ร่วมสร้างสุขให้ชุมชน ด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด

จัดประชุมเพื่อสรุปผลจัดทำรายงานฯ ระหว่างการดำเนินงานโครงการฯ ครั้งที่ 120 พฤษภาคม 2559
20
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

สร้างระบบการบริหารจัดการ สรุปผลการดำเนินงาน เพื่อทราบผลสำเร็จ ปัญหาอุปสรรค ระหว่างดำเนินงานโครงการฯ ครั้งที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน

2รับประทานกาแฟ

3ขึ้นวาระการประชุม

4แลกเปลี่ยนในเวที

5อาหารเที่ยง

6แผนการทำกิจกรรมโครงการฯและกิจรรมที่เกี่ยวข้อง

7ึสรุป

8จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตั้งแต่พื้นที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานโครงการร่วมสร้างสุขให้ชุมชนด้วยการฟื้นเลบ้านคูขุด  ซึ่งในพื้นที่มีกิจกรรมต่อเนื่องที่สอดคล้องกับกิจกรรมโครงการฯที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. เพียงแต่พื้นที่ไม่มีงบประมาณหรือทุนในการจัดกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลัก ๆ คือการเข้ามามีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา  ที่เป็นเสมือนหม้อข้าวหม้อแกงของคนในชุมชนโดยเฉพาะคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมทะเลสาบสวนใหญ่ประกอบอาชีพทำการประมง    พื้นที่บ้านคูขุด มีแกนนำที่ทำงานขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาทรัพยากร ระบบนิเวศในทะเลสาบเสื่อมโทรม มาตั้งแต่ปี 2536 เริ่มจากการก่อกันเป็นกลุ่มประมงอาสาฯ  ที่ทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประมง. กรมทรัพยากรฯ  และโครงการแลใต้ ขององค์กรเอกชนที่เข้าไปหนุนเสริมในขณะนั้น  วิวัฒนาการของชุมชน มีความเข้มแข็งของการจัดการทรัพยากรฯตามลำดับ จากการเรียนรู้  ร่วมเครือข่าย  แกนนำสั่งสมประสบการณ์งานพัฒนากับองค์กรเอกชน อย่างต่อเนื่อง  จนมีการพัฒนาให้เกิดกลุ่มก้อนการทำกิจกรรมร่วมกันของชุมชน เช่น กลุ่มออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการบ้านคูขุด,กลุ่มแพปลาชุมชนบ้านคูขุด ,สมาคมประมงทะเลสาบอำเภอสทิงพระ เป็นต้น  ซึ่งการจัดการทรัพยากรของชุมชน ในอดีตชุมชนต้องพึ่งคนหน่วยงานจากภายนอก แต่ปัจจุบันชาวประมงเห็นว่าการที่ต้องช่วยตนเองก่อนเป็นอันดับแรก น่าจะสร้างความเป็นรูปธรรมได้มากกว่า  ดังนั้นกลุ่มการร่วมต้วกันทำกิจกรรมของคนในชุมชน ดังกลุ่มต่างๆที่กล่าวมาในเบื้องต้น มีการบริหารจัดการจัดสรร การตั้งกองทุนต่างๆ ต่อยอดมากขึ้น เช่น  กองทุนเครื่องมือประมง  กองทุนภัยพิบัติ  กองทุนสวัสดิการ  เพราะชุมชนเห็นว่ากองทุนเหล่านี้จะสามารถทำให้คนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกิจกรรม งานพัฒนาเพิ่ม่ขึ้น
  ปัญหา ยังมีคนในชุมชนบางส่วนที่ยังไม่ให้ความสำคัญกับการเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่กลุ่มหรือหน่วยงานดำเนืนงาน  เขาเหล่านั้นยังมีค่านิยมที่ไม่ใช่เรื่องของตน  ถึงไม่เข้้าไปร่วมก็ได้รับประโยชน์ร่วมกัน เช่น กิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ  การทำธนาคารกุ้งไข่    การดูแลเฝ้าระวังการทำประมงที่ผิดกฏหมาย ทำลายสัตว์น้ำวัยอ่อน หรือเข้ามาทำประมงในเขตอนุรักษ์ฟื้นฟุสัตว์น้ำ เป็นต้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 61 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน คณะกรรมการสมาชิกแพปลาชุมชนบ้านคูขุด แกนนำ ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนหน่วยงาน เช่น เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบ ต.คูขุด,ประมงอำเภอสทิงพระ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัส หวังมณีย์,เบญจวรรณ เพ็งหนู
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-