แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต
ตัวชี้วัด : 1) มีการประชุมสภาทุกเดือนร่วมกัน และมีจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และประชุมหารือการดำเนินงานโครงการและอื่นๆอย่างต่อเนื่อง 2) ผู้เข้าร่วมโครงการมีแผนปฏิบัติการ ความคิด การจัดการครอบครัวของตัวเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและรู้วิธีทำให้สภาวะของครอบครัวดีขึ้น

 

 

เกิดทีมสภาผู้นำ ผุ้เข้าร่วมประชุมร้อยละ 100 เกิดกลุ่มอนุรักษ์บ้านวังทอง ที่ทำในเรื่องการดูแลป่าต้นน้ำและความปลอดภัย ยังไม่มีโครงสร้างที่ชัดเจน

2 เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนและนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์
ตัวชี้วัด : 1.มีฝายต้นน้ำจำนวน 4 จุด ทำให้มีน้ำในการบริโภคและทำการเกษตรเพียงพอ 2.มีกติกาชุมชนร่วมกันในการบริหารจัดการน้ำ

 

 

เกิดฝายน้ำล้นที่สามารถกักเก็บน้ำจำนวน 4 จุดของคลองหนองเงินและซอยสี่ไว้ใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ในช่วงหน้าแล้ง 50ครัวเรือน

3 เพื่อพัฒนาของเยาวชนและประชาชนในการเรียนรู้ความพอเพียง
ตัวชี้วัด : 1. มีเวทีการเรียนรู้และแก้ปํญหาและสามารถมาดูบ้านต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ 2. ร้อยละ 80 ของประชาชนรู้และเข้าใจถึงภัยต่อสุขภาพและแก้ไขด้วยตัวเองเป็น 3. ร้อยละ 80ของประชาชนร่วมมือกันออมและทำบัญชีครัวเรือน 4. ครัวเรือนที่ทำให้หนี้สินลดลงไม่น้อยกว่าร้อยละ80

 

 

มีกติกาที่ทุกคนที่อยู่ริมคลองต้องดูแลรักษาความสะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อยอย่างสมำ่เสมอและต่อเนื่อง ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ปลูกเพิ่มเติม และร่วมกันพัฒนาชุมชนในวันสำคัญๆเช่นวันเฉลิมพระชนม์พรรษา วันต้นไม้และสิ่งแวดล้อมโลก เป็นต้น

4 เพื่อพัฒนากลไกการบริหารจัดการขับเคลื่อนชุมชนคนรักบ้านวังทอง
ตัวชี้วัด : 1. มีกลุ่มเกษตรพอเพียง 2. มีคณะทำงาน การบริหารจัดการ และการติดตามประเมินผลที่ดี 3. สามารถเป็นต้นแบบที่ดีแหละประสบความสำเร็จใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นได้

 

 

ชุมชนมีการลดการใช้สารเคมีในการเกษตรและหันมาใช้เกษตรอินทรีย์จำนวน 50 ครัวเรือน

5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

เข้าร่วมประชุมกับ สจรส.ม.อ.ทุกครั้ง มีการจัดทำป้ายงดสูบบุหรี่ 1 ป้าย ทำให้ไม่มีการสูบบุหรี่ในช่วงที่ทำกิจกรรม และส่งรายงานให้ สสส.ได้ทันในเวลา