วัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก

ถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ20 พฤศจิกายน 2559
20
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน และหาแนวทางการดำเนินงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เชิญวิทยากร คือ คุณเกียววะลี มีสิทธิ์ จากกลุ่มยุวชนสร้างสรรค์จังหวัดสุราษฎร์ธานี และคุณอารีย์ คงแจ่ม จากมูลนิธิสัมมาชีพ มาเป็นวิทยากรถอดบทเรียนในการทำงานโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ก่อนการพูดคุย มีการโชว์ชุดที่ใช้ในการรำมโนราห์ ที่ครูภูมิปัญญา นางผ่องศรี นวลวัฒน์ ได้ซื้อลูกปัดมาทำเองเพื่อใช้ในการแสดงของเยาวชน เนื่องจากชุดมโนราห์มีราคาแพง 7000 - 10000 บาท และยังสามารถถ่ายทอดให้เยาวชนร้อยลูกปัดเพื่อจัดทำชุดมโนราห์ของตัวเองด้วย โดยมีน้องนักศึกษาสาขาพัฒนาชุมชน ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี ที่ลงพื้นที่มาศึกษาชุมชน และมโนราห์กิ๊ฟ มโนราห์ตัวน้อย ลูกสาวของนายนิพนธ์ นวลวัฒน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ และนางผ่องศรี นวลวัฒน์ ครูภูมิปัญญามโนราห์เป็นนนางแบบให้

ผลการถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการวัฒนธรรมนำสุขคนกงตาก มีดังนี้

  • กิจกรรมที่ได้ดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
  1. การชวนเยาวชนไปบำเพ็ญประโยชน์ ทำความสะอาดวัด 4 ครั้ง ทั้งกวาดขยะ ล้างห้องน้ำวัด ตกแต่งต้นไม้กิ่งไม้ เก็บขยะ (ร่วมสร้างวัดให้น่าอยู่ น่ามอง)
  2. ชวนลูกหลานเข้าวัดทำบุญ 3 ครั้ง
  3. รณรงค์แต่งกายชุดไทย เข้าวัด งานลอยกระทงตอนปี 58
  4. งานแห่ผ้าห่มหลวงพ่อชาญ
  5. การทำขนมพื้นบ้าน ทั้งข้าวต้มมัด ขนมลา และขนมต้มใบพ้อ
  6. การสืบสานศิลปะการรำมโนราห์
  • ผลสำเร็จที่ได้จากการทำงาน
  1. เกิดคณะมโนราห์ ชื่อ คณะผ่องศรีอำนวยศิลป์ ที่มีมโนราห์ 3 รุ่นคือ รุ่นยุวชน (เด็กน้อยอนุบาล)รุ่นเยาวชน (ประถม มัธยม) และรุ่นครูภูมิปัญญา ที่เป็นทั้งนางรำและนักดนตรี ช่วยกันทำหน้าที่สืบสานการรำมโนราห์และถ่ายทอดสู่เยาชนคนอื่นๆ ทั้งเยาวชนในชุมชน และเยาวชนในโรงเรียน ในชั่วโมงลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้
  2. เกิดโรงมโนราห์ที่ใช้สำหรับการซ้อมของเด็กๆ และทำพิธีกรรมทางศาสนา
  3. เป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ของคน 3 วัย ความสัมพันธ์ของคนในชุมชน ผ่านกิจกรรมมโนราห์ ทำให้คนในชุมชนสามัคคีกันมากขึ้น
  4. เสริมสร้างความสัมพันธ์ของครอบครัวลูกมาซ้อมรำ พ่อแม่ต้องมาส่ง ลูกได้แสดง พ่อแม่ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้อง ตามไปดู ไปให้กำลังใจ
  5. เป็นการสืบสานภูมิปัญญา วัฒนธรรมไม่ให้สูญหาย
  6. ส่งเสริมการออกกำลังกายทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ให้มีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
  • ภาคีเครือข่ายการทำงาน องค์กรที่หนุนเสริม
  1. พี่น้องในชุมชนใกล้เคียงที่ทราบข่าวว่ามีมโนราห์เด็ก ก็จะรับไปแสดง เช่น หมู่ 4 หมู่ 7 หมู่ 12
  2. วัดกงตาก ให้เยาวชนได้แสดงในงานวัดแห่ผ้าหลวงพ่อชาน วัดหัวหมาก ให้แสดงในงานวัด
  3. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกงตาก
  4. เทศบาลตำบลช้างซ้าย
  5. ชมรมผู้สูงอายุตำบลช้างซ้าย
  6. เพื่อนบ้านต่างอำเภอ เช่น อำเภอเวียงสระ อำเภอเคียนซา
  • แนวทางการขยายผลการดำเนินงานโครงการ
  1. การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์มโนราห์ของบ้านกงตากให้เป็นที่รู้จัก โดยน้องๆ นักศึกษาสาขาพัฒนาชุมชน ปี 3 มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี รับปากจะช่วยทำเว็บเพจประชาสัมพันธ์ให้ และจะเขียนโครงการพัฒนามาต่อยอดเรื่องมโนราห์
  2. การจัดทำชุดมโนราห์เพิ่มให้ครบตามาจำนวนนักแสดง ซึ่งปัจจุบันมีเพียง 6 ชุด ถ้าต้องแสดงเต็มวง ต้องเช่าชุดแสดง ชุดละ 200 บาท
  3. พัฒนาทักษะมโนราห์ในเรื่องการขับกลอน เพราะตอนนี้รำได้อย่างเดียว
  4. ถ่ายทอดทักษะการร้อยลูกปัด ทำชุดมโนราห์ให้กับเยาวชน หรือผู้ที่สนใจ เพราะสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนที่ทำเป็นได้
  5. พัฒนามโนราห์ให้สามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพเลี้ยงตัวเองได้
  • ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน
  1. เรื่องเทคโนโลยี การใช้คอมพิวเตอร์ ยังไม่สามารถทำได้ ต้องให้เยาวชนช่วยทำ แต่ทุกคนก็ติดงาน ต้องทำงาน ทำให้รายงานมักล่าช้า
  2. ทีมงานที่มียังต้องหากำลังเสริมมาช่วยทำงานเพิ่มขึ้น
  • ความรู้สึกของคนในชุมชน
  1. ครูภูมิปัญญารู้สึกดีใจ ภูมิใจที่ฝึกลูกหลานจนสามารถออกแสดงมโนราห์ สร้างรายได้ต่อครั้งต่อคน ไม่ต่ำกว่า 1000 บาท
  2. ผู้ปกครองดีใจที่เห็นลูกหลานรำมโนราห์ได้ ตามไปให้กำลังใจทุกครั้งที่แสดง ถึงแม้จะอยู่คนละอำเภอก็ตาม ดีใจที่เห็นเยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ดีกว่าไปขับรถเล่น
  3. เยาวชนชอบมโนราห์ มาฝึกทุกวัน ได้ฝึก ได้รำ กลายเป็นความชอบ หลังเลิกเรียนตอนเย็น หรือเสาร์อาทิตย์ ต้องมารอซ้อมรำมโนราห์
  4. เยาวชนชอบเข้าวัด เพราะกิจกรรมสนุก ได้ทำความสะอาดวัด ได้เล่น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • มโนราห์เยาวชน
  • ครูภูมิปัญญามโนราห์
  • นักดนตรีมโนราห์
  • นักศึกษาสาขาพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี
  • ทีมวิทยากรและพี่เลี้ยงโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ระหว่างจัดเวที ฝนตกหนัก โรงมโนราห์เล็ก พอเพียงพอกับจำนวนคน ต้องหาผ้าเต้นท์มากางเป็นพื้นที่นั่งพูดคุย 
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-