รักษา"ครัวทะเล"ที่บ้านบาตู

กิจกรรมประชุมเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล/จัดทำยกร่างแผนจัดการทรัพยากรฯ23 มีนาคม 2559
23
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายอิสมาแอน เบ็ญสอาด
circle
วัตถุประสงค์

วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำแผนร่างการจัดการทรัพยากรในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งถึงความจำเป็นในการจัดทำยกร่างแผนจัดการทรัพยากรฯ เนื่องจากการเกยตื้นของพะยูนในพื้นที่จังหวัดตรังที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมา ซึ่งไม่รวมจำนวนพะยูนที่เสียชีวิต โดยไม่ได้รับการรายงานอีกจำนวนหนึ่ง ส่งผลให้เครือข่ายชาวประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังร่วมมือกับมูลนิธิอันดามันมาดูแลอย่างจริงจัง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ร่วมกันร่างแผนจัดการทรัพยากร โดยนายไมตรี อินทุสุด ผู้ว่าราชการในขณะนั้น ได้ให้ความสำคัญและใส่ใจการอนุรักษ์พะยูน เต่าทะเล จะเห็นได้จากการร่วมลงนามบันทึกการร่วมมือการคุ้มครองหญ้าทะเลการอนุรักษ์พะยูน ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 18 หน่วยงาน ในวันที่ 4 กรกฎาคม 2553 โดยมีกิจกรรมเปิดป้ายแนวเขตพื้นที่อนุรักษ์พะยูน เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยว บริเวณท่าเทียบเรือบ้านเจ้าไหม นอกจากนั้นได้มีการประชุมร่วมกับผู้แทนประมงพื้นบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลายครั้ง เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหาซึ่งสิ่งที่ได้ดำเนินการไปแล้วมี 6 ด้าน ดังนี้
  • 1.ด้านการให้ความรู้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ได้มีการจัดทำหลักสูตรพะยูนศึกษาเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในสถานศึกษาต่างๆในจังหวัดตรัง โดยมีการจัดทำหลักสูตรพะยูนศึกษาโดย อาจารย์ ปราชญ์ชาวบ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • 2.ด้านการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ได้จัดให้มีการจัดทำภาพพะยูนประกอบการบรรยายนำไปติดตั้งไว้ที่สนามบินตรัง
  • 3.ด้านการรณรงค์ให้มีการติดป้ายอนุรักษ์ทะเลซึ่งเป็นอาหารของพะยูน
  • 4.ด้านการป้องกันได้มีการร่วมกันให้มีเขตอนุรักษ์พะยูน
  • 5.จังหวัดตรังร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดตรังได้มีหนังสือถึงกรมประมงขอให้มีการทำประกาศเขตห้ามเรือทุกชนิดเข้าไปในพื้นที่ชายฝั่งเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้พะยูนเป็นอันตรายจากเครื่องมือประมง อวนลาก รวมทั้งการลักลอบจับหรือทำร้าย พะยูน โลมา เต่าทะเล
  • 6.ได้มีการตั้งคณะกรรมการบริหารการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดตรัง เพื่อติดตามปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
  • ผลการดำเนินการแก้ปัญหาที่ผ่านมานับว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด เนื่องจากทุกภาคส่วนร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาและสิ่งที่สำคัญคือการสนับสนุนงบประมาณจากจังหวัดตรังเพื่อแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน และเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนควบคู่กับการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ ความเข้าใจแก่นักท่องเที่ยว เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาว อย่างไรก็ตามเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด จึงขาดแนวทางในการแก้ปัญหาในระยะยาว เปลี่ยนแปลงนโยบาย รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขาดความจริงจังในการป้องกันผู้ลักลอบการกระทำผิด ส่งผลให้มีการพบพะยูนตายอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันทางโครงการจึงอยากให้มีการฟื้นฟูการจัดทำยกร่างแผนจัดการทรัพยากรฯเพื่อเป็นประโยชน์แก่ประชาชนเกาะลิบงโดยเฉพาะบ้านบาตูได้มีความรู้ความเข้าใจและทบทวนความรู้ใหม่สำหรับผู้ที่เคยรับรู้ข่าวสารมาก่อนแล้วเพื่อเป็นการช่วยกันร่วมกันอนุรกษ์พะยูน โลมา เต่าทะเลลิบงให้อยู่คู่กับเกาะลิบงสืบไป โดยมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ดังนี้
  1. ประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลของชุมชน เพื่อนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ แผนการจัดการทรัพยากรฯ ร่วมกัน
  2. ร่วมกันวางแผนรายละเอียด ในการดำเนินโครงการ
  3. แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในส่วนต่างๆ ให้แก่สมาชิก
  • แผนการจัดการทรัพยากรอ่าวบาตูจะได้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาชุมชนเกาะลิบงเป็นแหล่งทรัพยากรที่สำคัญของประเทศ เช่น แหล่งหญ้าทะเล ป่าชายเลน แหล่งเต่าทะเล โลมาและพะยูน จะต้องมีแผนปฏิบัติการเพื่อคุ้มครองพื้นที่อ่าวบาตู
  • มีป้ายแนวเขตอนุรักษ์ที่ชัดเจนโดยความร่วมมือของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

เยาวชนจำนวน 5 คน คณะทำงาน 5 คน ผู้นำชุมชนและตัวแทนจากกลุ่มต่างๆในชุมชน 20 คน จำนวน 30 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-