ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำซั้งกอ23 มกราคม 2559
23
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

1เพื่อเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการทรัพยากร กรณีซั้งกอ และสามารถนำความรู้มาจัดการทรัพยากรได้สอดคล้องกับพื้นที่ของตน 2เพื่อการได้พบปะพี่น้องเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา มีความสุข ที่ได้ร่วมกินขนม กาแฟ ร่วมการถามการใ่ส่ใจ กับเพื่อนพ้อง ที่ส่วนใหญ่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พบปะพูดคุยกันระหว่างประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา กับประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช  พร้อมดูการต่อเรือของกลุ่มประมงพื้นบ้านฯ ท่าศาลา  แกนนำ  ,วิทยากรชาวบ้าน, เจ้าหน้าที่สมาคมรักษ์ทะเลไทย  ร่วมถ่ายทอดองค์ความรู้ประสบการณ์ การจัดการปัญหาทรัพยากรทะเล ถูกทำลาย  พร้อมให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประเด็นร่วมกัน  มีฝ่ายสรุปบันทึกประสบการณ์ องค์ความรู้ พร้อมภาพถ่ายขณะดำเนินกิจกรรม 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นางจินดา จิตตะนัง เจ้าหน้าที่สมาคมรักษ์ทะเลไทย พื้นที่อำเภอท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช กล่าวต้อนรับคณะดูงาน อย่างเป็นกันเอง ยินดีกับพี่น้องทุกคนที่มาเยี่ยมเยียนที่นี่ ก็จะได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการจัดการทรัพยากร และการจัดตั้งกลุ่มองค์กรชุมชน อย่างเป็นกันเองกับพี่น้อง ที่จะได้ซักถามแลกเปลี่ยนการบริหารจัดการของพื้นที่ประมงพื้นบ้านจ.สงขลา เช่นกันด้วย โดยวันที่ทางประมงพื้นบ้านอำเภอท่่าศาลา ในนามของสมาคมประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา จะมีแกนนำ(วิทยากร) ที่จะมาชวนคุยกับพืีน้องประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา คือ นายเจริญ โต๊ะสอ นายกสมาคมฯท่าศาลา และทีมงาน
  • กลุ่มประมงพื้นบ้านทะเลนอก นำโดยนายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ และทีม จำนวน 8 คน เกิดความรู้ประสบการณ์การจัดการทรัพยากรของประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา สถานการณ์ทรัพยากรสัตว์น้ำอดีต และปัจจุบันภาคีองค์กรทำงานร่วมกับชุมชน ปัญหา แนวทางการแก้ปัญหา กลุ่มองค์กรทุน ข้อมูล กระบวนการจัดการที่สามารถนำไปจัดการทรัพยากรทางทะเลชายฝั่งการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ได้อย่างเหมาะสม กับกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูที่ชุมชนได้ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง เช่น ซั้งกอ
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นกฏหมายประมง พรก.ประมง 2558เพิ่มเติมซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องมีส่วนได้ส่วนเสียกับประมงพื้นบ้านโดยตรง เพื่อที่จะร่วมกันขับเคลื่อนตัวกฏหมายให้สอดคล้องกับอาชีพวิถี ประมงพื้นบ้าน
  • ได้ข้อมูลองค์ความรู้การจัดการทรัพยากรฯกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ เช่น การทำเขตอนุรักษ์,การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ, การเฝ้าระวังฯ, การทำธนาคารปูม้า, และการทำซั้งกอ เป็นต้น ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์กับการจัดการพื้นที่ได้เหมาะสม
  • เกิดการเชื่อมร้อยเครือข่ายของกลุ่มประมงพื้นบ้าน ในเครือข่ายจังหวัดภาคใต้ที่เหนียวแน่น และต่อเนื่องส่ิงหนึ่งที่ทำให้ประมงพื้นบ้านมีความสุขที่ได้พบกับเครือข่าย ที่ส่วนใหญ่ก็ได้ร่วมเวทีกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูฯ กันมาบ้างมีความสุขที่ได้เห็นเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ท่าศาลา อยู่ท่ามกลางความสมบูรณ์ของสัตว์ีน้ำ อาชีพ รายได้ของชาวประมงดี มีความสุขที่อยากทำให้ทะเลชุมชนของประมงพื้นบ้าน จ.สงขลา สัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะอ่าวสทิงพระ ต.กระดังงา ต.บ่อแดง เป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน,เครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.สทิงพระ จำนวน 9 คน,ประมงพื้นบ้าน อ.สิงหนคร จำนวน 8 คน เครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลาจ.นครศรีธรรมราชจำนวน4 คน สมาคมรักษ์ทะเลไทย จำนวน2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายจำรัส หวังมณีย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-