ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด

พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำชุมชน เพิ่มเติมข้อมูลแผนการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในทะเลสาบ ให้เหมาะสมกับสภาพน้ำ28 มีนาคม 2559
28
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อมีข้อมูล แผนการปล่อยสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา  ที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม  เหมาะสมากันระหว่างชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ กับคุณภาพน้ำ และภาคีหน่วยงานที่เข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกินแฟ ขนม น้ำ

2วาระการประชุม

3ผู้รับผิดชอบโครงการนำคุยแลกเปลี่ยนประเด็นเนื้อหา

4อาหารเที่ยง

5วางแผนการดำเนินงาน

6สรุป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ข้อมูลในการประกอบจัดทำแผนการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา ต.คูุขุด  ที่ชัดเจน 1 แผน  การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำในแต่ละเดือนให้เหมาะสมสอดคล้องกันของชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ กับคุณภาพน้ำ เช่น กุ้งก้ามกรามควรปล่อยในช่วงน้ำจืด  หรือกุ้งกุลาดำ ปล่อยในช่วงน้ำเค็ม เป็นต้น 2.เครือข่ายสมาชิกแพปลาชุมชนบ้านคูขุดจำนวนไม่น้อยกว่า 200 คนได้รับประโยชน์จากแผนการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ  เมื่อปล่อยสัตว์นำ้แล้วอัตราการรอดสูง สัตว์น้ำเติบโต อาชีพ รายได้ชาวประมงดีขึ้น  กลุ่มคนในชุมชนได้เข้ามาร่วมการปล่อยสัตว์น้ำเพิ่ม่ขึ้น เช่น  กลุ่มประมงอาสา, กลุ่มเยาวชน
    3.ได้ภาคีเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ และนอกพื้นที่เข้ามาร่วมให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ที่เป็นแหล่งอาหาร เป็นแหล่งอาชีพ รายได้ ของทุกๆคน  เช่น  รพ.สต.( ต.คูขุด) สถาบันการศึกษา (โรงเรียนวัดคูขด,โรงเรียนธรรมประดิษฐ์ เป็นต้น) ประมงอำเภอสทิงพระ    สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา  เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบสงขลา ต.คูขุด  องค์การบริหารส่วนตำบลคูขุด 
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานน,คณะกรรมการ ,สมาชิกเครือข่ายแพปลาชุมชนบ้านคูขุด,  ปราชญ์ภูมิปัญญา แกนนำ คนในชุมชนชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา แผนการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ อาจไม่สามารถนำปฏิบัติการได้จริงตาม  เช่น  แผนกำหนดไว้ในช่วงเดือน มีนาคม ปล่อยกุ้งก้ามกราม แต่บางปีในช่วงเดือนมีนาคม คุณภาพน้ำเค็ม เป็นต้น แนวทางแก้ไข  ต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการปล่อยสัตว์น้ำ โดยอิงการปล่อยสัตว์น้ำแต่ละชนิด ต้องสอดคล้องกับคุณภาพน้ำในทะเลสาบสงขลา เป็นสำคัญ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่