ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด

เพื่อประชุมร่วมกับเครือข่ายการแก้ปัญหาในทะเลสาบสงขลาฯ25 กรกฎาคม 2559
25
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายในการร่วมกันแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียนร่วมกับเครือข่ายชาวประมง

2ผู้เข้าร่วมรับประทานกาแฟ ขนม

3ผู้เข้าร่วมประชุมแนะนำตัวเป็นรายจังหวัด

4สะมะแอ เจ๊ะมูดอ นายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยกล่าวเปิดเวทีประชุม

5แลกเปลี่ยนปัญหาสถานการณ์ทรัพยากรในแต่ละพื้นที่เช่นจ.สงขลา จ.พัทลุง จ.นครศรีธรรมราช จ.สุราษฎร์ธานี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.สตูล จ.ตรัง จ.พังงา จ.ภูเก็ต

6 แลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาทรัพยากร การจัดการอนุรักษ์ฟื้นฟูโดยชุมชน ต่อด้วยเนื้อหา พรก.ประมง2558 ที่เกี่ยวข้องกับประมงพื้นบ้าน

7อาหารเที่ยง

8สรุปประเด็นข้อเสนอแนะการจัดการฯแต่ละพื้นที่ร่วมกับเครือข่าย

9วางแผนการดำเนินงานกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครือข่าย

10ปิดการประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ให้แต่ละพื้นที่เข้าร่วมแลกเปลี่ยนปัญหาสถานการณ์ในพื้นที่ของตนเช่น สถานการณ์ ปัญหาทะเลอ่าวไทย ทะเลอันดามัน และทะเลสาบสงขลา มีประเด็นปัญหาแต่ละพื้นที่คล้ายๆ กันอยู่หลายๆ ประเด็น เช่นทะเลไทยถูกกอบโกยโดยกลุ่มนายทุน กลุ่มทำประมงทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน ระบบนิเวศท้องทะเล(เรื่ออวนลาก,เรือปั่นไฟปลากระตัก) ที่มีขนาดตาอวนที่ถี่มาก ชนิดก้นถุงอวนเม็ดทรายก็หลุดออกมาไม่ได้ส่วนในทะเลสาบสงขลา ปัญหาความเสื่อมโทรมเกิดจากนโยบายภาครัฐที่เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่ง เช่นการสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา ต.หัวเขา อ.สิงหนคร ที่ไปปิดกั้นการไหลเวียนของกระแสน้ำที่พัดเข้าออกในทะเลสาบสงขลากับทะเลอ่าวไทย กลา่วคือเดิมปากน้ำกว้างประมาณ 900 เมตรเมื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกมีการถมดินลงทะเลปิดปากน้ำแคบลง ปากกว้างประมาณ 400 เมตรทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการไหลเข้าออกของน้ำในทะเลอ่าวไทยที่ไหลเข้าทะเลสาบสงขลา พร้อมสัตว์น้ำนานาชนิดที่เข้ามาในทะเลสาบสงขลา และที่น่าเจ็บปวดเพิ่มขึ้นอีกกรณี พรก.ประมง 2558 ที่ประมงพื้นบ้านไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการเสนอข้อคิดเห็น เนื้อหาพรก.แต่ละมาตรา ซึ่งทำให้พรก.ที่ออกมาขัดแย้งกับวิถีอาชีพของประมงพื้นบ้านอย่างสิ่นเชิง เช่น การเก็บค่าธรรมเนียมเครื่องมือแต่ละชนิดที่ชาวประมงมีมาตรา 34 ห้ามประมงพืนบ้านออกทำการประมงจากฝั่งไม่เกิน 3 ไมล์ทะเล หรือ 5.4 กิโลเมตรซึ่งตามความเป็นจริงประมงพื้นบ้านออกทำการประมงมาตั้งแ่ต่บรรพบุรุษ ห่างจากฝั่งออกไป 20-30 ไมล์ครั้นพรก.ประมงดังกล่าว ออกมาทำให้ประมงพื้นบ้าน ต้องยื่นหนังสือในนามกลุมประมงพื้นบ้านแต่ละจังหวัดต่อผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ หรือ ศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดนั้นๆ
ซึ่งในที่ประชุมมีข้อสรุปดังนี้ 1 ประมงพื้นบ้านออกทำการประมงได้มากกว่า 3 ไมล์ทะเล ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ
2 เขต 3 ไมล์ทะเลจากฝั่ง ให้เป็นพื้นที่เขตอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ
3 เขต 12 ไมล์ทะเล จากฝั่ง เป็นพื้นที่ควบคุมเครื่องมือประมง ห้ามใช้เครื่องมือทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อนห้ามใช้เครื่องมือที่ทำลายระบบนิเวศ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา จ.พัทลุง จ.นครศรีธรรมราช จ.สุราษฎร์ธานี จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.สตูล จ.ตรัง จ.พังงา จ.ภูเก็ต เป็นต้น

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

    -

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัสหวังมณีย์ ,เบญจวรรณเพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-