โรงเรียนสร้างสุข สู้เศรษฐกิจ คืนวิถึชีวิตบ้านท้องลาน

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อยอดกลุ่มทำน้ำเคยปลา12 มีนาคม 2559
12
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย มานพ เขียวทอง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้เกษตกรผู้เข้าร่วมโครงการได้เข้าใจในเรื่องการจัดตั้งกลุ่มและระเบียบ กติกาของกลุ่มและให้รู้จักหาวัตถุดิบมาแปรรูปและมีอาชีพเสริมโดยมีรายได้เพิ่มขึ้น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวลา 09.00 น. เจ้ารหน้าที่รับลงทะเบียนผู้ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ เวลา 09.30 น. สมาชิกทุกคนมารวมตัวพร้อมกันในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้เพื่อทำกิจกรรมผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวต้อนรับสมาชิกทุกคนและได้ชี้แจงรายละเอียดและเป้าหมายของกิจกรรม หลังจากนั้นก็ได้เชิญผู้ที่มีความรู้เก๊่ยวกับการทำเคยปลามาให้ความรู้แก่เกษตกร เวลา 11.30 น. ผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนร่วมรับประทานอาหารเที่ยงพร้อมกัน เวลา 14.00 น. ได้เริ่มลงมือปฏิบัติ สาธิตการทำเคยปลา เวลา 15.00-16.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมพูดคุย เน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เคยปลาในบ้านท้องลานภายใต้โครงการ สสส. ปี 2558ณ ที่ทำการกลุ่มเคยปลาบ้านท้องลาน ต.ท้องลำเจียก อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช มีคนมาเข้าร่วใ 60 คน เป็นกรรมการกลุ่ม 20 คน และผู้สนใจ 40 คน
-กิจกรรมนี้ได้รับความสนใจจากเกษตรกรและชาวประมงพื้นบ้าน เป็นอย่างมาก โดยมี ผญ.มนพ เขียวทอง และพัฒนากร จาก สนง.พัฒนาชุมชนอำเภอเชียรใหญ่ ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่นค่ะ -กิจกรรมนี้มีการจัดตั้งกลุ่มอยู่แล้วจึงทำให้มีการทำกิจกรรมต่อเนื่องโดยมีการประเมินสมาชิกกลุ่มเคยปลามีอาชีพเสริมและมีรายได้ในการประกอบอาชีพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ถอดความรู้และบทเรียนการทำเคยปลาไว้ดังนี้ 1. ความเป็นมากะปิปลาหรือ “เคอยปลา”อาหารประจำถิ่นประจำบ้านของคนลุ่มน้ำปากพนังที่นิยมบริโภคสืบทอดกันมานับพันปีทำจากปลาน้ำจืดที่หาได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติจากการทำกินทำเก็บจนล่าสุดทำขายสร้างรายได้เสริมให้กับครอบครัวและชุมชนนายมนพเขียวทอง ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน ซึ่งเป็นประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มเล่าให้ฟังว่าการทำเคอยปลาของคนในชุมชนแห่งนี้และชุมชนอื่นๆในลุ่มน้ำปากพนังได้ทำสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษส่วนใหญ่ทำเพื่อบริโภคในครัวเรือนทำจากปลาที่หามาได้ตามธรรมชาติซึ่งในปีหนึ่งๆจะหาปลาได้จำนวนมากๆอยู่สองช่วงคือช่วงฤดูน้ำหลากชาวบ้านจะจับปลาได้มากโดยการใช้แหอวน ไซ ฯลฯ และช่วงฤดูแล้งที่ชาวบ้านจะจับปลาจากแหล่งน้ำในไร่นาหรือที่เรียกว่า “วิดหนอง” เมื่อได้ปลามาจำนวนมากๆนอกจากนำปลาสดๆมาปรุงเป็นอาหารแล้วส่วนหนึ่งยังจะนำปลาเล็กปลาน้อยหรือปลาที่ไม่ค่อยสดมาแปรรูปและถนอมเก็บไว้บริโภคในยามขาดแคลนในรูปของปลาร้าปลาเค็มและเคอยปลา 2.ขั้นตอนการทำเคยปลาเมื่อหาปลามาได้เช่นปลาดุกปลาตะเพียนปลาหางแดงปลาฉลาดฯลฯชาวบ้านจะนำมาแช่น้ำทิ้งไว้1คืนเพื่อให้ปลาพอง หลังจากนั้นนำมาขอดเกล็ดผ่าท้องควักไส้ตัดหัวล้างให้สะอาดใส่ตะแกรงผึ่งแดดประมาณครึ่งวันแล้วนำมาตำในครกไม้โดยการผสมเกลืออัตราส่วนปลา10กิโลกรัมต่อเกลือเม็ด3กิโลกรัมตำพอให้คลุกเคล้าเข้ากันดีแล้วนำมาหมักไว้ในภาชนะโรยเกลือเม็ดทับบางๆเพื่อช่วยป้องกันแมลงวันและช่วยรักษาเนื้อปลาตอนกลางวันนำออกตากแดดตอนเย็นก็เก็บทำต่อเนื่องกัน7วันแล้วกระจายก้อนเนื้อปลาที่หมักไว้ออกตากในภาชนะปากกว้างเช่น ถาดตากแดดไว้ครึ่งวันแล้วนำไปตำในครกไม้เพื่อให้เนื้อปลาละเอียดมากขึ้น แล้วปั้นเป็นก้อนๆละประมาณ1 กิโลกรัมนำไปตากแดดทั้งก้อนอีก4 วันจนก้อนสุก(มีสีออกแดง)นำมาแบ่งปั้นเป็นก้อนย่อยๆประมาณก้อนละ2ขีดตากแดดครึ่งวันแล้วนำไปตำอีกครั้ง เป็นครั้งสุดท้ายเป็นอันเสร็จขั้นตอนการทำเคยปลา 3.ขั้นตอนการหมักและการขัดน้ำนำเนื้อเคอยที่ได้ลงใส่ในไหจนเต็มปิดปากไหด้วยกาบหมากนำใบตองแห้งมาถักเป็นเกลียวคล้ายเชือกอัดรอบๆปากไหด้านในแล้วขัดด้วยตอกไม้ไผ่บางๆเก็บไว้ในที่ร่ม โรยเกลือเม็ดบนปากไหประมาณ 1 กำมือ และนำน้ำต้มสุกที่ทิ้งไว้จนเย็นแล้วเติมลงไปให้เสมอปากไหทิ้งไว้ประมาณครึ่งเดือนก็นำไปบริโภคได้หรือถ้าจะเก็บไว้ก็เก็บได้นาน1-2ปีส่วนน้ำเคอยปากไหก็นำมาบริโภคได้รสชาติคล้ายๆน้ำปลา 4.การนำเคยปลามาบริโภคจากเดิมที่มักจะนำเคยปลามาบริโภคเฉพาะในช่วงที่หาปลาสดยาก หรืออาหารขาดแคลนแต่ปัจจุบันเคอยปลากลายเป็นอาหารที่ขาดมิได้ต้องมีไว้คู่ครัวคนในชุมชนท้องถิ่นนี้ไปแล้วไม่ว่าจะแกงส้มก็จะต้องใส่เคอยปลาลงไปผสมเล็กน้อยพอได้กลิ่นจะแกงเลียงลูกตาลอ่อนก็จะต้องใส่เคอยปลาถึงจะอร่อยหรือแกงเคอยปลาซึ่งมีรสชาติเฉพาะที่คนในท้องถิ่นแถบนี้ชอบจะแกงใส่ผักใส่ปลาย่างหรือน้ำเคอยล้วนๆก็ถูกใจทั้งสิ้นแม้แต่ในงานบวชงานศพที่มีแกงหมู เห็ด เป็ด ไก่แล้วยังมิวายที่จะเรียกหา“แกงน้ำเคอย”จนอาจเรียกได้ว่าเป็นวัฒนธรรมการกินการเลี้ยงต้อนรับและการเป็นของฝากไปแล้ว
4.ด้านการตลาดเคยปลานางกัลยาคงวันฝ่ายการตลาดของกลุ่มฯกล่าวว่าต้นทุนการผลิตเคอยปลาค่อนข้างสูงถ้าคิดว่าซื้อปลามาจากตลาดมาแปรรูปทำเคอยปลาจะไม่คุ้มค่าแต่ที่ทำได้เพราะหาปลากันเองจากธรรมชาติทำที่บ้านใช้เครื่องไม้เครื่องมือส่วนตัวคนที่หาปลาเก่งๆและฤดูที่มีปลาชุกชุมก็สามารถทำเคยได้คราวละมากๆพอที่จะเลี้ยงครอบครัวได้เมื่อผลิตเป็นเคอย ก้อนแล้วจะขายผ่านกลุ่มโดยกลุ่มจะรับซื้อในราคากิโลกรัมละ80บาทนำไปผ่านกรรมวิธีการขัดน้ำแล้วขายต่อกิโลกรัมละ100บาทเพื่อส่งขายตลาดเปิดท้ายในหมู่บ้านงานแสดงสินค้าระดับอำเภอ/จังหวัด และลูกค้าที่สั่งซื้อส่งให้บุตรหลานที่กรุงเทพฯมีลูกค้าสั่งซื้อผ่านกลุ่มเดือนละไม่ต่ำกว่า100กิโลกรัมและคาดว่าสถานการณ์ราคาเคอยปลาน่าจะสูงขึ้นในอนาคตเนื่องจากสาเหตุหลัก2ประการคือ(1)มีความต้องการซื้อมากขึ้นและ(2)หลังจากการปิดประตูระบายน้ำโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังที่มีการปิดเปิดประตูน้ำไม่สัมพันธ์กับฤดูกาลวางไข่ของปลาทำให้หาปลาในธรรมชาติได้น้อยลงและจากการทำเคยปลา และพุงปลาพบเป็นประสบการณ์ว่าถ้าบางครั้งการใส่เกลือที่ไม่ได้สัดส่วน เช่นน้อยเกินไปจะทำให้เคยปลาหรือพุงปลาเป็นหนอน การที่จะเอาหนอนออกให้หมดนั้นจะต้องนำเคยปลาหรือพุงปลาไปตากน้ำค้างซึ่งหนอนจะออกหมด แต่ถ้าตั้งไว้เฉยหนอนจะออกไม่หมดได้ทำและค้นพบ และอีกเรื่องหนึ่งที่ค้นพบ ทางกลุ่มลองเอาปลานำ้เค็มมาทำเคยปลาในอัตราส่วนที่เท่ากัน คือปลาจำนวน 10กิโลต่อเกลือ 3กิโล จำนวนวันในการหมักที่เท่ากัน ปรากฏว่า รสชาติสู้ปลาน้ำจืดไม่ได้ และขายไม่ดี ไม่เป็นที่ต้องการของลูกค้า

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มชุมชนใกล้เคียงเข้าร่วมทำกิจกรรมและกลุ่มวัยทำงานและกลุ่มเด็กวัยเรียน ประมาณ 60 คนและกลุ่ม ก.ศ.น.จำนวน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นาย สุธรรมแก้วประดิษฐ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี