ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

จัดทำข้อมูลชุมชน การจัดการทรัพยากร เผยแพร่ชุมชน สาธารณะชนฯ1 สิงหาคม 2559
1
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการจัดการทรัพยากร สิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านพังสาย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

หม๊าด มรรคโช ผูัรับผิดชอบโครงการ และคณะทำงาน ตั้งวงคุย แลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วม นั่งคุยกัน กินขนม กาแฟ กันไปตามอัธยาศัย  เพื่อระดมความคิดเห็นข้อมูลการจัดการทรัพยากร และสิ่งแวดล้อมในชุมชน  สรุปประเด็นข้อมูล ถ่ายภาพ  จัดทำเอกสารข้อมูล  และเอกสารค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง และจัดทำรายงานส่ง สสส.ต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประเด็นแลกเปลี่ยนข้อมูลการจัดการทรัพยากร ของชุมชนบ้านพังสาย ที่มีการจัดการทำงานหนุนเสริมร่วมกับกลุ่มประมงพื้นบ้าน อ.ระโนด อ.สทิงพระ และ อ.สิงหนคร มาอย่างต่อเนื่องการจัดการทรัพยากร การอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำในทะเล เป็นกิจกรรมที่ประมงพื้นบ้านร่วมกันขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 10 ปีโดยเฉพาะปัญหาการลดลงของสัตว์น้ำ ที่ส่งผลกระทบโดยตรงกับความเป็นอยู่ของครอบครัวทะเลที่เคยอุดมสมบูรณ์ต้องมาเปลี่ยนแปลง จากการขุดเจาะน้ำมันในทะเลในปี 2551ที่แท่นขุดเจาะเข้ามาใกล้ฝั่งทุกๆที คือประมาณ 15-30 กิโลเมตร จากฝั่ง (ซึ่งพื้นที่ตั้งแท่นขุดเจาะน้ำมันดังกล่าว แต่ก่อนเป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำที่ชุกชุม)โดยที่ประชุมการระดมความคิดข้อมูลสัตว์น้ำแต่ละชนิด ช่วงฤดูกาลจับ ปริมาณ ราคาสัตว์น้ำการเปรียบเทียบย้อนไป 10 ปี ก่อนและหลังการขุดเจาะน้ำมันทะเลอ่าวไทยพื้นที่ตำบลกระดังงา ตำบลบ่อแดง อำเภอสทิงพระได้รับผลกระทบจากการขุดเจาะน้ำมันที่ส่งผลให้สัตว์น้ำหนีหาย ลดลงอย่างรุนแรงอาชีพประมงสร้างรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในครอบครัวแต่ละวันชาวประมงส่วนหนึ่งก็ทนไม่ได้กับสภานการณ์ไม่มีสัตว์น้ำให้จับ ต้องปรับเปลี่ยนอาชีพ ไปทำงานรับจ้างภายนอกชุมชนแต่ก็มีชาวประมงอีกจำนวนหนึ่งซึ่งมากกว่ากลุ่มแรก ที่ยังรักมีความสุขที่ได้ประกอบอาชีพ ได้อยู่กับครอบครัว ได้พบปะเพื่อนชาวประมงด้วยกันในแต่ละวันพวกเขาเหล่านี้ได้ร่วมกับเครือข่ายประมงพื้นบ้าน 3 อำเภอ คือ อำเภอระโนด,อำเภอสทิงพระ และอำเภอสิงหนคร ที่ได้รวมกันขับเคลื่อนผลักดันการแก้ไขช่วยเหลือปัญหาของพวกเขา ร่วมกัน คือทรัพยการสัตว์น้ำลดลง ทรัพยากรทะเล ระบบนิเวศเสื่อม จากการขุดเจาะน้ำมันพวกเขารวมตัวกันผลักดันบริษัทผู้ได้รับสัมปทานขุดเจาะน้ำมัน ให้ชดเชยความเสียหายต่ออาชีพ รายได้ของชาวประมง นี่เป็นหนทางเดียวที่พอจะได้รับการช่วยเหลือเยียวยา รับผิดชอบของบริษัทขุดเจาะ โดยพวกเขาได้รับการชดเชยต่ออาชีพ รายได้ ที่ต้องสูญเสียไป ให้เรือประมงลำละประมาณ 1700 บาทต่อเดือนซึ่งเงินจำนวนนี้ชาวประมงบอกว่ามันไม่พอกับรายจ่ายในครัวเรือนเลยเพราะหากเปรียบเทียบกับทะเลตอนไม่มีการขุดเจาะน้ำมันพวกเขาออกทะเลแต่ละครั้งได้วันละ 3,000-4,000 บาท เป็นอย่างต่ำ แต่มาถึงปัจจุบันต้องยอมกับรับกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ หม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ ยังให้ข้อมูลเรื่องการผลักดันการแก้ไขกฏหมายประมงที่เกี่ยวข้อง (พรก.ประมง 2558 ) ที่มีเนื้อหาสาระขัดกับวิถีอาชีพประมงพื้นบ้านอย่างสิ้นเชิงเช่น มาตรา 34 ห้ามไม่ให้ประมงพื้นบ้านออกทำการประมงจากฝั่งเกิน 3 ไมล์ทะเล หรือ 5.4 กิโลเมตรซึ่งความเป็นจริงพวกเขาออกทำการประมงตั้งแต่บรรพบุรุษ ออกจากฝั่งไปไกลถึง 20-30 ไมล์ ซึ่งจากการเข้าร่วมยื่นหนังสือการแก้ไขพรก.ดังกล่าวกับเครือข่ายประมงพื้นบ้านจังหวัดสงขลา พวกเขาเป็นกลุ่มประมงพื้นบ้านที่มีความเข้มแข็ง มีการพบปะพูดคุยงานอนุรักษ์ฟื้นฟู การผลักดันการแก้ปัญหาระดับนโยบายทุกคนมีแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำต่อเนื่อง ไม่ว่าการทำซั้งกอ การระดมทุนช่วยเหลือกลุ่มแกนนำ สวัสดิการช่วยเหลือเครือข่ายประมงพื้นบ้านและการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพร่วมกันเครือข่าย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องงานอนุรักษ์ฟื้นฟูฯ อยู่ในหัวใจของพวกเขาตลอดเวลา และมีความหวังร่วมกันว่าซักวันสัตว์น้ำทะเลหน้าบ้านจะกลับมาอุดมสมบูรณ์ ให้พวกเขามีความสุขกับอาชีพ รายได้อยู่ภายใต้สิ่งแวดล้อม ครอบครัวที่อบอุ่นตลอดไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ สมาชิกสมาคมประมงพื้นบ้านชายฝั่งอ่าวไทย อ.สทิงพระ,คณะทำงาน ,แกนนำในชุมชน,
เครือข่ายประมงพื้นบ้าน อ.สทิงพระ ,อ.ระโนด,อ.สิงหนคร

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-