ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

เพื่อรณรงค์คนในชุมชน กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องส่วนร่วมการอนุรักษ์ฟื้นฟุสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน17 กรกฎาคม 2559
17
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรณรงค์คนในชุมชน กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องเข้ามามีส่วนร่วมการอนุรักษ์ฟื้นฟุสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน

2ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม

3 ผู้เข้าร่วมและคนในชุมชนร่วมกันเก็บขยะริมหาด

4อาหารเที่ยง,กาแฟ น้ำขนม

5สรุป,วางแผนกิจกรรมครั้งต่อไป

6จัดทำเอกสารรายงาน การเงินที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ลักษณะกิกรรมผู้เข้าร่วมรับฟังการทำความเข้าใจการดำเนินงานโครงการกิจกรรมวันนี้ และกิจกรรมโดยรวม เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้ และได้เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมโครงการเพราะทุกกิจกรรมไม่ว่าเป็นเวทีประชุม หรือปฏิบัติการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในชุมชน ล้วนเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม คือคนในชุมชน และที่เกี่ยวข้อง โดยนายหม๋าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่าวันนี้ตนได้ประสานให้คนในชุมชนโดยเฉพาะชาวประมง กลุ่มเยาวชนโรงเรียนสทิงพระวิทยา จำนวน 12 คน เพื่อให้พวกเขาได้เข้ามามีส่วนร่วม ได้เรียนรู้เพื่อเกิดความรักทรัพยากร สิ่งแวดล้อมท้องถิ่นของตนและกลุ่มชาวประมงในละแวกใกล้เคียงที่ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในทะเล คือสัตว์น้ำ และใช้ประโยชน์จากบนพื้นดิน หาดทราย ได้มาร่วมกันทำความสะอาดชายหาดทะเลบ้านเรา เพื่อให้มีความสะอาด ทั้งหาดทรายอากาศที่ดี เมื่อสิ่งแวดล้อมดี สุขภาพจิต สุขภาพกายก็ดีตาม คนในชุมชนก็จะมีความสุข

ในวันนี้ในวงคุยเพื่อทำความเข้าใจเรื่องการดำเนินงานโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวด่ล้อมดีที่บ้านพังสายทุกคนจะได้รู้เข้าใจ และเข้ามาร่วมกับการดำเนินงานโครงการฯ ได้อย่างภาคภูมิใจประเด็นหลักๆ ในชุมชนที่ต้องการให้ทุกคนช่วยกันคือ

1.การประกอบอาชีพ รายได้ของชาวประมงลำบากมากเพราะตั้งแต่มีการขุดเจาะน้ำมันในทะเลหน้าบ้านตั้งแต่ปี 2551 สัตว์น้ำลดน้อยลงตามลำดับโดยเฉพาะตั้งแต่ปี 2555 ถึงปัจจุบัน สัตว์น้ำลดลงอย่างรุนแรง ออกทำประมงมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 300-500 บาท แต่ต้นทุการทำประมงไม่ได้ลดน้อยลง แต่กลับยิ่งเพิ่มขึ้นจากชาวประมงต้องออกไปจากฝั่งไกลขึ้น30-40 กิโลเมตรก็อยากให้ทุกคนได้ตระหนักในเรื่องนี้ได้ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ

2.สิ่งแวดล้อมในชุมชนอยากให้ทุกคนสร้างนิสัยการรักความสะอาดทิ้งขยะให้เป็นทีีชุมชนเราขยะมีตลอดบริเวณชายหาด บ้างก็เป็นขยะที่เกิดจากคนในชุมชน เกิดจากคนภายนอก หรือขยะที่ลอยมาจากทะเลบ้าง
วันที่เกิดการเข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมดังกล่าว จำนวน 121 คน ทั้งกลุ่มผู้สูงอายุ คนหนุ่มสาวกลุ่มเยาวชน ที่ทางผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ประสานไปยังโรงเรียนสทิงพระวิทยา เพื่อให้เยาวชนได้เข้ามาร่วมกิจกรรมดังกล่าวกับผู้ใหญ่ การเก็บขยะชายหาด ตลอดแนวถนนริมทะเล ระยะทางไม่น้อยกว่า 200 เมตรเกิดความสะอาดน่ามองนาอยู่

-จากกิจกรรมนี้สามารถต่อยอดเกิดกลุ่มเยาวชนที่ได้เข้ามาเรียนรู้ ร่วมทำกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ต่อยอดกับกลุ่มเครือข่ายประมงพื้นที่ละแวกใกล้เคียง โดยเฉพาะเครือข่ายประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ คือ อำเภอระโนด,อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนคร ที่สามารถร้อยเชื่อมทำงานร่วมกันได้ต่อเนื่องการทำงานต่อยอดกับองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ประมงอำเภอสทิงพระ , สมาคมรักษ์ทะเลไทย เป็นต้น

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 121 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย

-คณะทำงาน จำนวน 6 คน

-เครือข่ายชาวประมง จำนวน 102 คน

-เยาวชน จำนวน 12 คน

-พี่เลี้ยงผู้ติดตาม จำนวน 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายจำรัส หวังมณีย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-