ร่วมสร้างสุข ด้วยซั้งกอที่บ้านทะเลนอก

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำซั้งกอ ร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา23 มกราคม 2016
23
มกราคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้การจัดการทรัพยากร กรณีทำซั้งกอ  เพื่อเกิดการมีส่วนร่วมทำกิจกรรม ของชุมชน  เพื่อสัตว์น้ำมีมากขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการนัดหมายกลุ่มไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้จำนวนคน พาหนะ วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องเตรียม เช่น กล้องถ่ายรูป,ไวนิล,ตัวโครงการ,ใบลงทะเบียน ,ใบรับเงิน กระดาษคลิปชาด ปากกาเคมีเป็นต้น เดินทางถึงจุดหมาย 09.00 นก่อนถึงเวลา 10.00 น.ซึ่งเวทีแลกเปลี่ยนจะเริ่มกลุ่มชาวประมงทักทายแกนนำ พี่น้องประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลาเดินชมการต่อเรือท้ายตัดที่ทำจากไม้ตะเคียน ทั้งลำ ซึ่งราคาลำละ 500,000- 600,000 บาท ค่าแรงช่างประมาณ 60}000-70,000 บาท เดินทางเข้าสถานที่ประชุม คือ สมาคคมเครืข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช พร้อมกินกาแฟขนมข้าวเหนียว พูดคุยทักทายชาวประมงในพื้นที่ และเข้าสู่กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานและเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา จำนวน 17 คน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ขบวนการการจัดการทรัยพากรในพื้นที่ของประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จากนายเจริญโต๊ะอิแตะ นายกสมาคมเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา นายหมาดโต๊ะสอ รองนายก นายดอเลาะแสหมาด แกนนำ ซึ่งสามารถสรุปประเด็นสำคัญได้คือ
1. กระบวนการจัดการทรัยพากรของกลุ่มประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา เริ่มจากการมานั่งพูดคุยถึงปัญหาทรัพยากร ของแกนนำ จำนวน 4 คน คือ นายเจริญ โต๊ะอิแตะ (บังมุ) นายหมาด โต๊ะสอ (บังหมาด)นายดอเลาะ แสหมาด (บังเลาะ) และนายยูโซ๊ป (เสียชีวิตแล้ว) ซึ่งขณะนั้นทรัพยากรสัตว์น้ำถูกทำลายจากกลุ่มเรืออวนลาก เรือปั่นไป (เป็นประมงพานิช) อย่างหนัก ทำให้ประมงพื้นบ้านเดือดร้อนสัตว์น้ำลดน้อย เพราะสัตว์น้ำวัยอ่อนถูกทำลายเมื่อทรัพยากรทะเลหน้าบ้านถูกทำลาย ทั้ง 4 คนจึงเริ่มหาเพื่อนในหมู่บ้านมานั่งคุยให้รู้ถึงปัญหาดังกล่าวร่วมกัน เพื่อที่จะร่วมกันจัดการอย่างไรซึ่งขณะนั้นโครงการดับบ้านดับเมือง จ.นครศรีธรรมราช ได้เข้ามาหนุนเสริมชาวประมงโดยได้พาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับประมงพื้นบ้าน กลุ่มปากบารา กลุ่มขอนคลาน จ.สตูล กลับมาตั้งเป้าในการจัดการทำเขตอนุรักษ์เพื่อไม่ให้กลุ่มอวนลาก เข้ามาทำลายสัตว์วัยอ่อนพื้นที่ชายฝั่ง เสา ป้ายเขตอนุรักษ์ทุกคนร่วมออกแรง ออกเงินกันเอง เพราะตอนนันต้องช่วยกันเป็นปัญหาร่วมกันของทุกคนได้เงินสมทบจากนักการเมืองท้องถิ่น ที่เห็นความตั้งใจของชาวบ้าน เป็นเงินส่วนตัว นำมาซื้อกาแฟ ขนมให้ชาวบ้านขณะทำกิจกรรมเขตอนุรักษ์ เมื่อทำเขตอนุรักษ์ เพื่อไม่ให้กลุ่มอวนลากเข้ามาทำลายก็ต้องมีการตั้งคนเฝ้าระวังพื้นที่เขตอนุรักษ์ซึ่งแรกๆ ชาวบ้านก็ไม่เห็นคุณค่าของการทำเขตอนุรักษ์แต่เมื่อมีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ไม่มีกลุ่มอวนลากเข้ามาสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้นชาวบ้านก็เริ่มให้ความสำคัญ เพราะทำให้รายได้จากทำประมงดีขึ้นเริ่มมีการระดมทุนตั้งเป็นกลุ่มออมทรัพย์ ตั้งร้านค้าชุมชน ตามลำดับ โดยรายได้ค่าบำรุง ค่าธรรมเนียม จากกลุ่มนำมาจัดสรร ช่วยเหลือสมาชิกตั้งเป็นกองทุนฟื้นฟูทรัพยากรมีทุนหมุนเวียนให้ชาวประมงได้ซื้อเครื่องมือประมงกิจกรรมการทำซั้งกอ ซึ่งประมงท่าศาลาเรียกกันว่า บ้านปลา เป็นกิจกรรมที่ทำกันมาต่อเนื่อง โดยในพืนที่ทะเลอ่าวท่าศาลา ดินด้านล่างจะเป็นเลน การทำซั้งกอ จากไม้หมาก ไม้ไผ่ทางมะพร้าวเชื่อกผูกทุ่นยึดให้ติดท้องทะเล การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำซั้งกอจากหน่วยงาน ก็จะเปลี่ยนเป็นประการังเทียม หรือ ให้แท่นซิเมนซึ่งกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูต่างๆ ทั้งเขตอนุรักษ์ การเฝ้าระวังการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ ทำธนาคารปูกันมาอย่างต่อเนื่องของประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา ทำให้มีสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์มากๆ ในปัจจุบัน (โดยเคยมีเรือประมงพื้นบ้านจำนวน 1 ลำ ออกไป 3 คืน จับสัตว์น้ำมีรายได้ถึง 300,000 บาทซึ่งเป็นช่วงที่สัตว์น้ำชุกชุมากๆ)
เรื่องจัดข้อมูลทำความเข้าใจกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง การสื่อสารเฝ้าระวังโดยโทรศัพท์ (จุดเด่นยุทธศาสตร์ของพื้นที่)
1 ทุกคนเข้ามาร่วมกิจกรรมด้วยใจเพื่อให้ทรัพยากรสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ อาชีพ รายได้ดีขึ้น (ไม่ได้เข้ามาเพื่อยึดเงินผลประโยชน์ในการทำงาน) 2 มีกลุ่มองค์กรท้องถิ่น นักการเมืองท้องถิ่นทำงานยืนเคียงข้างชาวบ้านด้วยความจริงใจ อย่างต่อเนื่อง
3 มีเครือข่ายพันธมิตร นักวิชาการ ม.วลัยลักษณ์ช่วยในการหนุนเสริมเรื่องข้อมูลทรัพยากร เพื่อต่อสู่การผลักดันทั้งในระดับพื้นที่ และระดับนโยบาย (อย่างการต่อสู้กับ บ.เชฟรอน และกลุ่มเรือคราดหอย)

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

1.เครือข่ายประมงพื้นบ้านอ.สิงหนคร จำนวน 8 คน

2.เครือข่ายประมงพื้นบ้านอ.สทิงพระ จำนวน 9 คน

3.เครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา จำนวน 4 คน

4.สมาคมรักษ์ทะเลไทยจำนวน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-