แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักและเห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและป่าต้นน้ำ
ตัวชี้วัด : 1.1 คนในชุมชนมีความรู้เรื่องฐานทรัพยากรป่าต้นน้ำและเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการป่าต้นน้ำร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั้งหมด 1.2 มีชุดข้อมูลเขาแก้ว/คลองห้วยตอ/คลองน้ำทะลุเขา/คลองหนานปู/คลองใหญ่และฐานข้อมูลทรัพยากรของป่าต้นน้ำชุมชน และมีการคืนข้อมูลเพื่อสร้างความตระหนักเห็นคุณค่าเข้ามามีส่วนร่วม 1.3 มีแผนการดูแลรัษาป่าต้นน้ำ 1.4 มีสื่อประชาสัมพันธ์/สื่อรณรงค์/ป้ายแสดงกฏกติกา ไม่ต่ำกว่า 10 ชิ้น 1.5 มีกฏกติกาของชุมชนในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ

 

 

  • คนในชุมชนมีความรู้เรื่องทรัพยากรป่าต้นน้ำของชุมชนเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากการเข้าร่วมประชุมและจัดกิจกรรมของโครงการ ร้อยละ 80 ของครัวเรือนทั้งหมด จำนวน 247 ครัวเรือน
  • ชุมชนมีแผนงานการดูแลทรัพยากรป่าต้นน้ำของชุมชน โดยมีการประสานงานกับหน่วยงาน องค์กร เน้นการทำงานอย่างมีส่วนร่วม
  • มีการจัดทำป้ายรณรงค์ ห้ามล่าสัตว์ ตัดไม้ บริเวณป่าต้นน้ำและพื้นที่เขตป่าชุมชนตลอดเส้นทาง
2 เพื่อปรับสภาพพื้นที่ป่าต้นน้ำเป็นพื้นที่ที่เอื้อในการผลิตอาหารให้กับคนในชุมชน
ตัวชี้วัด : 1.1 มีฝายชะลอน้ำ อย่างน้อยจำนวน 5 จุด 1.2 มีพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟู มีพันธ์ไม้ใช้สอยเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 1,500 ต้น 1.3 มีอาสาสมัครพิพักษ์ป่าลาดตระเวณดูแลพันธ์ไม้และเฝ้าระวังการทำลายป่า จำนวน 8 คนเดินลาดตระเวณเดือนละครั้ง

 

 

  • เกิดพื้นที่ป่าชุมชน จำนวน 3 ไร่ ที่มีการปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น จำนวน 1,000 ต้น
  • มีอาสาสมัครเฝ้าระวัง จำนวน 1 ชุด จำนวน 15 คน
3 เพื่อพัฒนา กลไก/แกนนำ/อาสาสมัครและกลุ่มองค์กรในชุมชนสามารถร่วมกันบริหารจัดการทรัพยากรป่าต้นน้ำ
ตัวชี้วัด : 1.1 มีคณะทำงานที่ร่วมกันรับผิดชอบการดำเนินงานตามโครงการ จำนวน 15 คน 1.2 มีระบบ มีแผน,มีปฏิบัติการในการเฝ้าระวัง ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติของชุมชน 1.3 มีกลไกในการบริหารจัดการชุมชนโดยรูปแบบสภาชุมชนผ่านการประชุมหมู่บ้าน 1.4 เกิดกลุ่มเยาวชนรักษ์ป่า 1 กลุ่ม

 

 

  • มีคณะทำงานโครงการ ที่ร่วมรับผิดชอบการดำเนินงานโครงการและมีการแบ่งบทบาทหน้าที่กันอย่างชัดเจนในการขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการ จำนวน 15 คน
  • มีแผนงานโครงการในการฟื้นฟูปลูกต้นไม้เพิ่ม มีการรักษาเฝ้าระวังดูแลทรัพยากรป่าต้นน้ำของชุมชน
  • เกิดกลุ่มอาสาสมัครเด็กเยาวชนพิทักษ์ป่า จำนวน 15 คน
4 เพื่อพัฒนาสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. มีสภาผู้นำชุมชนในการบริหารจัดการชุมชน จำนวน 30 คน 2. สภาหมู่บ้านมีการประชุมทุกเดือน 3. ในการประชุมแต่ละครั้งมีผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละแปดสิบ 4. ในการประชุมแต่ละครั้ง มีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน

 

 

  • เกิดสภาผู้นำในการบริหารจัดการชุมชน จำนวน 45 คน
  • มีการประชุมสภาหมู่บ้านทุกเดือนๆละครั้ง
  • คนในชุมชนให้ความสำคัญในการเข้าร่วมประชุมสภาหมู่บ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 80 ของคนในชุมชนทั้งหมด จำนวน 247 ครัวเรือน
  • มีการใช้วงคุยประจำเดือน เป็นวงในการวางแผน เตรียมงาน ปรึกษาหารือและสรุปผลการทำงานของชุมชน
5 เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำบ้านท่ายูง
ตัวชี้วัด : 1. มีพื้นที่ป่าต้นน้ำที่ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟู จำนวน 3 ไร่

 

 

  • เกิดพื้นที่ป่าชุมชน ที่ได้รับการดูแลเฝ้าระวัง จำนวน 3 ไร่
6 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

  • ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานโครงการ เข้าร่วมประชุมกับสจรส.และพี่เลี้ยง ทุกครั้ง
  • มีการจัดทำป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้ายติดไว้ในสถานที่ที่ประชุมและจัดกิจกรรมของโครงการ
  • มีการจัดทำภาพถ่ายกิจกรรมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการเป็นระยะๆ