ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

การให้ข้อมูลการจัดการทรัพยากร สร้างความตระหนักการเข้ามาจัดการร่วมกันของชุมชน22 กรกฎาคม 2559
22
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชุมชนรับรู้ข้อมูลและเข้ามามีส่วนร่วมการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1ลงทะเบียน

2ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม

3 ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการทรัพยากร

4อาหารเที่ยง,กาแฟ น้ำขนม

5สรุป,วางแผนกิจกรรมครั้งต่อไป

6จัดทำเอกสารรายงาน การเงินที่เกี่ยวข้อง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

      นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ และแกนนำสนับสนุนการดำเนินงาน ได้พูดคุยประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการทำกิจกรรมในช่วงเดือนกรกฏาคม-สิงหาคม 2559 ที่ค่อนข้างถี่ก่อนปิดโครงการ ส่งเอกสารรายงาน ในเดือนตุลาคม 2559  ซึ่งตนต้องขอขอบคุณพี่น้อง คนในชุมชนที่ได้ให้ความสำคัญ และเข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการอย่างดี  วันนี้ประเด็นการถ่ายทอดความรู้คืนข้อมูลการจัดการทรัพยากรให้กับชุมชนนั้น  ดังที่รู้ๆ กันอยู่แล้วว่าชุมชนบ้านพังสาย ส่วนใหญ่คนประกอบอาชีพประมงมาตั้งแต่บรรพบุรุษ แต่ก็เกิดปัญหาจุดเริ่มต้นสาเหตุที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลลดลง คือการเริ่มขุดน้ำมัน ปี 2551 ในทะเลหน้าบ้านห่างจากฝั่งออกไปประมาณ 15-35 กิโลเมตร  ซึ่งจุดนั้นเป็นพื้นที่ทำการประมงของพวกเรา  แท่นขุดเจาะเพิ่มจาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 3 และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นอีก  ซึ่งในช่ว2-3 ปีของการขุดเจาะคือ ปี 2551-2554 ยังพอมีสัตว์น้ำได้จับกันได้บ้าง แต่หลังจากนั้นสัตว์น้ำลดลงเรื่อยๆ จนลดลงอย่างรุนแรงในปัจจุบัน
    นายวิรัตน์ เอียดประดิษฐ์  แกนนำชาวประมงสนับสนุนการดำเนินงานโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดีที่บ้านพังสาย  บอกว่าตนประกอบอาชีพประมงส่งลูกเรียนจนจบปริญญาตรี ในปี 2554  ตนคิดว่าถ้าลูกไม่จบก่อนปี 2554 ตนไม่สามารถมีรายได้จากทำประมง ส่งลูกเรียนให้จนปริญญาได้แน่นอน เพราะสัตว์น้ำลดลงอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน    จนชาวประมงหลายๆ คนต้องหยุดทำประมง บ้างก็เปลี่ยนไปทำงานรับจ้างนอกชุมชน
นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการฯ  บอกว่าอาชีพประมงพื้นบ้านพังสาย  หากย้อนไปก่อนไม่มีการขุดเจาะน้ำมัน สัตว์น้ำชุกชุมมาก  ออกทะเลแต่ละครั้งมีรายได้ 5000-10,000 บาทต่อลำเรือ  อย่างที่แย่ๆ แล้วจับสัตว์น้ำได้น้อยก็มีรายได้ 1,500- 3,000 บาท  แต่ในปัจจุบันออกทำประมงแต่ละครั้งมีรายได้ประมาณ 300-800 บาทไม่พอค่าน้ำมันเรือ  ค่ากิน หรือแบ่งปันให้กับญาติๆ ที่ออกไปทำประมงช่วยกัน     แกนนำผู้เฒ่าชาวประมงพื้นบ้านหลายๆ คนไม่ยอมแพ้กับปัญหาที่เกิดขึ้น การเรียกร้องให้บริษัทที่ขุดเจาะน้ำมันชดเชยรายได้ให้กับประมงพื้นบ้าน  จนประสบผลสำเร็จบริษัทขุดเจาะน้ำมันยอมชดเชยรายได้ให้กับประมงพื้นบ้านถึงจำนวนเงินไม่มาก แต่ก็ยังดีกว่าบริษัทไม่รับผิดชอบใดๆ  โดยได้ค่าชดเชยรายได้ให้กับชาวประมงจำนวนเงิน 1600 บาทต่อลำเรือ ต่อเดือน  โดยเริ่มชดเชยให้กับชาวประมงพื้นบ้าน ในปี 2552 มาจนถึงปัจจุบัน
    ด้านสิ่งแวดล้อม ขยะส่วนใหญ่ริมชายหาดก็มาจากทะเลในช่วงมรสุม    และมีขี้น้ำมัน จากการขุดเจาะน้ำมันในทะเล ที่กระแสน้ำพัดพามาริมหาด มีความสกปรก เหม็น    หลายๆ กิจกรรมที่ประมงพื้นบ้านเข้าร่วมผลักดันการแก้ไขปัญหาทั้งในระดับพื้นที่และระดับนโยบาย เช่น  การปิดท่าเรือน้ำลึกปี 2551 กดดันบริษัทที่เกี่ยว่ข้องที่ทำลายทรัพยากรระบบนิเวศ สัตว์น้ำลดลง ชาวประมงเดือดร้อน  หรือ การยื่นหนังสือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพระราชกำหนดประมง 2558 ที่มีเนื้อหาสาระ ในแต่ละมาตรา ที่ไม่สอดคล้องกับวิถี อาชีพ การพึ่งพา การจัดการทรัพยากรของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 138 คน จากที่ตั้งไว้ 150 คน
ประกอบด้วย

แกนนำชุมชน, คณะทำงาน ,เครือข่ายชาวประมงในชุมชน และละแวกใกล้เคียง .คณะกรรมการ สมาชิก สมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อ.สทิงพระ 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายจำรัส หวังมณีย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-