่เป็นระบบและยังขาดพื้นที่ ที่เป็นฐานในการขับเคลื่อนเช่นวัยเด็ก ผู้หญิง คนชรา

  • แนวทางแก้ไข

อาศัยกลุ่มเป้าหมาย คนสามวัยบ้านน้ำเค็ม เพื่อเป็นฐานดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องแม้โครงการจะสิ้นสุดเพื่อความยั่งยืน เช่นการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ การตั้งชมรมจักรยาน การปลูกผักสวนครัวที่เน้นเด็กและผู้สูงอายุเป็นจุดเชื่อมโยงสายใยความสัมพันธ์

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-