ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด

ศึกษาดูงานข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เทคนิค การพาะพันธุ์กุ้งก้ามกราม7 มิถุนายน 2559
7
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อ่เรียนรู้ข้อมูลเทคนิคการเพาะพันธุ์กุ้งก้ามกรามโดยชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน

2ประเด็นแลกเปลี่ยนปัญหาสถานการณ์ทรัพยากร

3 เรียนรู้การเพาะพันธุ์กุ้งก้ามกราม

4แลกเปลี่ยซักถาม

5สรุป

6จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ข้อมูลทางวิชาการสถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสงขลา ดังนี้
      กุ้งก้ามกรามผสมพันธุ์วางไข่ได้ตลอดปี  ถ้าอุณหภูมิน้ำสูง กว่า 21 องศาเซลเซียส    โดยวางไข่ได้ปีละ 4 - 5 ครั้ง          ผสมพันธุ์และวางไข่มากในฤดูฝเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์  แม่กุ้งที่ผสมพันธ์แล้วจะเดินทางมาสู่ บริเวณปากแม่น้ำ หรือบริเวณน้ำกร่อย  หลังจากวางไข่แล้ว  ลูกกุ้งจะล่องลอยไปตามกระแสน้ำ ใช้เวลา  15 - 40 วัน  จนวิวัฒนาการเป็นกุ้งวัยรุ่น (postlarva) จากนั้น อพยพเข้าไปเจริญเติบโตในน้ำจืด อายุประมาณ 5 เดือนจึงพร้อมจะผสมพันธุ์วางไข่ได้ การผสมพันธุ์วางไข่เกิดขึ้นเมื่อตัวเมียลอกคราบเสร็จใหม่ๆและเปลือกยังอ่อนอยู่  ตัวเมียจะรับน้ำเชื้อจากตัวผู้ซึ่งมีลักษณะเป็นสารเหนียวสีขาวติดอยู่ที่หน้าอกระหว่างขาเดินของตัวเมีย  หลังจากนั้น 3-5 ชั่วโมงไข่จะเคลื่อนออกมาผสมกับน้ำเชื้อแล้วถูกเก็บไว้บริเวณส่วนท้องระหว่างขาว่ายน้ำ    แม่กุ้งจะใช้ขาว่ายน้ำโบกพัดให้น้ำไหลผ่านเพื่อให้ออกซิเจนแก่ไข่  ไข่ที่ออกมาใหม่ๆมีสีเหลืองส้ม  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.6-0.8 มม.  และจะมีวิวัฒนาการจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหรือสีเทาซึ่งพร้อมจะฟักเป็นตัวภายใน 1-2 วัน  ระยะเวลาที่ไข่ติดอยู่ที่ท้องจนฟักเป็นตัวประมาณ 17-21 วันแม่กุ้งน้ำหนัก 10 - 15 กรัม มีไข่ประมาณ 11,000 - 15,000 ฟองแม่กุ้งขนาด 17-20 ซม. มีไข่ประมาณ  70,000-120,000 ฟองการเลือกสถานที่อยู่ใกล้ทะเลเนื่องจากต้องใช้น้ำเค็มในการเพาะและอนุบาล  อยู่ใกล้แหล่งน้ำจืดที่มีคุณภาพดี เนื่องจากต้องต้องใช้เจือจาง  น้ำเค็มให้ได้ระดับ 12-15 ppt มีไฟฟ้าใช้ สำหรับเครื่องปั๊มลม เครื่องสูบน้ำ ตู้เย็น ฯลฯ  อยู่ใกล้แหล่งที่หาแม่พันธุ์กุ้งได้สะดวก  ทางคมนาคมสะดวกโรงเรือนสำหรับอนุบาล บ่อพักน้ำจืดน้ำน้ำเค็มและบ่อผสมน้ำให้ได้ความ    เค็ม12-15 ppt  บ่อเพาะและอนุบาล (ใช้บ่อซีเมนต์ขนาด 10 ตัน) อุปกรณ์ให้อากาศ และระบบเตือนไฟฟ้าดับเครื่องมือวัดความเค็ม เช่น Salinometer สารเคมีและยาฆ่าเชื้อโรค  อุปกรณ์อื่น ๆ เช่นตู้เย็น สวิง ตะแกรง  ฯลฯการเตรียมบ่อใช้บ่อซีเมนต์ขนาด 10 ตัน ภายในบ่อมีท่อระบายน้ำทิ้ง ทำความสะอาดบ่อโดยฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีน  50 ppm    สาดให้ทั่ว ตากบ่อทิ้งไว้ 1 วัน แล้วล้างให้สะอาดเติมน้ำเค็ม 15 ppt  จนได้ระดับ ประมาณ  7 ตันใส่หัวทราย หรือท่อให้อากาศ เพื่อให้อากาศตลอดเวลานำน้ำเค็ม  30 ppt มาพักตกตะกอนประมาณ 7 วันใส่คลอรีน 15  กรัม/น้ำ 1 ตัน  เพื่อฆ่าเชื้อโรคให้อากาศ ทิ้งไว้ 2-3 วันเติม EDTA    4 กรัม/น้ำ  1  ตัน เพื่อตกตะกอนโลหะ  หนัก ทิ้งไว้  1  วัน หยุดให้อากาศนำน้ำที่เจือจางแล้วมาใช้โดยกรองผ่านผ้ากรองใยแก้ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าความเป็นด่าง (Alkalinity) ไม่ต่ำกว่า 120ค่าความเค็ม 10-15 pptปริมาณไนไตรท์ ไม่เกิน 0.01 ปริมาณแอมโมเนียรวม ไม่เกิน 0.การเตรียมพันธุ์กุ้งก้ามกราม ซื้อแม่กุ้งก้ามกราม  ที่มีไข่สีน้ำตาลหรือสีเทา ติดอยู่ที่ท้อง          ขนาด 8-10 ตัว/กิโลกรัม ลำเลียงแม่กุ้งในภาชนะซึ่งมีการให้อากาศตลอดเวลานำแม่กุ้งมาฆ่าเชื้อด้วยฟอร์มาลิน 50 ppm นาน 5 นาทีนำแม่กุ้งไปใส่ในถังเพาะพันธุ์ซึ่งมีน้ำเค็ม  10-12 ppt    ในอัตรา 100 ตัว/ ตารางเมตร ให้อากาศตลอดเวลาวันรุ่งขึ้นจึงย้ายแม่กุ้งออกจากถัง  (แม่กุ้งที่ยังวางไข่ ไม่หมดให้นำไปใส่ในถังใหม่)สุ่มนับจำนวนลูกกุ้งรวบรวมลูกกุ้งลงบ่ออนุบาล อัตราปล่อย 100,000 ตัว/น้ำ 1 ตัน  การให้อาหารเริ่มให้อาร์ทีเมีย เมื่อลูกกุ้งอายุได้  2  วัน  โดยให้วันละ  ประมาณ 3  ครั้ง (เช้า กลางวัน เย็น)ตรวจสอบปริมาณอาร์ทีเมียให้ปริมาณเพียงพอ ตลอดเวลาเมื่อลูกกุ้งอายุได้ 10 วัน ให้อาหารสำเร็จรูป 1 มื้อ ,เต้าหู้ ไข่ 1 มื้อ อาร์ทีเมีย 2 มื้อลูกกุ้งอายุ 16 วัน ให้อาหารสำเร็จรูป 1 มื้อ ,เต้าหู้ไข่      2 มื้อ ให้อาร์เมียมื้อสุดท้ายการฟักไข่อาร์ทีเมีย เตรียมน้ำเค็มตามที่ระบุไว้สำหรับอาร์ทีเมียแต่ละยี่ห้อ ใส่ไข่อาร์ทีเมียในถังฟักไข่ (ถัง 1 ตัน ฟักไข่ จำนวน 3 กระป๋อง ให้อากาศตลอดเวลาประมาณ  36  ชมจึงรวบรวมมาให้          ลูกกุ้งกินการรวบรวมทำโดยหยุดให้อากาศปิดฝาบ่อด้านบนและเปิดวาล์วด้านล่าง เนื่องจากเปลือกไข่จะลอยอยู่ผิวน้ำเมื่ออายุได้ 10 วัน เติมน้ำ ครั้งละ 0.5 ตัน เติมวันเว้นวัน  จนได้ระดับ 8.5 ตัน ช่วงนี้ไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ การควบคุมคุณภาพน้ำ เติมโซเดียมไบคาร์บอเนต เพื่อรักษาค่าอัลคาร์ไลน์และเติมน้ำปูนใส เพื่อควบคุมค่า pH เมื่อระยะอายุได้ 16 วัน จนถึงปล่อย มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำ  30 -50% ทุก 2 วัน เติมฟอร์มาลิน 10 cc/น้ำ1 ตัน  ก่อนถ่ายน้ำอัตรารอดของกุ้งก้ามกรามที่ได้จากการอนุบาลในบ่อซีเมนต์ประมาณ 50 - 60 เปอร์เซ็นต์  บรรจุถุงพลาสติกขนาดกว้าง  14 นิ้ว ยาว 24 นิ้ว  บรรจุน้ำประมาณ 2.5 ลิตร อัดออกซิเจน 3 ส่วนต่อปริมาตรน้ำ 1 ส่วน บรรจุลูกกุ้งคว่ำ ประมาณ 2,000 ตัวต่อถุง โดยนิยมขนส่งในช่วงเวลาเช้ามืดหรือเวลากลางคืนเนื่องจากอุณหภูมิอากาศไม่ร้อนจัดเกินไปอาการ ลูกกุ้งจะทยอยตายในช่วงแรกและจะมีอัตราสูงขึ้นและเร็วขึ้นถ้าตรวจดูกลางคืนจะเห็นลูกกุ้งเรืองแสงคล้ายหิ่งห้อยสาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชนิดวิบริโอ (Vibrio harveyi)การป้องกันรักษา ใช้ฟอร์มาลิน 25 ซีซี /น้ำ 1 ตัน         ซึ่งข้อมูลดังกล่าวชุมชนก็จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเพาะพันธุ์กุ้งก้ามกราม ร่วมกับข้อมูลทางภูมิปัญญาชุมชนและข้อมูลองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ เพื่อการเพิ่มปริมาณ สร้างความสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา อย่างต่อเนื่อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน,เครือข่ายคณะกรรมการสมาชิกแพปลาชุมชนบ้านคูขุด

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2558 มาจนถึงกลางปี 2559  ปริมาณกุ้งก้ามกรามมีน้อยมากเมื่อเปรียนเทียบจากปีอื่นๆ  ดังนั้นจึงไม่มีแม่พันธุ์กุ้งก้ามกรามในการนำมาเพาะพันธุ์ได้  ชุมชนจึงเพียงรอว่าแม่พันธุ์กุ้งจะมีให้จับในช่วงไหร เมื่อไหร มีปริมาณพอควร จึงสามารถเพาะพันธุ์ได้  แต่ข้อมูลองค์ความรู้การเพาะพันธุ์กุ้งก้ามกราม ก็จะเป็นประโยชน์ ต่อชุมชนและหน่วยงาน บุคคลที่สนใจเรียนรู้ 

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์ ,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-