รักษา"ครัวทะเล"ที่บ้านบาตู

กิจกรรมทำซั้งกอ บ้านปลา ภูมิปัญญาชาวบ้าน17 เมษายน 2559
17
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Chanokpon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อฟื้นฟู ดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ระบบนิเวศชายฝั่งอุดมสมบูรณ์ขึ้น และลดสาเหตุการตายของพะยูน 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นัดรวมกันที่อ่าวบาตู มีทีมประมงพื้นบ้าน ทีมสภาผู้นำ และเยาวชน จำนวน 30 คน บังแอน ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงวัตถุประสงค์การทำซังกอให้กลุ่มเยาวชนได้เข้าใจ และเห็นประโยชน์ โดยการทำซังกอมีวัตถุประสงค์หลักๆ เพื่อรณรงค์ เสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกติกาการดูแล รักษาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อฟื้นฟู ดูแล บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้ระบบนิเวศชายฝั่งอุดมสมบูรณ์ขึ้น และรักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชนโดยมีกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลอันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อเป็นสื่อแห่งการร่วมมือและการเรียนรู้กิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมระหว่างหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนกับชุมชน และเพื่อลดอัตราการตายของประชากรพะยูน ทำกิจกรรมจำนวน 2 วัน ดังนี้

  • กิจกรรมวันที่ 1

  1. ประชุมเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มกิจกรรมวางซั้งกอ
  2. จัดเตรียมอุปกรณ์ในการทำซั้ง ได้แก่ ไม่ไผ่ แท่งปูน เชือก ทางมะพร้าวสำหรับการทำซั้ง 10 อัน
  3. เริ่มทำซั้งกอ โดยใช้แท่งปูนน้ำหนักกว่า 400 กิโลกรัมเป็นฐานล่าง ใช้ไม้ไผ่และทางมะพร้าว มาผูกเป็นแพ หรือมัดเป็นกอง เพื่อนำไปจมบริเวณริมคลองและชายฝั่งทะเลให้สัตว์น้ำเข้ามาหลบซ่อนหรือกินซากเน่าของกิ่งไม้ที่เน่าเปื่อย
  • กิจกรรมวันที่ 2
  1. ทีมงานออกไปดูสถานที่จัดวางบ้านปลาจำนวน 10 จุด ซึ่งพิจารณาแล้วว่าเป็นแหล่งที่ไม่กีดขวางทางเดินเรือของชาวประมง และมีระดับน้ำลึกพอสมควร เหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของสัตว์น้ำวัยอ่อน
  2. ทีมงานช่วยกันขนย้ายซั้งกอทั้งหมดลงเรือ แล้วนำซั้ง หรือ บ้านปลาที่ได้จัดทำไว้จมลงสู่ท้องน้ำ ส่วนด้านปลายปล่อยให้กางออกคล้ายกับร่ม เพื่อช่วยเพิ่มพื้นที่หลบภัยและแหล่งอาศัยสำหรับฝูงสัตว์น้ำ และลูกปลาวัยอ่อน เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำให้เพียงพอกับความต้องการของชาวประมง และลดการใช้ประโยชน์สัตว์น้ำที่ยังโตไม่ได้ขนาด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการทำกิจกรรมซังกอ เกิดประโยชน์ ดังนี้

  1. ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศชายฝั่งมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น และเกิดกระบวนการรักษาสภาพแวดล้อมในชุมชนอย่างยั่งยืน โดยชุมชนมีส่วนร่วม "ซังกอ" แนวทางการแก้ปัญหา จึงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะคนในพื้นที่เกาะลิบงในการร่วมกำหนดกติกา กติกา และกำหนดพื้นที่การใช้ประโยชน์ และการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การบังคับใช้ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลิบง เรื่องการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน
  2. ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลอันจะนำมาซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  3. เกิดจิตใต้สำนึกจากการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาของชุมชนโดยชุมชนมีส่วนร่วม
  4. เกิดกระบวนการประสานงาน และการทำงานมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐและชุมชน ในลักษณะการบูรณาการองค์ความรู้และปฏิบัติงาน
  5. หลังจากการทำซั้งกอบ้านปลาเสร็จสิ้นในวันนี้ ทุกๆ 3 เดือน ทีมงานจะต้องดำน้ำเพื่อไปตรวจสอบซั้งที่ได้ลงไปแล้ว ว่าต้องมีการซ่อมแซมเพื่อให้ซั้งอยู่ในสภาพที่ยังใช้งานได้
  6. จากการพูดคุยสรุปงานหลังจากเสร็จสิ้นกิจกรรม ได้มีข้อคิดเห็นและข้อสรุปว่า "ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่งทำให้แหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำลดน้อยลงส่งผลต่อรายได้และวิถีชีวิตของชาวชุมชน ซั้งกอ ถือเป็นภูมิปัญญาที่ชาวบ้านนำไปใช้ในการจำลองต้นไม้กลางน้ำวางไว้กลางทะเลเพื่อเป็นแหล่งอนุบาล เป็นที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัยของสัตว์น้ำนานาชนิด และมีข้อกำหนดไว้ว่าประมงพื้นบ้านจะต้องทิ้งระยะในการจับสัตว์น้ำจากซั้งกออย่างน้อย 50 เมตร เพื่อช่วยสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้เกิดขึ้น"
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

เยาวชน 15 คน วัยทำงาน 35 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเปิดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการและทำกิจกรรมในวันเดียวกันทำให้การจัดการบริหารจัดการเรื่องเวลาของทั้งสองสิ่งในวันเดียวกันนั้นกระชั้นขึ้นมาคือเราต้องร่นเวลาลงมา แนวทางแก้ไข 1.ต้องขยายแนวทางย่อยๆออกมาโดยวางแผนแนวทางการปฏิบัติการขึ้นมา 2.เพิ่มการวางแผนเรื่องเวลาออกมาก่อนในวันประชุม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-