เกษตรอินทรีย์บนความพอเพียง บ้านสหกรณ์

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ปฏิบัติการชุมชนน่าอยู่ ชุมชนสามารถจัดการตนเอง ต้นแบบชุมชนไม้เรียง10 กุมภาพันธ์ 2559
10
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสุพล เกตุแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

คนมีความตระหนักในการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ตามแนวเศรษฐกิจเพอเพียง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นัดรวมเวลา 07.00 น. เดินทางไปบ้านไม้เรียง เริ่่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับแกนนำศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนไม้เรียง กล่าวต้อนรับโดย ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไม้เรียง ได้แนะนำ ชุมชนได้ทำงานร่วมกับโรงเรียนเป็นโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียงครบวงจร เช่น เลี้ยงปลาปลูกผัก เพื่อปลูกฝังให้เด็กได้ศึกษา
  • อ.ประยงค์ รณรงค์ กล่าวต้อนรับและเป็นผู้ริเริ่มพึ่งตนเอง แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การจัดทำแผนชุมชน และเล่าเรื่องสร้างชุมชนน่าอยู่ไม้เรียง การแก้ปัญหาและสร้างความเข้มแข็งชุมชน เชื่อว่าปัญหาทุกปัญหาแก้ได้โดยการขยันอดทนต่อการแก้ปัญหาใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาได้ถาวร
  • แลกเปลี่ยนเรื่องราคายางพารา
  • ผู้ใหญ่บ้านม.8 กล่าวขอบคุณทางศูนย์เรียนรู้และมอบของขวัญที่ระลึก
  • บ่ายลงเยี่ยมจุดสาธิตของแปลงเรียนรู้เรื่องของปลูกพืชหลากหลายมีการคัดพันธ์และขยายพันธ์ศูนย์รวบรวมกล้าไม้ของตำบล การปลูกผักข้างบ้าน
  • สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ความรู้เรื่องแนวคิดการพึ่งตนเอง จากการพูดคุยกับลุงประยงค์ รณรงค์ ว่า การทำเกษตรโดยหลีกเลี้ยงการใช้สารเคมีและสามารถพึ่งตนเองได้ ชุมชนรู้ปัญหาของชุมชน คือ ความไม่รู้ แนวทางแก้ปัญหาจึงเน้นการให้ความรู้แก่คน รวบรวมคนที่มีความรู้ในตำบล และหน่วยงานมาแลกเปลี่ยนให้ความรู้นำความรู้มาใช้ร่วมเดินไปพร้อม ๆ กันเพื่อพัฒนาชุมชนไปในแนวทางเดียวกัน และสามารถทำได้ไม่เกินความสามารถของตนเอง ด้วยการทำแผนชุมชนถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง ต้องนำมาปฏิบัติด้วย เหตุผลประกอบการตัดสินใจคือ1.รู้จักตัวเอง2.รู้จักประมาณตน 3.รู้จักข้อมูลวิเคราะห์ข้อมูล เงื่อนไขความรู้ รอบรู้ รอบคอบ ความซื่อสัตย์สุจริตทรัพยากรบุคคลขยันอดทนและตั้งใจแก้ปัญหา
  • การสร้างความเข้มเข้มแข็งจะต้องแบ่งปัน เป็นการสร้างที่อยู่ถาวรและยั่งยืนชุมชนไม้เรียงมี 10 หมู่บ้าน มีแกนนำคน 20 เปอร์เซ็นต์ที่เห็นร่วมลงมือทำเห็นผลมาช่วยกันทำ อีก 65 เปอร์เซ็นต์ คอยจับตามองถ้าไม่สำเร็จคอยซ้ำเติมแต่ถ้าสำเร็จมีคนที่สนใจเพิ่มมาอีก 15่ เปอร์เซ็นต์
  • ข้อเสนอแนะได้ต้องรอให้คนส่วนใหญ่พร้อมแต่เริ่มจาก20 เปอร์เซ็นต์ ที่เห็นด้วยมาลงมือทำวางแผนให้รอบคอบเริ่มต้นในช่วงที่ชาวบ้านกำลังเดือดร้อน
  • แลกเปลี่ยนสถานการณ์ยางยางราคาถูกในอาเชียมีการปลูก 30 ประเทศ จีนปลูกได้เองแนวโน้มในอนาคตยางจะสูงขึ้นอีก 5-6 ปี ประมาณ กก.ละ 60-70 บาท ปรับเปลี่ยนปลูกยางแซมพืชอื่นไม่พึ่งยางอย่างเดียว ปรับปลูกยางไร่ละ 40ต้นปลูกห่างกัน 9 เมตร x 4 เมตรระหว่างแซมกล้วยผลไม้ไม้กินได้ ผักเหรียง ยางมีอายุ 2 ปีปลูกไม้ยืนต้นแซม
  • แหล่งเรียนรู้มีคนจัดการ 3 คนมีการบริหารจัดการทำให้ศูนย์เรียนรู้ยืนได้ด้วยตนเองกลุ่มต่าง ๆ ทำได้เองอย่างอิสระ ไม่ได้ขึ้นกับศูนย์เรียนรู้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 41 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานจำนวน 15 คน อบต.1 คนสมาชิกในหมู่บ้าน 25 และพี่เลี้ยง 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญหา

  1. ไม่ได้ลงแปลงพืชร่วมยาง
  2. การแลกเปลี่ยนไม่ตรงตามเวลาที่กำหนดไว้
  3. มีรูปถ่ายน้อยมาก เนื่องจากไม่ได้เตรียมการเรื่องการถ่ายรูป

แนวทางแก้ปัญหา

1.เตรียมการและกำหนดความสำคัญในการแลกเปลี่ยน ในการปรับกกำหนดการสอดคล้องกับเหตุการ ถั่วเฉลี่ยงบอาหารจากกิจกรรมอื่น 2.ครั้งหลังต้องมอบหมายให้มีคนถ่ายรูปเฉพาะ จะได้มีรูปใส่ในกิจกรรม ไม่กระจัดกระจาย

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.จุฑาธิป ชูสง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-