directions_run

บ้านนาเหนือเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อชุมชนเข้มแข็งและยั่งยืน

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อส่งเสริมบทบาทสภาผู้นำให้แข้มแข็งและเป็นกลไกการมีส่วนร่วมในการวางแผน ดำเนินงาน และการตัดสินใจในการพัฒนาชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมอย่างต่อเนื่องทุกเดือน 2. ร้อยละ 80 ของสมาชิกสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมประชุม 3. ทุกครั้งของการประชุมมีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นของชุมชน โดยที่แผนงาน/โครงการ/กิจกรรมองโครงการได้รับการปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกัน

 

 

  1. ชุมชนมีการประชุมอย่างต่อเนื่องทุกเดือนในช่วงเวลาที่เริ่มโครงการถึงก่อนปิดโครงการ จำนวน 6 ครั้ง มีการปรึกษาหารือเรื่องโครงการและเรื่องอื่นของชุมชนส่วนใหญ่เป็นเรื่องของสุขภาพมีเรื่องโครงสร้างชุมชนครั้งเดียว ผู้เข้าร่วมประชุมส่วนใหญ่จะเป็น อสม.และ สมาชิกสภาผู้นำชุมชนบางคนและสมาชิกชุมชน
  2. มีการสำรวจสถานการณ์ของสมาชิกชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ พบว่า สมาชิกมีหนี้สินทุกครัวเรือนด้วยการกู้จากกองทุนหมู่บ้าน รองลงมาจะเป็นธกส. เป็นต้น
  3. จากการวิเคราะห์ของสภาแกนนำจึงมีมติในแก้ปัญหาหนี้สินก่อนกิจกรรมอื่น ๆ
2 เพื่อส่งเสริมให้คนในชุมชนลดหนี้ มีรายได้เสริมและ ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นสร้างการเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ตัวชี้วัด : 1. ร้อยละ70ประชาชนทุกกลุ่มมีรายได้เพิ่มและลดรายจ่าย 2. ลดหนี้ได้ร้อยละ70ของครัวเรือน โดยสมาชิกสามารถใช้หนี้ได้

 

 

  1. ประชาชนทุกกลุ่มมีความรู้เรื่องบัญชีครัวเรือน -ทำอาชีพเสริมด้วยการทำดอกไม้จันทร์ ดอกไม้สดและผูกผ้า -การทำปุ๋ยหมักที่เตรียมพร้อมที่จะใช้การการปลูกพืชผักสวนครัว-การทำน้ำยาล้างจาน สบู่ น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น รายได้เพิ่มและลดรายจ่าย
  2. ลดหนี้ได้ร้อยละ 70 ของครัวเรือนยังวัดไม่ได้เนื่องจากยังไม่ได้ประเมินต้องปิดโครงการก่อนกำหนด
3 เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนมีแหล่งอาหารปลอดภัย
ตัวชี้วัด : 1. เกษตรกรสามารถผลิต/ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเกษตรกรรมร้อยละ50 2. ปริมาณการใช้สารเคมีของเกษตรกรต้นแบบลดลง 3. ครัวเรือนมีการปลูกผักปลอดสารเคมีไว้บริโภคทุกครัวเรือน

 

 

ยังวัดไม่ได้เนื่องจากยังไม่ได้ประเมินต้องปิดโครงการก่อนกำหนด

4 เพื่อส่งเสริมกลไกการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงอย่างเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1. มีกติกากลุ่มเกษตรกรชุมชนบ้านนาเหนือ 2. เกิดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน

 

 

ยังไม่มีกติกาและศูนย์เรียนรู้ชุมชน

5 เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
ตัวชี้วัด : 1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด 2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม 3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม 4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด

 

 

การประชุมร่วมกันของทีมงาน พี่เลี้ยงสจรส.มอ.และสสส.รวมแล้ว จำนวน 4 ครั้งเพื่อการเติมเต็มความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของทีมชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ที่แท้จริง และมีป้ายสถานที่นี้ปลอดบุหรี่