ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

เวทีแลกเปลี่ยนทำความเข้าใจ ความคืบหน้าการดำเนินโครงการ การวางแผนงาน ร่วมกับเครือข่ายชาวประมงพื้นบ้าน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง18 มกราคม 2559
18
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อวางแผนการจัดการทรัพยากร การใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์ฟื้นฟู และ กฏหมายประมงที่เกี่ยวข้อง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-ผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน แกนนำเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.ระโนด อ.สทิงพระ อ.สิงหนคร และอ.จะนะ ร่วมเวทีทำความเข้าใจในพื้นที่เก่ียวกับพรก.ประมง 2558 มาตรา 34 ที่ส่งผลกับประมงพื้นบ้านโดยตรง เพราะห้ามไม่ให้ประมงพื้นบ้าน ออกทำมาหากินจากฝั่งไปเกิน 3ไมล์ทะเล หรือ 5.4 กิโลเมตร ดังนั้นทางเครือข่ายประมงพื้นบ้านจะร่วมกันยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา ให้ยกเลิก มาตรา 34 ของพรก.ประมง 2558 ร่วมกันที่ศาลากลางจังหวัดสงขลา เพื่อแสดงเจตนารมณ์ของประมงพื้นบ้าน ที่ได้รับผลกระทบ ไม่ได้มาประท้วงหรือสร้างความเสียหายต่างๆ ใดๆ ทั้งสิ้นแต่ทั้งนี้เมือพรก.ประมงฯดังกล่าว เกิดผลกระทบต่อการประกอบอาชีพทำการประมงของชุมชนประมงพื้นบ้านโดยตรง ทุกคนเห็นร่วมกันว่าเป็นปัญหาแน่ๆ ถ้าเป็นอย่างนี้จึงต้องร่วมกันยื่นหนังสือดังกล่าว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประเด็นการวางแผนการดำเนินงานโครงการ ร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.สทิงพระในการทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ คือการทำเขตอนุรักษ์ ,การปิดอ่าว, การทำซั้งกอ แต่ทั้งนี้ต้องเข้าเวทีประชุมใหญ่ร่วมกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ คือ ระโนด ,สทิงพระ และสิงหนคร ในช่วงเดือนมกราคม- กุมภาพันธ์ หรือให้ผ่านหน้ามรสุมไปก่อน
  • ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประมงพื้นบ้านโดยตรง คือ พรก.ประมง 2558โดยเฉพาะ ม.34 ที่ให้ประมงพื้นบ้านหากินจากฝั่งออกไป ไม่เกิน 3 ไมล์ทะเล หรือ 5.4 กิโลเมตรซึ่งมันขัดกับหลักความเป็นจริงที่ประมงพื้นบ้านทำมาหากินกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ กล่าวคือ ประมงพื้นบ้านสามารถออกจับปลาห่างจากฝั่ง ได้ถึง 20-30 ไมล์ทะเล ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพคลื่นลม และช่วงฤดูกาลของสัตว์น้ำ และที่ผ่านมาพื้นที่3 ไมล์ทะเลจากฝั่ง เป็นพื้นที่อนุรักษ์ฟื้นฟูของประมงพื้นบ้าน คือทำซั้งกอบ้าง ประการังเทียมบ้าง เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำบ้างการห้ามจับสัตว์น้ำนวัยอ่อน การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำบ้างเพื่อสร้างความอุดมสมบูรณ์ ปริมาณสัตว์น้ำเพิ่มมากขึ้น นั่นเอง
  • ดังนั้น พรก.ประมง 2558จึงไม่สอดคล้องกับวิถีอาชีพ ประมงพื้นบ้าน การขับเคลื่อนการยกเลิกโดยเฉพาะ มาตรา 34จึงเป็นหน้าที่ของประมงพื้นบ้านโดยตรงโดยเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดสงขลา ได้ร่วมกันยื่นหนังสือให้ยกเลิก ม.34 พรก.ประมง 2558ถึงนายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 64 คน จากที่ตั้งไว้ 85 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน, เครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.สทิงพระ ,อ.สิงหนคร, อ.จะนะ จ.สงขลา
  • หน่วยงานประมงจังหวัด
  • จังหวัด
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-พรก.ประมง 2558 มาตรา34 ออกมาโดยขาดการให้ประมงพื้นบ้านได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อมูลที่เป็นจริงสอดคล้องกับอาชีพ วิถีประมงพื้นบ้าน
-รัฐบาลควรทบทวน และยกเลิก มาตรา 34 และหากมีการออกตัว พรก.ประมง ในมาตรา 34 ขึ้นมาใหม่ควรเปิดโอกาศให้ประมงพื้นบ้านได้ให้ข้อมูล เพื่อจะไม่เกิดความขัดแย้งกับประมงพื้นบ้านอีก

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-