ชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากร สิ่งแวดล้อมดี ที่บ้านพังสาย หมู่ 7 ต.กะดังงา อ.สทิงพระ จ.สงขลา

การประเมินผลการดำเนินงานครั้งที่ 330 สิงหาคม 2559
30
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย wangmanee
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างกลไกการบริหารจัดการทรัพยากร แลกเปลียนเรียนรุ้ร่วมหน่วยงาน และเครือข่ายอย่างมีส่วนร่วม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ลงทะเบียน

  2. ประเด็การแลกเปลียน

  3. ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนการประเมินผลการดำเนินงาน

  4. อาหารเที่ยง

  5. สรุปบันทึก

  6. จัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องประกอบการรายงาน สสส.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สาระสำคัญของการประเมินผลการดำเนินงานโครงการครั้งที่ 3  โดยรวมการดำเนินงานโครงการชุมชนน่าอยู่ฟื้นฟูทรัพยากรสิ่งแวดล้อมดีที่บ้านพังสาย เป็นไปได้ด่วยดีจากความร่วมมือของพี่น้องคนในชุมชน และเครือข่ายชาวประมงในละแวกใกล้เคียง ที่มีการรู้จัก สนิทสนม การทำงานร่วมกันอย่างต่อเนื่องกับ นายหม๊าด มรรคโช ผู้รับผิดชอบโครงการ  ทำให้การทำกิจกรรมแต่ละครั้งมีคนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นอย่างดี  มีการประชุมคณะทำงานวางแผนการทำกิจกรรมในทุกๆเดือน โดยต้องทำกิจกรรมที่ค่อนข้างกระชั้นชิด ทั้งนี้สืบเนื่องจากการได้รับเงินอุดหนุนในงวดที่ 2 ล่าช้า แต่ก็ไม่มีปัญหาเรื่องการจัดเวทีกิจกรรม  โดยได้คุยกันว่าต้องจัดเวทีกิจกรรมให้แล้วเสร็จต้นเดือนกันยายน 2559 เพื่อที่จะมีเวลามานั่งดูรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เช่น รายงานกิจกรรม ใบลงทะเบียน ผู้เข้าร่วม เนื้อหา รูปภาพประกอบ  เอกสารค่าใช้จ่ายในแต่ละหมวดถูกต้องไหม เพื่อให้มีความถูกต้องก่อนส่ง สสส.  แต่ทั้งนี้ผู้รับผิดชอบโครงการ ก็ยังต้องพูดคุยทำความเข้าใจกับบางคนในชุมชน(ส่วนน้อย)ที่ยังไม่เข้าใจการดำเนินงานโครงการ  จึงต้อมมีเวทีพูดคุยการบริหารจัดการโครงการ โดยเฉพาะการอธิบาย การจัดการงิน ความถูกต้องโปร่งใส ให้กับคนที่กังวลหรือไม่เข้าใจ  และก็สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ จากเวทีพูดคุยทำความเข้าใจ    ในที่ประชุมมีข้อสรุปร่วมกันว่า การอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน ต้องร่วมกันทำอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้นว่าโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส.จะสิ้นสุดในเดือนกันยายน -ตุลาคม 2559 นี้  ซึ่งงานอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำ ทุกคนทุกฝ่ายต้องร่วมกันกัน ทำกิจกรรมที่จะให้สัตว์น้ำเพิ่มปริมาณ  เช่น การทำซั้งกอ  วางปะการังเทียม  จัดทำเขตอนุรักษ์ฟื้นฟูสัตว์น้ำวัยอ่อน ซึ่งต้องทำร่วมกันเป็นเครือข่ายกลุ่มชาวประมง 3 อำเภอ คือ(ระโนด,สทิงพระและสิงหนคร)  เป็นต้น  ส่วนงานด้านสิ่งแวดล้อม  ผู้รับผิดชอบโครงการได้ประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนโดยเฉพาะที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ริมฝั่งทะเล ให้ทุกคนต้องมีสำนึก มีระเบียบ ในการคัดแยกขยะ  การทำลาย  ที่ถูกต้อง ไม่ทิ้งหรือวางขยะ บริเวณริมหาด ทั้งนี้เพื่อสร้างความสะอาด ความสวยงามให้กับคนในชุมชน และนักท่องเที่ยว   

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน แกนนำชาวประมงหนุนเสริมกิจกรรม เครือข่ายชาวประมง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
จำรัสหวังมณีย์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-