ชุมชนเขาเจดีย์-ตลาดใน ห่วงใยสุขภาพและสิ่งแวดล้อมด้วยวิถีพอเพียง ปี2

จัดเวทีสรุปบทเรียน คืนข้อมูลระบบนิเวศให้ชุมชน10 ตุลาคม 2559
10
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนและช่วยกันขับเคลื่อนกิจกรรมตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกิจกรรมการดำเนินงานที่ผ่านมาของโครงการร่วมกัน โดยมีการรายงานกิจกรรมที่ผ่านมาให้กับกลุ่มผู้นำชุมชน แก่นนำชุมชนได้รับทราบและผลที่เกิดขึ้นกับชุมชน เช่น ชุมชนเปลี่ยนวิถีชีวิต การซื้อข้าวกล่องโฟม เป็นให้แม่ค้าใช้กล่องพลาสติกหรือ กล่องคูกรีน หรืออาจใช้วัสดุจากธรรมชาติห่อก็ได้เช่น ใบตอง หรือกระดาษที่ใช้ห่อโรตี นอกจากนี้ยังมีการดูพื้นที่ต้นแบบเรื่องการทำเศรษฐกิจพอเพียงที่ตำบลมาบอำมฤต โดยมีการทำแปลงผักแบบปลอดสารพิษ การทำแหล่งน้ำไว้ใช้ในภาคการเกษตร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชาชนที่เข้าร่วมโครงการและชุมชนใกล้เคียง ได้รับรู้ถึงผลที่เกิดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการที่ผ่านมา เช่น กิจกรรมการอบรม กิจกรรมการให้ความรู้เรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชน การทำแผนเทศบาล การปลูกต้นไม้ริมถนน และเกิดการมีส่วนร่วมกันในชุมชน

ผลที่เกิดขึ้นจากการทำงานตามแผนกิจกรรมดังนี้

๑) มีการประชุมคณะทำงานโครงการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสนอแนวความคิดต่างๆ ร่วมกันเดือนละ ๑ ครั้ง เพื่อวางแผนงาน ปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ยังขาดตกบกพร่องให้ดีขึ้น

๒) มีการทำกิจกรรมร่วมกับเยาวชน เช่น กิจกรรมการปลูกต้นไม้ในพื้นที่ชุมชน ,การอบรมให้ความรู้ต่างๆ ด้านการรักษาสภาพแวดล้อมในพื้นที่ชุมชน การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การดูแลเรื่องขยะในพื้นที่สาธารณะเช่น วัดเขาเจดีย์ โรงเรียนหรือสถานศึกษา บริเวณร้านค้าหน้าโรงเรียน ซึ่งมี ๒ พื้นที่คือ หน้าโรงเรียนปะทิววิทยา และหน้าโรงเรียนอนุบาลปะทิว

๓) การประชุม อบรม สัมมนา ศึกษาดูงานกับผู้นำ แกนนำในพื้นที่ชุมชน เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร และนำมาพัฒนางานในพื้นที่โดยนำเอาแนวทางที่ใกล้เคียงกันมาปรับใช้ในพื้นที่ชุมชนของเราได้

๔) การมีส่วนร่วมในการประชุมจัดทำแผนและนำเสนอแผนงานโครงการร่วมกับเทศบาล โดยนำปัญหาที่ประสบและเห็นจากพื้นที่ที่เป็นความเดือดร้อนของคนในพื้นที่ชุมชนมาเข้าแผนของเทศบาลในปีถัดไป

๕) มีครัวเรือนตัวอย่างในการปลูกผักสวนครัวไว้กินเองในชุมชน และมีการปลูกสมุนไพรข้างบ้าน อย่างน้อย 20 ครัวเรือน ดังนี้ 1) นางลิตาชำนาญ ,2) นางเยื้อน ชำนาญ ,3) นางสุรีย์ นันทโก 4) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านบางสน (โดย นางสาวดรุณี ชุมพูนุช) 5) นางพจพะณาเรืองศรี 6) นายศิลาหุนหวน 7) โรงเรียนอนุบาลปะทิว โดย ผอ.ธรรมรงค์เทพไพฑูรย์ 8) นางประพาศรีศรีเมฆ 9) โรงเรียนปะทิววิทยา โดย ผอ.อุดม ทองเจิม และ 10) นายรณยุทธ์เกตุเวชช์ 11) นายผินหุนหวน 12) นางสาวกัญยาณีถ้ำแก้ว 13) นางสาวฉวีวรรณเกตุเวชช์ 14) นายเกื้อกูลณพัทลุง 15) นางชลัดนุ่นพลาย 16) นางผาดหุนหวน 17) นางประเทืองเพ่งอุทัย 18) นางสาครประสบเนตร 19) นางอรวรรณรงค์คีรี 20) นางสาวบุญนาคพรมศรี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

เยาวชนนักเรียน จำนวน 30คน ชุมชนวัยทำงาน และวัยผู้สููงอายุ จำนวน 70 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี