แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง

ชุมชน ชุมชนบ้านวังทอง หมู่ที่ 8 ตำบลทะเลทรัพย์ อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

รหัสโครงการ 58-03814 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2079

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปฐมนิเทศโครงการใหม่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

อ.พงศ์เทพได้พูดถึง การลงข้อมูลใน Web site

  1. ปรับตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
  2. ปรับกิจกรรมให้ตอบตัวชี้วัด
  3. กิจกรรมที่ต้องลง ได้แก่ กิจกรรมปฐมนิเทศ การประชุมชี้แจงชุมชน ซึ่งควรมีกรรมการหมู่บ้านเข้าร่วมด้วย และต้องมีการรายงานผลการดำเนินงานกับที่ประชุมและต้องแนบรายงานของคณะกรรมการหมู่บ้านชุมชน
  4. การลงกิจกรรมของพี่เลี้ยงการปิดงวดแรกและการสังเคราะห์กิจกรรมโครงการ รวมถึงการทำรายงาน
  5. การให้ สจรส.ช่วยตรวจสอบหลักฐานการเงิน
  6. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่วิทยากร พี่เลี้ยง และผู้รับทุนจากโครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ทุกท่านทั้ง 14 จังหวัดภาคใต้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เข้ารับการปฐมนิเทศโครงการโดยสจรส.มอ พี่เลี้ยงโครงการ และ ตัวแทนจากสสส.

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครงการ 3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรื่องเกี่ยวกับเอกสารเงิน อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลลงในเวปไซด์ ผู้รับผิดชอบโครงการเกิดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดทำรายงานของโครงการที่รับผิดชอบ

 

2 2

2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อใช้ประกอบการจัดกิจกรรมเวทีประชุมต่าง ๆ ของโครงการที่จัดขึ้น

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีป้าย จำนวน 1 ป้าย ใช้ประกอบการจัดกิจกรรมเวทีประชุมต่าง ๆ ของโครงการที่จัดขึ้น ส่งผลให้ผู้ร่วมกิจกรรมกับโครงการเมื่อได้เห็นป้าย อย่างน้อยก็ได้อ่าน และเกิดความคิดว่า การสูบบุหรี่เป็นสิ่งไม่ดี ส่งผลต่อสุขภาพ และเก็บไปคิด หากยังเลิกไม่ได้ในวันนี้ ก็สามารถที่จะบอกต่อลูกหลานได้ว่า ไม่ควรหัดสูบบุหรี่

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายตามแบบที่ สสส.กำหนด โดยมีคำว่า "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่"

กิจกรรมที่ทำจริง

โครงการจัดทำแบบป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ที่ทาง สสส.กำหนด ไปให้กับโรงพิมพ์ เพื่อพิมพ์ และโครงการนำไปใช้เมื่อจัดกิจกรรมตามที่โครงการกำหนด

 

2 2

3. ประชุมชี้แจงโครงการให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ

วันที่ 5 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลผลิต-ประชาชนเข้าร่วมประชุมรับฟังการชี้แจงโครงการจำนวน 100 คน ผลลัพธ์-ประชาชนมีความเข้าใจและสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทั้งในส่วนของคณะทำงานผู้ร่วมกิจกรรม

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชุมชี้แจงโครงการให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงที่มา วัตถุประสงค์ กิจกรรมดำเนินการ และการติดตามประเมินผลให้ประชาชนทราบ มีการ รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีการ แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการและคณะทำงาน พี่เลี้ยงโครงการร่วมชี้แจงโครงการให้กับชุมชน ผู้นำชุมชน แกนนำกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมได้รับทราบทั่วกันเกี่ยวกับที่มาที่ไปของโครงการ ที่ทางคุณอนันต์ นาคสังข์ ได้รับทุนมาจาก สสส. และ สจรส.มอ.

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.1 ประชุมชี้แจงโครงการให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงที่มา วัตถุประสงค์ กิจกรรมดำเนินการ และการติดตามประเมินผลให้ประชาชนทราบ 1.2 รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรม 1.3 แต่งตั้งคณะกรรมการโครงการและคณะทำงาน

กิจกรรมที่ทำจริง

ติดต่อประสานงานผู้เข้าร่วมกิจก่รรม
ประสานงานพีเลี้ยงเปิดโครงการ จัดประชุมตามเป้าหมายที่กำหนดตามขั้นตอน โดยทางผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ ที่ทาง สสส.ให้การสนับสนุนโครงการ "บ้านวังทองน่าอยู่ด้วยวิถีพอเพียง" และทางพี่เลี้ยงโครงการได้ร่วมชี้แจงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับกฎ กติกา และระเบียบต่าง ๆ ที่ทาง สจรส.มอ. และ สสส.กำหนดไว้ ซึ่งผู้รับสัญญาได้แก่ นายอนันต์นาคสังข์ เป็นผู้รับทุน ซึ่งทางผู้ใหญ่บ้านก็ได้รับทราบและรับรู้กระบวนการของโครงการทุกอย่างแล้ว และมีคณะทำงานของโครงการที่จัดตั่งเรียบร้อยแล้ว

 

65 36

4. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน ตุลาคม 2558

วันที่ 12 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลผลิต-ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 25 คน ร่วมประชุมกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 12 ครั้ง ผลลัพธ์-ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ทำความเข้าใจโครงการ และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดกลุ่มสภาผู้นำเพื่อหาแนวทางในการดำเนินงานตามแผนที่กำหนด ตั้งแต่การวางแผนการออม "การเก็บก่อนค่อยจ่าย" ด้วยให้ทุกคนเก็บเงินให้ใส่กระปุกออมสิน และจะเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ในกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน โดยนางพุฒิพร สังขภัณฑ์ เป็นแกนนำ และนัดประชุมครั้งต่อไป

ปัญหาในการดำเนินงาน คือ ยังมีคนส่วนน้อยที่ยังไม่เข้าใจในกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ว่าจะทำได้ แต่ก็มีการอธิบายจากผู้นำและแกนนำชุมชนว่า ไม่จำเป็นต้องทำสำเร็จทันทีทันใด แต่ถ้าชุมชนมีแนวทางการพัฒนาในทางเดียวกัน ก็จะเกิดการสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ได้ด้วย เช่น การคิด ความสามารถ รู้จักแก้ไขปัญหาร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ออกแบบการสำรวจข้อมูลชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล การร่างระเบียบ/กติกา และรายงานผลการดำเนินงานและติดตามความก้าวหน้าตลอดจนฟังข้อเสนอแนะจากทีมงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงกิจกรรมครั้งต่อไปโดยเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดประชุมชี้แจงโครงการให้ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบถึงที่มา วัตถุประสงค์ กิจกรรมดำเนินการและการติดตามประเมินผลให้ประชาชนรับทราบ
มีผู้รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน จำนวน 30 คน มีแต่งตั้งคณะทำงาน และกรรมการ เพื่อขับเคลื่อนโครงการ มีรายชื่อดังนี้ คือ 1) นายชำนาญดวงใส 2) นางชวนพิศจันทสิงห์ 3) นายเพิ่ม สังข์ทอง 4) นายสภา เครือหงษ์ 5)นางสุวรรณาพรหมเมศร์6)นางสมคิด ศรีโสภณ 7)นางจันทนาโกษเพชร 8)นางแต๋ว เพิ่มผล 9)นายอารัญ สืบเพชร 10)นายอภัย คล้อยสวาท 11)นายเฉลิมพงษ์ ช่างเสียง 12)นางสาวบุปผา บุรีแก้ว 13)นางพงพันธ์ วรรณกิจวิริยะ 14)นายบุญเติม บุรีแก้ว 15)นายหรัด ทับทิม 16)นายสมบัติ หัดไทย 17)นายสุเทพ บุรีแก้ว 18) นางอุรา เจริญจิตร์ 19)นางนุ้ย แซ่เจ็ง 20)นางมาลีศรีเมือง 21)นางพรทิพย์ จิตสาย 22)นางสาวสุปราณี ทองอาย 23)นายปรีดา ไตรามาตย์ 24)นางปราณี เรืองไชย 25)นายบัญชา อักษรศรี 26)นางพรทิพย์อักษรศรี 27)นายธีรพลขุนทอง 28)นางอารีย์บุญธรรม 29)นายรุ่งโรจน์ อาสาสำเร็จ 30)นางสายพิณนาคสังข์

 

30 26

5. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน พฤศจิกายน 2558

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลผลิต-ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 25 คน ร่วมประชุมกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 12 ครั้ง ผลลัพธ์-ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ทำความเข้าใจโครงการ และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความตั้งใจที่จะปฏิบัติการและรับหน้าที่กันไปตามกิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผนงาน จำนวน 4 กลุ่มแบ่งเป็นจุดดำเนินการกลุ่มที่1เป็นจุดที่หนึ่งบริเวณสวนของนายอ๊อด ภู่พายัพ จุดที่สอง นายสุริยันจันทสิงห์ จุดที่สามของนายลพ แก้วโกสุม จุดที่สี่ของนายตุ้ม ไชยามพานิชมีการมอบหมายให้ไปสำรวจพื้นที่ เพื่อจะเตรียมอุปกรณ์และกำลังคนให้พร้อมในการพํฒนาพื้นที่ป่าต้นน้ำและแนวโน้มในการจัดทำฝายชะลอน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลน รวมทั้งประสานกับเทศบาลตำบลทะเลทรัพย์เพื่อขอสนับสนุนอุปกรณ์และกำลังคน เป็นต้น และงบSML

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ออกแบบการสำรวจข้อมูลชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล การร่างระเบียบ/กติกา และรายงานผลการดำเนินงานและติดตามความก้าวหน้าตลอดจนฟังข้อเสนอแนะจากทีมงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงกิจกรรมครั้งต่อไปโดยเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประธานเปิดประชุม โดยแจ้งเรือง จากที่ประชุมอำเภอ ประกอบด้วยเรื่องการเตรียมการเพื่อจัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ทำความสะอาดริมถนน ตัดแต่งต้นไม้ และจัดปลูกต้นต้นไม้ตามแต่ละพื้นที่ เตรียมการอาหารสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้งบประมาณของหมู่บ้านและผู้รับผิดชอบโครงการแจ้งการร่วมบำเพ็ยประโยชน์ครั้งนี้ร่วมกับชุมชน

 

30 26

6. จัดกิจกรรมการทำความสะอาด ฟื้นฟูผืนป่าต้นน้ำ และเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน ครั้งที่ 1

วันที่ 1 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของสภาผู้นำชุมชนในการสร้างสุขภาพในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลผลิต-ประชาชนในชุมชนจำนวน 50 คนเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการป่าต้นน้ำและพื้นที่สาธารณะในวันสำคัญจำนวน 3 ครั้ง ผลลัพธ์-ชุมชนมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ สมุนไพร ให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อเป็นแหล่งอาหาร แหล่งท่องเที่ยว และการรักษาโรค

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ชุมชนมีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วนในระดับตำบล หมู่บ้าน ประกอบด้วยรองนายกฯ ธนวัฒน์ โพธิสาร ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และประชาชน ในการรักษาสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ สมุนไพร ให้มีความสมบูรณ์ เพื่อเป็นแหล่งอาหาร และพื้นที่สาธารณะในชุมชนตลอดสองข้างถนนมีความสะอาดเป็นระเบียบมากขึ้นเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร และปลูกต้นโกสนริมถนนเป็นระยะทาง4 กิโลเมตรโดยให้ผู้มีต้นไม้ที่อยู่หน้าบ้านช่วยกันดูแล

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมการทำความสะอาด/ตัดหญ้า/ตัดแต่งกิ่ง ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมบริเวณป่าไม้ริมทางและป่าต้นน้ำฟื้นฟูผืนป่า เก็บขยะ และเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน ร่วมรณรงค์ในวันสำคัญ ๆเช่นวันพ่อ วันต้นไม้แห่งชาติ และวันสิ่งแวดล้อมโลก ตลอดจนดูแลพื้นที่สาธารณะที่ทุกคนอยู่ใกล้ชิดตลอดทั้งปี ทั้งสิ้น 3 ครั้ง

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดกิจกรรมตัดแต่งกิ่งไม้บริเวณริมทางเดิน ถนน ที่มีต้นไม้แผ่กิ่งก้านออกมาเกะกะทัศนียภาพเวลาขับรถ และร่วมกันทำความสะอาดพื้นที่สาธารณะ พื้นที่ป่าไม้ และทางสาธารณะ โดยการรวมพลังคนในชุมชนหมู่ที่ 8 ตำบลทะเลทรัพย์ช่วยกันพัฒนาเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ จิตอาสาร่วมกันโดยมีโครงการเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนชุมชนให้เกิดการพัฒนา การร่วมมือร่วมแรงร่วมใจไปสู่ความเป็นท้องถิ่นน่าอยู่และขับเคลื่อนชุมชน

 

50 100

7. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนเดือน ธันวาคม 2558

วันที่ 5 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลผลิต-ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 25 คน ร่วมประชุมกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 12 ครั้ง ผลลัพธ์-ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ทำความเข้าใจโครงการ และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

มีข้อตกลงร่วมกันของแกนนำสภาชุมชนที่ต้องนำเรื่องที่ทุกฝ่ายเข้าร่วมประชุมกับหน่วยงานอื่น ๆแล้วนำมาถ่ายทอดให้สมาชิกกลุ่มและผู้ที่สนใจทราบ เช่นในครั้งนี้ทุกคนที่มาประชุมร่วมกันเสร็จแล้วเข้าร่วมพิธีวันพ่อของแผ่นดินร่วมกันหน้าที่ว่าการอำเภอปะทิว เป็นต้นติดตามผลการประชุมครั้งที่ผ่านมาพัฒนาชุมชน และเตรียมความพร้อมที่จะนำอุปกรณ์และกำลังคนให้เพียงพอที่จะพัฒนาครั้งต่อไปในส่วนของพื้นที่ป่าต้นน้ำ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ออกแบบการสำรวจข้อมูลชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล การร่างระเบียบ/กติกา และรายงานผลการดำเนินงานและติดตามความก้าวหน้าตลอดจนฟังข้อเสนอแนะจากทีมงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงกิจกรรมครั้งต่อไปโดยเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างสภาผู้นำมีกระบวนการคิด การจัดการตนเองเรื่องการออมและการใช้จ่ายตั้งแต่ครอบครัว สู่ชุมชน ในช่วงสภาวะที่เศรษฐกิจฝึดเคืองมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสนอแนะความคิดเห็นร่วมกับ และถกเถียงปัญหาต่าง ๆ เรื่องราคาปาล์ม และราคายาง ที่เกิดขึ้นในชุมชน และสามารถที่จะคลี่คลายกันได้เพราะเรื่องราวต่าง ๆ ในชุมชนนั้นมีมากมาย แต่การแก้ปัญหาต่าง ๆ จะพึ่งผู้นำหรือภาครัฐ ไม่ได้ ทุกคนต้องพึ่งตนเอง รู้จักรับผิดชอบในครัวเรือนตนเองกันให้มาก ลดภาระต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นในครอบครัวลง ก็จะทำให้ปัญหาครอบครัวดีขึ้น เศรษฐกิจในครัวเรือนก็ดีขึ้น ตลอดจนเรื่องการดูแลสุขภาพ เน้นเรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เป็นต้น ประธานเน้นให้ทุกคนร่วมมือกันไปจุดเทียนถวายพระพรที่หน้าที่ว่าการอำเภอปะทิว

 

30 25

8. การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่ 2

วันที่ 12 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรับฟังการชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. และพี่เลี้ยงโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สามารถลงบันทึกรายงาน และจัดทำรายงานการเงินได้ถูกต้อง รวมทั้งการหักภาษีต่าง ๆ ผู้รับผิดชอบโครงการมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดทำรายงาน การทำรายงานการเงิน การเขียนใบเสร็จรับเงินของร้านค้า การเขียนใบสำคัญรับเงินและเอกสารแนบประกอบใบสำคัญรับเงิน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เข้าร่วมประชุมกับ สสส.,สจรส.มอ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม เพื่อรับฟังคำชี้แจงต่าง ๆ จากเจ้าหน้าที่ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้ารับฟังรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่วิทยากรในการชี้แจงเรื่องการเขียนใบเสร็จรับเงินจากร้านค้า และใบสำคัญรับเงินที่ทางโครงการจ่ายไปในการใช้เงินตามกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งต้องมีการหักภาษีเงินได้ 1 เปอร์เซ็นต์ หากมีการจ่ายเงิน 1000 บาทขึ้นไป นอกจากนี้ วิทยากรยังได้เสนอแนะการบันทึกรายงาน ควรที่จะบรรยายอย่างละเอียดเพื่อให้มองเห็นภาพ เมื่อทีมงานผู้ติดตามจาก สสส.,สจรส. ได้เข้าไปอ่านจะเกิดความเข้าใจได้ง่าย และมองเห็นภาพอย่างจริงจัง

 

2 2

9. สำรวจข้อมูลครัวเรือนและจัดทำแผนปฏิบัติการชุมชน

วันที่ 15 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของสภาผู้นำชุมชนในการสร้างสุขภาพในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลผลิต- คณะทำงานจำนวน 30 คนร่วมกันสำรวจข้อมูลรับ-จ่ายครัวเรือนชุมชน ก่อนและหลังดำเนินโครงการ ผลลัพธ์-ได้ข้อมูลครัวเรือนสำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติการชุมชนให้สอดคล้องกับแผนชุมชนสามปีที่มีอยู่แล้วส่วนหนึ่งเพื่อให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นและเป็นการกระตุ้นผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมมากขึ้น

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้ข้อมูลครัวเรือนชุมชน ทีมีรายรับ รายจ่าย และรายละเอียดเกี่ยวกับครัวเรือน ชุมชนชุมชนแต่ละครัวเรือนสามารถวิเคราะห์เศรษฐกิจในครัวเรือนของตนเองได้ว่า ควรมีรายจ่ายต่อเดือน และรายรับต่อเดือนเท่าไร จึงจะสมดุล มีเงินออม และหนี้สินลดลงครัวเรือนสามารถวางแผนการใช้จ่ายเงินของครอบครัวตนเองได้
ครัวเรือนต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน ๕ ครัวเรือน ได้แก่ ๑) นางสายพิณนาคสังข์ บ้านเลขที่ ๔๖/๓ หมู่ ๘ ต.ทะเลทรัพย์๒) นางสาวโสภิตาหัดไทย บ้านเลขที่ ๑๕/๓ หมู่ ๘ ต.ทะเลทรัพย์ ๓) นางประภาพรแย้มจงกล บ้านเลขที่ ๘๖ หมู่ ๘ ต.ทะเลทรัพย์ ๔) นางศรีเวียงดวงใส บ้านเลขที่ ๔๖/๗ หมู่ ๘ ต.ทะเลทรัพย์ ๕) นางสายบัวประเสริฐวรพงษ์บ้านเลขที่ ๑๒๖ หมู่ ๘ ต.ทะเลทรัพย์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  1. คณะทำงานและคณะกรรมการชุมชนร่วมกันสำรวจข้อมูลรับ-จ่ายครัวเรือน โดยนำแบบสำรวจของธกส.มาปรับใช้และเจ้าหน้าที่ธกสฬมาแนะนำ
  2. นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ สรุปโดยเจ้าหน้าที่รพสต.
  3. จัดทำแผนปฏิบัติการชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมกันสำรวจข้อมุลครัวเรือนชุมชน ข้อมูลการรับ - จ่าย โดยมีแบบสำรวจของ ธกส.มาปรับ้ใช้ให้สอดคล้องกับโครงการ
วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำแผนชุมชน วิทยากรจาก ธกส.ได้ให้ความรู้ด้านการทำบัญชีครัวเรือน คือ การจัดทำบัญชีครัวเรือน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายนี้ ไม่ใช่เป็นแต่เพียงการจดบันทึกรายการต่างๆ ที่เป็นเงินเท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างความสามัคคีภายในครอบครัว รู้จักช่วยเหลือแบ่งปันกันในสังคม มีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ซึ่งเกิดจากประสบการณ์ต่างๆ ที่ได้รับจากการจดบันทึกข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ทำให้ประชาชนทุกคนรู้จักการบริหารจัดการด้านการเงินและการวางแผนการทำงานทุกอย่างเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้ การทำบัญชีครัวเรือนทำให้ครอบครัวมีความสุขใช้ชีวิตโดยยึดหลักความพอเพียง มีเหตุมีผล รู้จักพึ่งพาตนเอง มีความพอประมาณ การเงินมีสภาพคล่อง รู้จักการเก็บออม ทุกคนรู้ถึงแหล่งที่มาของรายรับและการใช้ไปของค่าใช้จ่ายในแต่ละวันสามารถนำข้อมูลการใช้จ่ายมาวางแผนบริหารการเงินในอนาคตได้ จึงแนะนำและส่งเสริมให้ทุกครอบครัวได้ทำบัญชีครัวเรือน จะทำให้เราเปรียบเทียบได้ว่า รายจ่ายใด ที่ไม่จำเป็นควรลด รายจ่ายใดที่จำเป็น และในแต่ละเดือนเราควรมีรายรับเท่าไหร่จึงจะสมดุลหรือมีเงินออม

 

30 30

10. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน มกราคม 2559

วันที่ 5 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลผลิต-ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 25 คน ร่วมประชุมกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 12 ครั้ง ผลลัพธ์-ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ทำความเข้าใจโครงการ และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจและเข้าร่วมกิจกรรมกับโครงการ และร่วมกันร่างกติกาชุมชน และเกิดความสามัคคีมีการประชุมร่วมกันทุกเดือนจากเดิมนานๆครั้งหรือเฉพาะมีกิจกรรมสำคัญเท่านั้น และที่สำคัญที่สุดคือความภาคภูมิใจที่ได้ทำให้ชุมชนที่โครงการเป็นส่วนขับเคลื่อนนำไปสู่ความสำเร็จของโครงการได้มากยิ่งขึ้น คณะทำงานและสมาชิกในชุมชนมีความพร้อมในการร่วมกิจกรรมตามโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงาน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ เตรียมร่างระเบียบ/กติกา และรายงานผลการดำเนินงานและติดตามความก้าวหน้าตลอดจนฟังข้อเสนอแนะจากทีมงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงกิจกรรมครั้งต่อไปโดยเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดประชุมหมู่บ้าน และคณะทำงาน โครงการ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ จากผลการสำรวจข้อมูลชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล นำร่างระเบียบ/กติกา และรายงานผลการดำเนินงานและติดตามความก้าวหน้าตลอดจนฟังข้อเสนอแนะจากทีมงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงกิจกรรมครั้งต่อไปโดยเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน และมีการเสนอแนะการขับเคลื่อนกิจกรรมในระยะต่อไป ควรที่จะเชิญชวนสมาชิกในชุมชนที่ยังไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมกับโครงการ ทางผู้ประสานงานควรที่จะไปแนะนำและเชิญชวนให้เขามามีส่วนร่วมด้วยเพื่อจะได้ครอบคลุม และสร้างชุมชนน่าอยู่ได้ อย่างน้อยก็ได้มารับฟังแนวคิดของการสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ว่าควรเป็นไปในทิศทางใด ทั้งนี้สรุปประเด็นการพูดคุยในเวทีได้ดังนี้ - ผู้ใหญ่บ้าน นายชำนาญ ดวงใส ได้ชี้แจงกับสมาชิกผู้เข้าร่วมประชุม เกี่ยวกับประเด็นที่ได้รับมอบหมายจากนายอำเภอปะทิว ให้รณรงค์เรื่องความปลอดภัยบนท้องถนน - การสวมหมวกนิรภัย - ทาง รพสต.ทะเลทรัพย์ แจ้งการรณรงค์เรื่องการป้องกันยุงลายบริเวณบ้านเรือน เนื่องจากในช่วงนี้ มีไข้เลือดออกระบาดหนัก โดยที่เมืองชุมพร มีผู้เสียชีวิตแล้ว

 

30 30

11. จัดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทั้งในและนอกพื้นที่เรื่องการใช้ชีวิตแบบพอเพียง

วันที่ 15 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลผลิต-แกนนำชุมและสมาชิกเข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกพื้นที่จำนวน 50 คน ผลลัพธ์-ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถสัมผัสได้จริงในพื้นที่ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แกนนำชุมชนและสมาชิกเข้าร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกพื้นที่จำนวน 100 คน-ประชาชนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ ความเข้าใจในแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและสามารถสัมผัสได้จริงในพื้นที่ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง สมาชิกในชุมชนเกิดความคิดในการทำปุ๋ยหมักใช้ในภาคการเกษตร ว่าไม่ใช่เรื่องยาก เราสามารถนำเศษอาหารเหลือใช้ในครัวเรือนมาทำปุ๋ยหมักได้ และบางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้ขั้นตอนกระบวนการอะไรมากมาย และไม่ต้องสิ้นเปลืองกับการซื้อปุ๋ยเคมีในราคาแพงมาใส่ปุ๋ยกับพืชสวน เป็นการเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากแต่ถ้าเราหันมาสนใจในการทำปุ๋ยกันเองในชุมชน ทำให้ลดต้นทุนเป็นอย่างมาก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1 อบรมให้ความรู้ประชาชนเรื่องเศรษฐกิจพอพียงที่ครอบคลุมเนื้อหา การลดรายจ่าย/สิ่งฟุมเฟือย การเพิ่มรายได้ การออม การดำรงชีวิตชอบ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการรู้จักแบ่งปัน

2 การศึกษาดูงานพื้นที่ทำการเกษตร ในศุูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีและฝึกอบรมสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล ต.ทะเลทรัพย์

กิจกรรมที่ทำจริง

อบรมให้ความรู้ประชาชนเรื่องเศรษฐกิจพอพียงที่ครอบคลุมเนื้อหา การลดรายจ่าย/สิ่งฟุมเฟือย การเพิ่มรายได้ การออม การดำรงชีวิตชอบ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการรู้จักแบ่งปัน อบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ประสานงานโครงการได้พาสมาชิกในชุมชนไปเยี่ยมชมการอบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพของกลุ่มอาชีพการทำปุ๋ยหมักของเกษตรกรตำบลทะเลทรัพย์ ซึ่งมีการรณรงค์ให้ทำปุ๋ยชีวภาพใช้เองในภาคการเกษตร เพื่อลดค่าใช้จ่าย และลดการใช้สารเคมีในชุมชน และผลผลิตที่ได้จากการเกษตรก็ปลอดสารเช่นเดียวกัน ส่งผลไปยังผู้บริโภคก็มีความปลอดภัยด้วย

 

50 100

12. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน กุมภาพันธ์ 2559

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อส่งเสริมบทบาทของสภาผู้นำชุมชนในการนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในการดำรงชีวิต

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

ผลผลิต-ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานจำนวน 25 คน ร่วมประชุมกันอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 12 ครั้ง ผลลัพธ์-ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ทำความเข้าใจโครงการ และร่วมกันขับเคลื่อนโครงการไปสู่เป้าหมายความสำเร็จ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ในเรื่องการทำบัญชีครัวเรือน การทำปุ๋ยหมัก การปลูกพืชปลอดสารพิษ เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมต่าง ๆ ในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และการประชาคมหมู่บ้านและรูปแบบของการบริหารจัดการกลุ่ม เพื่อหาจุดร่วมในการสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ชุมชนอยู่ได้แบบพอเพียง เกิดแนวคิดใหม่ ๆ ในการวิเคราะห์ชุมชนท้องถิ่น จากการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในที่ประชุม และแกนนำชุมชน แกนนำท้องถิ่น ท้องที่ และรพ.สต. ทำให้เกิดมุมมองความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นด้านสุขภาพของชุมชนในท้องถิ่นได้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานร่วมกัน เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ออกแบบการสำรวจข้อมูลชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูล การร่างระเบียบ/กติกา และรายงานผลการดำเนินงานและติดตามความก้าวหน้าตลอดจนฟังข้อเสนอแนะจากทีมงานเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และปรับปรุงกิจกรรมครั้งต่อไปโดยเชิญเจ้าหน้าที่จากหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ ร่วมรับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน ชี้แจงผลการดำเนินโครงการในระยะที่ผ่านมาให้ที่ประชุมรับทราบ ผู้ประสานโครงการ มีการชี้แจงแผนงานต่าง ๆ ของโครงการให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับทราบ และมีการเสนอความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเวทีประชุม ทำให้เกิดแนวคิดต่าง ๆ จากเวที เช่น การออกแบบสำรวจของมูลชุมชน แนวทางการทำงานร่วมกับชุมชนและกลุ่มองค์กรต่าง ๆเช่น ธกส. และศูนย์เรียนรู้บ้านยายไทย โดยมีการประสานความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ ตามแผนทั้งของโครงการและแผนงานของกลุ่มองค์กรเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ของกิจกรรมขึ้น

 

30 30

13. การประชุมจัดทำรายงานงวดที่1

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อรับฟังการชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ. และพี่เลี้ยงโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดทำเอกสารค่าใช้จ่ายตามโครงการที่มีการใช้จ่ายเงิน และตรวจความถูกต้องของใบเสร็จการใช้จ่ายเงินในกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการและการบันทึกรายงานลงในเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข กิจกรรมในครั้งนี้สามารถทำให้คณะทำงานโครงการและผู้รับผิดชอบมีความรู้ความเข้าใจในการลงบันทึกข้อมูล การเขียนใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับเงินพร้อมกับเอกสารที่ต้องแนบท้ายประกอบใบสำคัญรับเงินได้อย่างถูกต้อง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำรายงานปิดงวดโครงการ งวดที่ 1โดยผู้รับผิดชอบโครงการ และฝ่ายการเงิน,ฝ่ายหนุนเสริมกิจกรรม ได้เรียนรู้การจัดทำเอกสารรายงานกิจกรรม รายงานการเงินที่ถูกต้องตามระเบียบของ สสส.ได้รับทราบปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากความไม่เข้าใจในเบื้องต้น เพื่อที่จะเกิดความรู้ทักษะการทำเอกสารดังกล่าวในงวดต่อๆไป ได้ถูกต้องรวดเร็วขึ้น

กิจกรรมที่ทำจริง

เข้าร่วมประชุมเพื่อจัดทำรายงาน ปิดงวดโครงการ งวดที่ 1 ร่วมกับพี่เลี้ยงโครงการและเจ้าหน้าที่ สสส.,สจรส.มอ. ที่เทศบาลวังไผ่ อ.เมือง จ. ชุมพร โดยพี่เลี้ยงได้ทำการตรวจเอกสารการเงินของโครงการ ค่าใช้จ่ายในกิจกรรมโครงการ พบว่าเอกสารบางกิจกรรมยังไม่เรียบร้อย ต้องกลับไปปรับปรุงแก้ไข ทำให้โครงการยังไม่สามารถให้พี่เลี้ยง สจรส.มอ.ตรวจเอกสารต่าง ๆ ได้ ทางโครงการจึงต้องนำไปแก้ไขและให้พี่เลี้ยงที่ดูแลโครงการตรวจอีกครั้งหนึ่งจนกว่าจะเรียบร้อย ทำให้กิจกรรมในครั้งนี้ยังไม่สามารถลงรายงาน ง.๑ ให้สมบูรณ์ได้

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 37 13                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 157,750.00 57,450.00                  
คุณภาพกิจกรรม 52 39                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

ประชาชนเข้าร่วมกิจกรรมในช่วงกลางวันน้อย

ประชาชนมีภารกิจในการประกอบอาชีพในช่วงกลางวัน

จัดการประชุมและกิจกรรมอื่น ๆในตอนเย็น และวันหยุดราชการ

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน มีนาคม 2559 ( 5 มี.ค. 2559 )
  2. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน เมษายน 2559 ( 5 เม.ย. 2559 )
  3. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการการลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้สาธิตการปลูกผักปลอดสารพิษรูปแบบใหม่ด้วยการปลูกพืชผักสวนครัว ( 15 เม.ย. 2559 )
  4. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน พฤษภาคม 2559 ( 5 พ.ค. 2559 )
  5. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการการลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้ สาธิตการทำปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้ในแปลงพืชผักสวนครัวและพืชเศรษฐกิจ ( 4 มิ.ย. 2559 )
  6. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชนน เดือน มิถุนายน 2559 ( 5 มิ.ย. 2559 )
  7. จัดทำฝายกั้นน้ำคลองหนองเงินและซอยสี่ ครั้งที่ 1 ( 11 มิ.ย. 2559 )
  8. จัดกิจกรรมการทำความสะอาด ฟื้นฟูผืนป่าต้นน้ำ และเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนครั้งที่ 2 ( 15 มิ.ย. 2559 )
  9. จัดทำฝายกั้นน้ำคลองหนองเงินและซอยสี่ ครั้งที่ 2 ( 25 มิ.ย. 2559 )
  10. จัดทำฝายกั้นน้ำคลองหนองเงินและซอยสี่ ครั้งที่ 3 ( 29 มิ.ย. 2559 )
  11. จัดกิจกรรมการทำความสะอาด ฟื้นฟูผืนป่าต้นน้ำ และเฝ้าระวังทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนครั้งที่ 3 ( 1 ก.ค. 2559 )
  12. จัดทำฝายกั้นน้ำคลองหนองเงินและซอยสี่ ครั้งที่ 4 ( 2 ก.ค. 2559 )
  13. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดตั้งธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำหริ ( 4 ก.ค. 2559 )
  14. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน กรกฏาคม 2559 ( 5 ก.ค. 2559 )
  15. การจัดเวทีประชาคม เพื่อค้นหา อาสาสมัคร ให้เข้ามาเป็นแกนนำหมู่บ้าน กลุ่มคนรักบ้านวังทอง ( 14 ก.ค. 2559 )
  16. จัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการการลดรายจ่าย-เพิ่มรายได้ สาธิตการทำน้ำยาเอนกประสงค์ ( 17 ก.ค. 2559 )
  17. ประชุมคณะทำงานและสภาผู้นำชุมชน เดือน สิงหาคม 2559 ( 5 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาย อนันต์ นาคสังข์
ผู้รับผิดชอบโครงการ