ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด

จัดทำร่างกติกาข้อตกลงชุมชนการจัดการเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ20 มิถุนายน 2559
20
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อระดมความคิดเรียนรู้สถานการณ์  การจัดการเขตอนุรักษ์ ร่วมกัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน

2ประเด็นการพูดคุย

3แลกเปลี่ยนในเวที

4อาหารเที่ยง

5วางแผนการดำเนินงาน

6สรุป

7จัดเอกสารที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ข้อมูลสถานการณ์เขตอนุรักษ์จาก ๙๐๐ กว่าไร่ เหลือ ๗๐๐ กว่าไร่ เนื่องจากการทำมาหากกินยาก  เนื่องจากชาวบ้านบอกว่าที่ทำกินมีน้อยติดเขตบ้านเกาะโคบ หมู่ ๔ หมู่ ๘ บ้านเกาะเสือ ชาวบ้านเขามาขอให้เราลดเขตลง  จึงลดเหลือหมู่ ๓-๖ แต่ก่อนมี ๓-๗  ในปีนี้ มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำวันที่ ๑๓  เมษายน ๒๕๕๙ มีประมงอาสา ๘ คน
    เกิดแผนการจัดการเขตอนุรักษ์ฯ
  2. การจัดการเขตอนุรักษ์ฯ

- ซ่อมปรับปรุงป้ายเขต จำนวน 4 ป้าย ขนาดความกว้าง 2 เมตร ความยาว 3 เมตร  เสาเขตจำนวน 8 เสา (ท่อพีวีซีใส่ปูนซิเมน ยาว 4 เมตร) - ชุมชนต้องทำประมงภายใต้กฎกติกาที่วางไว้ร่วมกัน  คือไม่ทำประมงทุกชนิดในพื้นที่เขตอนุรักษ์
- การทำความเข้าใจคนในชุมชนถึงกติกาที่วางไว้และปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน
แผนการขุดลอกร่องน้ำ การขุดลอกร่องน้ำสายเดินเรือเก่า (จากหมู่ 1 บ้านบางด้วน ต.คูขุด ไปถึงคลองด้วน บ้านเกาะนางคำ ห่างจากฝั่งประมาณ 200 เมตร ความกว้างร่องน้ำ 50 เมตร ยาวประมาณ 10 กิโลเมตร) เพื่อให้ระบบการไหลเวียนของน้ำดีขึ้น สัตว์น้ำเข้ามาอาศัยและขยายปริมาณในทะเลสาบ ส่วนต้นลำพู หรือต้นไม้ชนิดอื่นๆ  ที่อยู่แนวร่องน้ำที่ขุดลอกนำไปปลูกจัดวางแนวให้เป็นระเบียบดูสวยงาม  ต่อการท่องเที่ยวในทะเลสาบ 3. แผนการพัฒนาศักยภาพประมงอาสาฯ ประมงอาสา เป็นกลุ่มคนที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลฟื้นฟูพื้นที่เขตอนุรักษ์, การเฝ้าระวังการทำประมงที่ผิดระเบียบ ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง  การพัฒนาศักยภาพกลุ่มประมงอาสา ในการติดต่อประสานหน่วยงานตรวจตรา ตักเตือน กรณีผู้เข้ามาทำประมงในเขตอนุรักษ์  (การจับกุมให้ประสานเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ประมงอาสา เน้นการทำความเข้าใจ การสร้างความร่วมมือ กฎกติกาการทำประมงที่เหมาะสมให้กับคนในชุมชน)

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน,แกนนำ, คณะกรรมการสมาชิกเครือข่ายสมาคมประมงทะเลสาบอ.สทิงพระ ,แพปลาชุมชนบ้านคูขุด

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

  ปัญหาซ: มีการขุดลอกร่องน้ำทางเดินเรือในทะเลสาบสงขลาพื้นที่เขตอนุรักษ์ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของกระแสน้ำ  และการปิดกัันเส้นทางการออกทำประมงของชาวบ้าน
แนวทางแก้ไข : ทำหนังสือถึงหน่วยงานให้ชี้แจงข้อมูลรายละเอียดการขุดลอก และให้ชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมให้การให้ข้อเสนอแนะ ข้อคิดเห็นการขุดลอกที่เหมาะสม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัสหวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-