ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด

ประชาสัมพันธ์เปิดโครงการทำความเข้าใจร่วมกับชุมชน หน่วยงาน22 ตุลาคม 2558
22
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อสร้างให้กิด กระบวนการเรียนรู้ให้คนใน ชุมชนมีความรู้ความเข้าใจและ ตระหนักในการฟื้นฟู ทรัพยากรสัตวน์และ สิ่งแวดล้อม2. เพื่อสร้างกระบวนการเข้ามามีส่วนร่วมกับการดำเนินงานโครงการ อย่างต่อเนื่องและเต็มใจของชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เตรียมความพร้อมคณะทำงาน ทีมงานในชุมชนแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมการจัดเตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง วาระประเด็นการพูดคุยในเวทีการแลกเปลี่ยน สรุปบันทึกการประชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

งานโครงการฯ -การทำความเข้าใจอย่างละเอียดร่วมกันของชุมชน หน่วยงานถึง ต้องมีความพยายามตั้งใจ ใช้เวลาการพัฒนาโครงการ อยู๋พอสมควรกับการได้มาซึ่งโครงการร่วมสร้างสุขให้ชุมชนด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด โดยคณะบุคคลที่เป็นตัวแทนจากชุมชนงบประมาณของ สสส. ทุกบาททุกสตางค์ที่สนับสนุนให้กับชุมชน ต้องใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุดกับชุมชน และส่วนรวม โดยใช้ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาชุมชน เพื่อสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง (ชุมชนดับข้อมูล,ทีมงาน,วางแผนปัจจุบัน-อนาคต) -กับสถานการณ์ของ สสส.ในปัจจุบันที่มีการตรวจสอบการใช้เงินโครงการ โดย คตร.ของรัฐซึ่งจากที่รัฐเก็บภาษีสรรพสามิต ปีละประมาณ 2-3 แสนล้านบาท จากกลุ่มทุนที่รัฐควบคุม จากนโยบายการดำเนินงานของ สสส. การรณรงค์เลิกเหล้าบุหรี่ที่ส่งผลให้กลุ่มทุนผู้ผลิตเสียผลประโยชน์มหาศาล ก็พยายามจะล้ม สสส. -การใช้จ่ายเงินในการดำเนินงาน ต้องมีการรายงาน การใช้จ่ายตามหมวดแต่ละกิจกรรมที่วางไว้เอกสารบิลค่าใช้จ่าย ต้องเก็บไว้ในระยะเวลา 5 ปีตั้งแต่สิ้นสุดโครงการ งานอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับชุมชน -นายอนุสร ตันโชติกุล นายอำเภอสทิงพระกล่าวว่าโครงการฯที่ชุมชนได้รับการสนุนสนุนงบประมาณจาก สสส. ดังกล่าว มีความสอดคล้องกับแผนงานของจังหวัด ที่มีงบประมาณจำนวน 19 ล้านบาท ที่นำมาฟื้นฟูทรัพยากรในทะเลสาบสงขลา เช่นการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ , การขุดลอกร่องน้ำเป็นที่อาศัยขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ เพราะปัจจุบันทะเลสาบตื้นมากระดับความลึก เพียง30 เซนติเมตร ถึง 1.50 เมตรเท่านั้น จุดที่มีความลึกที่สุดคือร่องน้ำเดิม ประมาณ 2-3 เมตร โดยบทเรียนที่ผ่านมาการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ หรือการขุดลอกไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เช่น การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่ไม่เหมาะสมกับสภาพน้ำหรือการขุดลอกร่องน้ำในพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการอาศัยขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ ทำให้เกิดการสูญเสียงบประมาณไปมหาศาล ตนจึงไม่อยากให้เห็นงบประมาณดังกล่าวละลายน้ำหมดไปเหมือนในอดีต จึงอยากให้ชุมชน ร่วมกับ อบต. ประมงอำเภอ ได้ร่วมกันพูดคุยทำข้อมูล แผนการดำเนินงานเพื่อของบประมาณดังกล่าวจากจังหวัด สอดคล้องกับโครกการ สสส. ที่สามารถนำมาซึ่งการโดยตอบโจทย์ การแก้ไขปัญหาตามความต้องการของคนในชุมชน มติจากเวทีประชุม -ชุมชนได้กำหนดประเด็นกรอบการทำแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ เสนอของบจังหวัดไว้ดังนี้ 1.การขุดลอก 2.การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ้ 3.ทบทวนพัฒนากลุ่มประมงอาสา 4.กฏกติกการจัดการและซ่อมแซมเขตอนุรักษ์ฯ 5.กองทุนเครื่องมือประมง -วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 10.00 น. ณ.แพปลาชุมชนคูขุด จัดเวทีทำข้อมูลการประมงเช่น ข้อมูลสัตว์น้ำและข้อมูลเครื่องมือประมง ความอุดมสมบูรณ์ช่วงมีกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟู เช่น การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่เหมาะสม กับการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำที่ชุมชนไม่เหมาะสมกับสภาพน้ำ(ชุมชนไม่มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล กำหนด ตัดสินใจ)

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 65 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานฯ จำนวน 7 คน

แกนนำชุมชนเครือข่ายคณะกรรมการ สมาคมประมงทะเลสาบ อ.สทิงพระ, แพปลาชุมชนคูขุด จำนวน 54 คน

ตัวแทนหน่วยงานในท้องถิ่น เช่นนายอำเภอ,ประมงอำเภอสทิงพระและ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด จำนวน 4 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์ ,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-