task_alt

สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ สมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ ที่บ้านไร่เหนือ

ชุมชน บ้านไร่เหนือ ม.9 ต.เขาขาว อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช

รหัสโครงการ 58-03919 เลขที่ข้อตกลง 58-00-2042

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 กันยายน 2558 ถึง 15 ตุลาคม 2559

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน กันยายน 2558 ถึงเดือน กุมภาพันธ์ 2559

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศโครงการ

วันที่ 3 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปฐมนิเทศโครงการใหม่

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

  1. เรียนรู้วิธีการดำเนินงานตามโครงการ
  2. เรียนรู้วิธีการตรวจสอบเอกสารโครงการ
  3. เรียนรู้วิธีดำเนินกิจกรรมตามโครงการ
  4. ได้วางแผนการดำเนินงานตามโครงการ
  5. ได้เรียนรู้ความเสี่ยง ต่อการดำเนินงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

สจรส.มอ.ปฐมนิเทศโครงการใหม่ที่ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้ สจรส.มอ.ได้จัดปฐมนิเทศโครงการใหม่ โดย อ.พงศ์เทพ ได้ชี้แจงแนวทางการทำโครงการ วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
อ.กำไล ได้แนะนำแนวคิดการทำโครงการ และขั้นตอนการทำโครง3 ระยะ ช่วงก่อนดำเนินงาน ระหว่างดำเนินงานและหลังดำเนินงาน อ.สุดา ได้แนะนำเรือ่งเกี่ยวกับเอกสารเงิน
อ.ถนอม ได้แนะนำเกี่ยวกับการบันทึกข้อมุลลงในเวปไซด์

 

2 2

2. 1.สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 1

วันที่ 7 ตุลาคม 2558 เวลา 13.00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมวางแผนโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.คณะทำงานมีการประชุมต่อเนื่อง 12 ครั้ง 2.มีการสำรวจข้อมุลชุมชนเกี่ยวกับความขัดแยังในชุมชน 3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และวางแผนออกแบบกิจกรรม 1 แนวทาง 4. มีกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างวัย จำนวน 1 กลุ่ม5.มีเวทีในการพบปะปรึกษาหารือกัน 6.มีปฏิทินกิจกรรม 7.มีแผนการปฏิบัติ 8.มีการแบ่งความรับผิดชอบตามความเหมาะสม 9.มีบทเรียนปัจจัยความสำเร็จ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างวัยเกิดขึ้น
  2. มีเวทีในการพบปะปรึกษาหารือกันในเรื่องของการทำงานแต่ละกิจกรรม
  3. มีการวางแผนและมอบหมายในกิจกรรมในครั้งต่อไป
  4. ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการทำงานของโครงการและติดตามความคืบหน้าร่วมกันอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง
  5. มีการแบ่งความรับผิดชอบกันในการทำงานตามความเหมาะสม
  6. ในการประชุมทุกครั้งมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จและอุปสรรค์ต่างๆทุกครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง 2.มีการแบ่งความรับผิดชอบกันในการทำงานตามความเหมาะสม 3.มีการทำปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมและผู้รับผิดชอบกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม 4.การประชุมทุกครั้งมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จและอุปสรรคต่างๆทุครั้ง 5.ร่วมกันถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างต่อไป -ในการจัดการประชุมจะมีการให้ความรู้และส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้ชีวิตแบบพอเพียงและการออกกำลังกายตามความเหมาะสม - การจัดการประชุม มีการรณรงค์ให้คณะทำงานลดบุหรี่ สุรา และวางแผนที่ จะลด ละ เลิกบุหรี่ สุรา -สถานที่ประชุม มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรม ประชุมสภาครั้งที่ 1
เริ่มด้วย เปิดเวทีการประชุม เวลา 13.30 น. โดยนาง นีรนุช เกิดกุลชร เป็นประธานที่ประชุม มีคณะกรรมการหมู่บ้าน สภาผู้นำชุมชน กลุ่มเป้าหมายได้เข้าร่วมประชุมประจำเดือนของโครงการ ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการปฎิบัคิการทำงานในแต่ละกิจกรรมตามแผน อย่างน้อยเดือนละครั้งเพื่อพบปะพูดคุยถึงสภาพปัญหา ของชุมชน การทำกิจกรรมต่อไปของโครงการ คือกิจกรรมการออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพร ให้คณะทำงานดุว่าในกิจกรรมเราจะต้องทำอย่างไรมีขั้นตอนอะไรบ้าง ประธานจึงหมอบหมายคณะทำงานให้เชิญ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านไร่เหนือเข้ามาประชุมเพื่อออกแบบ แบบสอบถามข้อมูลให้ ในวันที่ 27 ตุลาคม 2558 และได้เชิญกลุ่ม อสม. เข้าร่วมในการออกแบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพร เพราะ อสม.เป็นผู้ที่คุ้นชินกับในพื้นที่ในเขตที่รับผิดชอบของคนเอง คณะทำงานได้ร่วมกันพุดคุย ถึงวิธีการทำงานขั้นตอนการปฎิบัติ ในการลงพื้นที่สำรวจการเบิกงบประมาณของแต่ละกิจกรรมในแต่ละครั้ง จะต้องเบิกแต่ละกิจกรรม โดยมี นาง จิราภร พลประมวลนางขวัญใจ ชูทองนาง นีรนุช เกิดกุญชร เป็นผุ้เบิกจ่ายในแต่ละกิจกรรมการทำกิจกรรมในครั้งต่อไป วันที่ 27ของเดือนถัดไป จะนัดออกแบบ แบบสำรวจข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพรการสำรวจข้อมูลสมุนไพรที่มีโดยธรรมชาติ ในวันที่ 30 ตุลาคม 2558 พร้อมลงสำรวจพื้นที่ในชุมชนประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 2 ในวันที่ 7 พ.ย 2558ผู้ใหญ่ได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุม และปิดการประชุม

 

20 20

3. ทำป้ายโครงการ

วันที่ 20 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเป็นสัญลักษณ์ของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลงานที่เกิดขึ้น: ออกแบบป้ายโครงการ และป้ายเขตปลอดบุหรี่ เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น: ความร่วมมือของชุมชนและแกนนำ สิ่งที่เกินความคาดหมาย:
-มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ป้ายเขตปลอดบุหรี่ -ประชาชนรับรู้โครงการฯ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ติดตั้งในพื้นที่ดำเนินกิจกรรม

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้ใหญ๋บ้าน นางนีรนุช เกิดกุญชร ได้เปิดการประชุมโครงการ ของ สสส.ให้ชาวบ้านทราบ หมู่บ้านไร่เหนือได้ทำโครงการสมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ จึงจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการห้ายปลอดบุหรี่และป้ายปลอดสุรา เพื่อรณรงค์การปลอดบุหรี่และปลอดสุรา พร้อมความเป็นมาของโครงการให้แกนนำทราบ

 

2 2

4. คืนข้อมูลชุมชน ประชาสัมพันธ์โครงการ

วันที่ 25 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพิ่อเปิดชี้แจงโครงการและเพื่อให้ชาวบ้านเข้าใจและรู้ถึงความเป็นมาของโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

-มีข้อมูลชุมชนเพื่อใช้ในการวางแผนการทำงาน
-เกิดกิจกรรมร่วมกัน -เกิดผังเครือข่ายและบุคคลที่ประสานงาน -ทราบถึงปัญหาความขัดแย้งของคนในชุมชน และได้มาหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกัน -ได้ข้อมูลกลับสู่ชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลที่เกิดขึ้นจริง:

  1. ได้ชี้แจงเกี่ยวกับโครงการให้ชาวบ้านได้รับทราบ เพื่อให้ชาวบ้านได้ร่วมกลุ่ม มีอาชีพเสริมเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน โดยการใช้ทุนที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนให้ทุกครัวเรือนดูเอกสารประกอบและทุกคนได้แสดงความคิดเห็นเพื่อจะร่วมกันพัฒนาชุมชน ว่าครัวเรือนใหนบ้างที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ถ้าสนใจก็รับสมัครเข้าร่วมโครงการในการพัฒนาตามโครงการด้วยความสมัครใจ เพื่อจะได้พัฒนาชุมชนไปพร้อมๆกัน
  2. ได้มีการแลกเปลี่ยนเสนอความคิดเห็นกันในหมู่บ้าน เกี่ยวกับโครงการสมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ ว่ามีวิธีดำเนินการอย่างไร มีประโยชน์เกิดขึ้นกับหมู่บ้าน และชาวบ้านอย่างไร
  3. เชิญชวนให้คนในชุมชนร่วมกิจกรรมของโครงการและสมัครเข้าร่วมโครงการฯ
  4. มีข้อมูลชุมชนเพื่อใช้ในการวางแผนการทำงาน เกิดกิจกรรมร่วมกลุ่ม เกิดผังเครือข่ายและบุคคลที่ประสานงานทราบถึงปัญหาความขัดแย้งของคนในชุมชน และได้มาหาวิธีแก้ไขปัญหาร่วมกันได้ข้อมูลกลับสู่ชุมชน
  5. มีผู้เข้าร่วมประชุมตามเป้าหมาย ชาวบ้านสนใจกิจกรรมของโครงการ โครงการเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มในชุมชนโดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ต้องทำกิจกรรม สัปดาห์ ละ ครั้ง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เปิดเวทีประชุมโครงการ เวลา 13.00เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการโดยมีผู้ใหญ่บ้าน นางนีรนุช เกิดกญชร เป็นประธาน และท่านได้ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน อสม นัดชาวบ้านเข้าร่วมประชุม เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการให้ชาวบ้านได้รับทราบและรับรู้ถึงที่มาของโครงการ หมู่บ้านได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ซึ่งได้อนุมัติทุนสนับสนุนโครงการสมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ ซึ่งในโครงการมีคณะทำงานดังนี้ 1 นางนีรนุช เกิดกุญชรเป็นประธาน 2 นางจิราภร พลประมวล หัวหน้าโครงการ 3 นายสุรชาติ นุ่นสุวรรณ ผู้ร่วมโครงการ คนที่ 1 4 นางขวัญใจ ชูทอง ผู้ร่วมโครงการ คนที่ 2 5 นางเจตสุดา อินทรสาร ผู้ร่วมโครงการ คนที่ 3 6 นายสมโชค คงทอง ผู้ร่วมโครงการ คนที่4 7นางลักขณา ปัจจระ ผู้ร่วมโครงการ คนที่ 7 ประธานในที่ประชุมได้รายงานความเป็นมาของโครงการสมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ เพื่อให้ชาวบ้านได้เข้าใจ และรู้ที่มาของโครงการและความเป็นมาของชุมชน ปัญหาที่เกิดขึ้นในหมู่บ้าน ต่อมานาง นีรนุช เกิดกุญชร ได้เชิญหมอ ยงยุทธ์ สุขพิทักษ์ เข้าร่วมประชุม และชี้แจงที่มาของโครงการอีกครังหนึ่ง หมอได้คุยกับชาวบ้านเรื่องโครงการ และการทำงานของคณะทำงานของแต่ละคนถึงความลำบากและความอดทน เพื่อที่จะนำโครงการเข้าพัฒนาคนในชุมชนและพัฒนาชุมชนไปพร้อมกัน เพื่อให้ชาวบ้านได้รวมกลุ่ม มีอาชีพเสริม เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน จากการนำทุนที่มีในชุมชนมาให้เกิดประโยชน์ และเรียนรู้เพิ่มเติมเพื่อมาใช้ประโยชน์ และได้ชี้แจงถึงบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน และการดำเนินงาน คนในชุมชนได้รู้เรื่องสมุนไพรที่มีอยู่ในชุมชนและครัวเรือน และยังสามารถใช้ ทั้งกิน และเป็นยารักษาโรคในชีวิตประจำวันได้ เรียนรู้โดยภูมิปัญญาชาวบ้าน ปราญ์ชาวบ้านที่มีอยู่ในชุมนโดยใช้กลุ่มผู้สูงอายุเป็นตัวเชื่อมโยงและกลุ่มต่างๆเช่น อสมกลุ่มเยาวชน กลุ่มสตรี เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาความขัดแย้งของคนในชุมชนและมีการทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน ต่อมามีการเปิดรับสมัครสมาชิกที่สนใจร่วมดำเนินกิจกรรมของหมู่บ้าน เพื่อเข้าร่วมโครงการให้บรรลุเป้าหมายหลังจากประชุมชี้แจ้งจากประธานและหมอยงยุทธ์ มีชาวบ้านสนใจเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ แต่ยังมีบางครัวเรือนยังไม่เข้าใจกิจกรรมของโครงการ และไม่ยอมเข้าร่วมกิจกรรม และไม่สมัครสมาชิก คณะทำงานและประธานจะประชาสัมพันธ์โครงการให้มากขึ้นในการทำกิจกรรมและลงพื้นที่ออกสำรวจสมุนไพรจะลงทุกครัวเรือน เพื่อชี้แจง้และให้ความเข้าใจชาวบ้านบางกลุ่มให้มากขึ้นประธานได้กล่าวขอบคุณหมอ ยงยุทธ์ และทีมงาน ที่มาช่วยบรรยายให้ความรู้กับชาวบ้านและเปิดประชาสัมพันธ์โครงการในครั้งนี้ และได้มอบของที่ระลึกให้กับทีมงาน หมอยุทธ์ ประธานได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมปร

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมเปิดโครงการและประชาสัมพันธ์โครงการณหอประชุมหมู่บ้านบ้านไร่เหนือซึ่งในวันนี้จะมีพี่เลี้ยงโครงการมาร่วมเปิดโครงการด้วยโดยมีกิจกรรมและวาระการประชุม ดังนี้ วาระที่ 1
-ประธานในที่ประชุมนางนีรนุช เกิดกุญชร ได้แจ้งในที่ประชุม เรื่อง โครงการสมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ ภายในวงเงิน 212,830,00 บาท ซึ้งได้รับทุนจากสำนักงานกองทนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส) ซึ่งมีนางนีรนุช เกิดกุญชร เป็นประธานชุมชน 1.นางจิราภร พลประมวล เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ (อสม) 2.นายสุชาติ นุ่นสุวรรณเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ คนที่1 ตำแหน่ง กรรมการหมู่บ้าน 3.นางขวัญใจ ชูทอง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ คนที่2 ตำแหน่ง อสม 4.นางเจตสุดา อินทรสาร เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ คนที่3 ตำแหน่ง กลุ่มสตรี 5.นายสมโชค คงทอง เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ คนที่4 ตำแหน่ง สมาชิก อบต 6.นางลักขณา ปัญจระ เป็นผู้รับผิชอบโครงการ คนที่5 ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข มีระยะเวลาดำเนินงาน 1 ปี มติที่ประชุม รัทราบ

วาระที่ 2
- ประธานได้เชิญพี่เลี้ยงของโครงการ นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์ ได้เป็นวิทยากรและบรรยายเกี่ยวกับโครงการสมุนไพรช่วยสร้างสามัคคีและลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ อธิบายถึงความเป็นมาของโครงการและขั้นตอนต่างๆ และช่วยอธิยบายให้ชาวบ้านได้เข้าใจโครงการมากขึ้นและเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ ทำให้ชาวบ้านรู้และเข้าใจการทำงานร่วมกัน ได้มีความรู้เรื่องสมุนไพรและความสามัคคีกันในหมู่บ้าน ก่อให้การร่วมกลุ่มมีอาชีพเสริมให้กับครอบครัว -
มติที่ประชุม รับทราบ

วาระที่3
- ประธานในที่ประชุมให้ได้เข้าร่วมประชุมสมัครเข้าสมัคสมาชิกของโครงการซึ่งมีผู้เข้าร่วมหลายคน และในเวลา เวลา15.00 น. ได้กล่าวขอบคุณพี่เลี้ยง ที่ได้มาบรรยายและอธิบายเกี่ยวกับโครงให้ชาวบ้านได้กล่าวเข้ามากขึ้นและได้มอบของที่ระลึกให้กับพี่เลี้ยง ประธานได้กล่าวปิดประชุม

 

200 200

5. สำรวจข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพร ครั้งที่ 1

วันที่ 27 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจข้อมูลครัวเรือน สำรวจสมุนไพรตามธรรมชาติและในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีกระบวนการวางแผนการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน 2.มีฐานข้อมูลชุมชน 3.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนางาน 4.มีเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลที่เกิดขึ้นจริง: 1. ได้มีการสำรวจข้อมูลสมุนไพรในธรรมชาติและที่ปลูกเองที่บ้าน 2. ขั้นตอนการออกสำรวจและลงพื้นที่ มีการแบ่งกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมในชุมชน 3. พบสมุนไพรที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เพิ่มขึ้น เช่น ชนิดไม้ยืนต้น ส่วนมากจะพบในบริเวณรอบบ้าน และในสวนยาง ส่วนเป็นเถาวัลย์ จะพบมากบริเวณตีนเขา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะทำงาน ร่วมกับ อสม.และกลุ่มเยาวชน มีการประชุมวางแผนในการสำรวจข้อมูลมีการออกแบบแบบสอบถามร่วมกัน สำรวจข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายรายได้หนี้สิน เงินออม การมีและใช้สมุนไพรในครัวเรือน น้ำหมักชีวภาพน้ำยาอเนกประสงค์และข้อมูลพื้นฐานของชุมชนโดยใช้แบบสำรวจที่ร่วมกันคิดและออกแบบ
  • เชิญ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผู้ใหญ่บ้านสมาชิก อบต. เข้าร่วมระดมความคิดเพื่อร่วมกันกันคิดออกแบบสำรวจและแนวทางการเก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาหมู่บ้านได้แก่ข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายรายได้หนี้สิน เงินออม ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนมาเป็นข้อมูลต้องใช้ประกอบประเมินผลก่อนเริ่มโครงการละจัดทำแบบสอบถามเพื่อออกไปสำรวจ

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้ใหญ่บ้านประกาศให้ลุกบ้านทราบถึงการออกสำรวจข้อมูลของทีมงานที่ออกสำรวจสมุนไพรๆโดยแบ่งออกเป็น 8 กลุ่มๆ 6 คน แล้วแบ่งออกสำรววจตามพื้นที่รับผิดชอบจาก 243 ครัวเรือนมีการสำรวจข้อมูลสมุนไพรที่พบตามธรรมชาติ และจะให้ครัวเรือนแต่ละครัวเรือนมีส่วนร่วมในการสำรวจสมุนไพรที่มีอยู่ในบริเวณบ้านหรือที่ปลูกไว้เอง 1.เรียนรู้เรื่องสมุนไพรมากขึ้น 2.เรียนรู้คุณประโยชน์ของสมุนไพรมากขึ้น 3.การเก็บข้อมูลสมุนไพร 4.การเก็บข้อมูล

 

20 20

6. สำรวจสมุนไพรธรรมชาติ ครั้งที่ 1

วันที่ 30 ตุลาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจสมุนไพรตามธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีกระบวนการวางแผนการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน 2.มีฐานข้อมูลชุมชน 3.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนางาน 4.ทุกครัวเรือนมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลชุมชน ร้อยละ 100 5.มีข้อมูลในการวางแผนและแก้ปัญหา

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. มีข้อมูลในชุมชนเกี่ยวกับสมุนไพรที่เกิดในธรรมชาติ ทั้งในบริเวณป่า ริมเขา และสวนยางพารา
  2. การทำงานเป็นกลุ่มและลงพื้นที่ในชุมชน
  3. ได้รู้จักสมุนไพรมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ผู้ใหญ่บ้านประกาศให้ลูกบ้านทราบถึงการออกสำรวจข้อมูลของทีมออกเก็บข้อมูลครัวเรือน และการสำรวจสมุนไพรในชุมชน 2.ทีมการสำรวจแบ่งออกเป็นกลุ่ม8กลุ่มๆละ6คนแล้วแบ่งกันออกสำรวจตามพื้นที่ที่แบ่งกันรับผิดชอบจาก 243ครัวเรือน 3.คณะทำงานนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ มาสรุปผลการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม แบ่งเป็นแต่ละหัวข้อและปัญหาที่ได้สำรวจ ในภาพรวมของหมู่บ้านได้เป็นข้อมูลข่าวสารของโครงการและชุมชนในการวางแผนพัฒนาต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานก่อนก่อนลงพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อม มีคณะทำงาน อสม เยาวชนลงในสำรวจพื้นที่หมู่ 9 บริเวณป่าและริมเขาในสวนยางและสมุนไพรในธรรมชาติ 1. เรียนรู้เรื่องสมุนไพร สรรพคุณ และคุณประโยชน์ 2. ขั้นตอนการทำงานและลงพื้นที่ 3. การเกิดกลุ่มสามัคคีและความพร้อมเพียงกัน


 

48 48

7. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 2

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรมและติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.คณะทำงานมีการประชุมต่อเนื่อง 12 ครั้ง 2.มีการสำรวจข้อมุลชุมชนเกี่ยวกับความขัดแยังในชุมชน 3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และวางแผนออกแบบกิจกรรม 1 แนวทาง 4. มีกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างวัย จำนวน 1 กลุ่ม5.มีเวทีในการพบปะปรึกษาหารือกัน 6.มีปฏิทินกิจกรรม 7.มีแผนการปฏิบัติ 8.มีการแบ่งความรับผิดชอบตามความเหมาะสม 9.มีบทเรียนปัจจัยความสำเร็จ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้มีการวางแผนทำงานในกิจกรรมครั้งต่อไป
  2. มีการยอมรับกันมากขึ้น
  3. มีการเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
  4. ที่ประชุมได้ทราบถึงปัญหาในหมู่บ้านจากข้อมูล
  5. มีเวทีในการพบปะปรึกษาหารือกัน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่อง การนำสมุนไพรมาใช้ในชิวิตประจำวัน มีบางครัวเรือนที่ทำอยู่แล้ว เราน่าจะนำคร้วเรือนเหล่านี้ มาให้ความรู้กับครัวเรือนที่สนใจ เพื่อประหยัดลดรายจ่ายในครัวเรือนและเพื่อสุขภาพของคนในชุมชนได้อีกด้วย ได้เรียนรู้แผนปฎิบัติ ได้เรียนรู้การวิเคาะห์และวางแผนออกแบบกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง 2.มีการแบ่งความรับผิดชอบกันในการทำงานตามความเหมาะสม 3.มีการทำปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมและผู้รับผิดชอบกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม 4.การประชุมทุกครั้งมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จและอุปสรรคต่างๆทุครั้ง 5.ร่วมกันถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างต่อไป -ในการจัดการประชุมจะมีการให้ความรู้และส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้ชีวิตแบบพอเพียงและการออกกำลังกายตามความเหมาะสม - การจัดการประชุม มีการรณรงค์ให้คณะทำงานลดบุหรี่ สุรา และวางแผนที่ จะลด ละ เลิกบุหรี่ สุรา -สถานที่ประชุม มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมในวันนี้ ประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 2 ณ ศาลาประจำหมู่บ้านไร่เหนือ
เริ่มด้วย เปิดประชุม เวลา 13.00 โดยนาง นีรนุช เกิดกุญชร เป็นประธาน ในที่ประชุม ซึ่งคณะกรรมการ ผู้นำชุมชน เข้าร่วมประชุมประจำเดือนของเดือน พฤศจิกายน ตามแผนของกิจกรรม เพื่อพบปะพูดคุยปรึกษาหารือถึงปัญหาครัวเรือนและชุมชน และการปฎิบัติงานในแต่ละกิจกรรมมีอะไรบ้างได้มาร่วมกันวิเคราะห์ซึ่งจากการสำรวจข้อมูลครัวเรือน และข้อมูลสมุนไพร ในครั้งที่ผ่านมา พบปัญหา คือ ปัญหารายรับ – รายจ่ายไม่เพียงพอมีหนี้สิน รายได้น้อย ไม่มีการทำบัญชี รายรับ-รายจ่ายไม่ค่อยมีความรู้เรื่องสมุนไพรในครัวเรือน แต่มีบางครัวเรือนที่นำสมุนไพรมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การทำน้ำยาเอนกประสงค์จากสมุนไพร ทำน้ำหมักชีวภาพ ทำปุ๋ยหมักไว้ใช้กันเองในครัวเรือน เพื่อประหยัดรายจ่าย คณะทำงานได้มานั่งปรึกษาว่า น่าจะนำครัวเรือนที่ทำอยู่แล้วนี้ มาแลกเปลี่ยนความรู้ กับครัวเรือนอื่นๆ ที่สนใจจะได้ทำไว้ใช้ เพื่อประหยัด และลดรายจ่ายในครัวเรือน คณะทำงานจึงเห็นด้วยจึงได้นัดทำกิจกรรมครังต่อไปของโครงการ โดยนัดคณะทำงานดูแผนการปฎิบัติงานว่าต้องทำอย่างไร เตรียมการอย่างไร ซึ่งในกิจกรรมครั้งต่อไปคือการสำรวจ ข้อมูลครัวเรือนและข้อมูลสมุนไพร ครั้งที่ 2และนัดประชุมสภาผู้นำครั้งต่อไป ในวันที่ 7 ธันวาคม2558 ที่ประชุมรับทราบ ผู้ใหญ่ได้กล่าวขอบคุณคณะทำงาน และปิดการประชุม

 

20 20

8. สำรวจสมุนไพรธรรมชาติ ครั้งที่ 2

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสำรวจข้อมูลครัวเรือน สำรวจสมุนไพรตามธรรมชาติ  และในครัวเรือน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีกระบวนการวางแผนการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน 2.มีฐานข้อมูลชุมชน 3.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนางาน 4.ทุกครัวเรือนมีส่วนร่วมในการสำรวจข้อมูลชุมชน ร้อยละ 100 5.มีข้อมูลในการวางแผนและแก้ปัญหา

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการสำรวจในวันนี้คณะทำงานได้พบ สมุนไพรชนิดต่างๆ มีทั้งประเภทไม้ยืนต้น ไม้เลือยเช่น บอรเพชรไหลเผือก หญ้ารีแพ พาโหมต้น ชุมเห็ด ย่านนาง ขมิ้นฤษี หญ้าใต้ใบจากนั้น เมื่อ เวลา 12 .00 น. คณะทำงานได้พักร่วมรับประทานอาหารเที่ยงกัน และพักเหนื่อยเพื่อจะเตรียมตัวลงในตอนบ่าย แล้วลงสำรวจพื้นที่อีกรอบ ในการลงสำรวจก็ได้พูดคุยถึงประโยชน์ ของสมุนไพรที่ได้พบมาจากการลงสำรวจ เช่นใบย่านนางมีสรรพคุณในการแก้โรงความดัน โรคเบาหวานขับสารพิษในร่างหาย เป็นต้นว่าสมุนไพรที่มีโดยธรรมชาติ มีมากมายแต่เราไม่รู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สมุนไพรบางชนิดนำมาเป็นยาป้องกันแมลงได้มีบางครัวเรือนที่รักษาโรคด้านสมุนไพร คณะทำงานก็ได้พูดคุยแล้วเก็บรวบรวมข้อมูลในพื้นที่ ที่ลงสำรวจมาวิเคราะห์ว่าสมุนไพรต้วใหนพบมากที่สุด แล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ด้านใหนได้บ้าง มีสรรพคุณอย่างไร และจากการลงสำรวจได้ประโยชน์แก่ผู้สำรวจ และชุมชนอย่างไรจากการลงพื้นที่สำรวจ นอกจากทำให้เกิดกลุ่ม แล้วยังเกิดความสามัคคีในหมู่คณะทำงานด้วย

กิจกรรมหรือผลงานที่เกิดขึ้น มีการประชุม ร่วมกลุ่มกันก่อนลงพื้นที่สำรวจ เพื่อเตรียมความพร้อมมีคณะทำงาน อสม เยาวชน มีฐานข้อมูลสมุนไพรในหมุ่บ้าน มีกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนางานของการลงสำรวจพื้นที่ ได้พบสมุนไพรหลายชนิดทั้งประเภทยืนต้น และไม้เลื้อย เช่น ชุมเห็ดย่านนาง หญ้ารีแพ หญ้าใต้ใบ ซึ่งส่วนใหญ่พบบริเวณ สวนยาง และบริเวณข้างเขา และจากการสำรวจทำให้เกิดการเชื่อมความสัมพันธ์กับกลุ่มอื่นๆ จากหลายๆกลุ่มที่ได้รวมกลุ่มกันมาสำรวจในหิจกรรมครั้งนี้

สิ่งที่ได้เรียนรู้ รู้จักการวางแผนการทำงานเป็นลำดับขั้นตอนของคณะทำงาน อสม เยาวชนการเรียนรู้เรื่องสมุนไพรในชุมชน การเก็บข้อมูลสมุนไพร การแก้ปัญหาในแต่ละกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ผู้ใหญ่บ้านประกาศให้ลูกบ้านทราบถึงการออกสำรวจข้อมูลของทีมออกเก็บข้อมูลครัวเรือน และการสำรวจสมุนไพรในชุมชน 2.ทีมการสำรวจแบ่งออกเป็นกลุ่ม8กลุ่มๆละ6คนแล้วแบ่งกันออกสำรวจตามพื้นที่ที่แบ่งกันรับผิดชอบจาก 243ครัวเรือน 3.คณะทำงานนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ มาสรุปผลการเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม แบ่งเป็นแต่ละหัวข้อและปัญหาที่ได้สำรวจ ในภาพรวมของหมู่บ้านได้เป็นข้อมูลข่าวสารของโครงการและชุมชนในการวางแผนพัฒนาต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสำรวจสมุนไพรครั้งที่ 2 มีกิจกรรมดังนี้เริ่มด้วย นางนิรนุช เกิดกุญชร ผู้ใหญ่บ้าน เปิดประชุม คณะทำงาน กลุ่ม อสม. เยาวชน เพื่อเตรียมความพร้อม เตรียมเอกสารในการสำรวจ และมีการแบ่งกลุ่มโดยแบ่งกลุ่มออกเป็น 8 กลุ่ม กลุ่มละ 6 คน พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดก่อนออกสำรวจหลังจากนั้นก็ออกสำรวจตามพื้นที่ ที่ได้รับหมอบหมาย คณะทำงานลงพื้นที่พร้อมกัน สำรวจสมุนไพรในบริเวณพื้นที่ของหมู่บ้าน เช่นในสวนยาง สวนปาล์ม และเขตริมข้างเขาบริเวณหมู่บ้าน ซึ่งมีสมุนไพร ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ

 

48 48

9. สำรวจข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพร ครั้งที่ 2

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้การลดหนี้และสร้างรายได้

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.มีกระบวนการวางแผนการทำงานเป็นลำดับขั้นตอน 2.มีฐานข้อมูลชุมชน 3.เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนางาน 4.มีเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการออกสำรวจชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลัก คือ กรีดยางซึ่งรายได้ไม่พอกับรายจ่ายเป็นผลมาจากราคายางตกต่ำ บางครอบครัวต้องหาอาชีพเสริม การทำบันทึกรายรับ- จ่ายมีครัวเรือนที่ทำน้อย มีหนี้สิน จึงจำเป็นที่บางครอบครัวต้องหาอาชีพเสริม ในส่วนของสมุนไพรที่สำรวจพบในครัวเรือน บริเวณบ้าน ส่วนมาก มีตะใคร้ ขมิ้น กะเพรา หัวเปราะ หัวไพล พรึกไทยดำ ดอกอัญชัญ ใบรา โหระพาการเข้าร่วมกิจกรรมได้ผลตอบรับพอสมควร มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกินที่ตั้งไว้ แต่มีบางครัวเรือนยังไม่ค่อยเข้าใจโครงการเท่าที่ควร จึงมีการอธิบายเพิ่มเติมให้เข้าใจมากขึ้น จากการสำรวจทั้ง 3 เขต พบปัญหาคล้ายๆกัน คือ ชาวบ้านบางครัวเรือนยังไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการทำแบบสอบถาม และบางครัวเรือนยังไม่ค่อยเข้าใจถึงโครงการ ในสวนใหญ่จากการสำรวจมีสมุนไพรตามบริเวณบ้านมาก แต่ไม่สามรถนำไปใช้ประโยชน์ได้ มีสมุนไพรบางตัวที่ชาวบ้านไม่รู้จักว่าเป็นสมุนไพรสามรถใช้ประโยชน์ได้ ผู้นำชุมชน ผู้สูงอายุได้ร่วมกันเป็นที่ปรึกษาแนะนำ ในบางส่วนที่รู้ และผู้ออกสำรวจเป็นอย่างดีได้ช่วยอธิบายให้ชาวบ้านอยู่แบบเศรษฐกิจพอเพียง ลดสร้างหนี้ เพิ่มรายได้เข้าครอบครัว โดยใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชนให้เป็นประโยชน์ เพื่อลดปัญหาลงได้บ้าง ไม่มากก็น้อย และสนับสนุนกิจกรรมต่างๆของโครงการ เมื่อได้ข้อมูลหัวข้อมาแล้ว คณะทำงานจะเก็บเอกสารข้อมูลไว้เพื่อทำแผนกิจกรรมต่อไปในการปฏิบัติตามแผนต่อไปผู้ใหญ่ได้กล่าวขอบคุณทีมงาน และผู้ร่วมทำกิจกรรมทุกคนและนัดทำกิจกรรมต่อไปของโครงการ ผลที่เกิดขึ้น คณะทำงาน กลุ่ม อสมออกสำรวจพื้นที่ข้อมูลครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพร ว่ามีสมุนไพรชนิดใหนบ้าง จากการสำรวจพบทั้งที่มีธรรมชาติ และปลุกกันเองสมุนไพรครัวเรือน ส่วนมากพบ ตะใคร้ ขมิ้น กะเพรา หัวเปราะ หัวไพล พรึกไทยดำ ดอกอัญชัญ ใบรา โหรพาคณะทำงานก็ได้ปรึกษาว่าอันใหนที่มีมาก น้อยแล้วนำมาใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง ไม่ว่า จะกิน หรือ เป็นยารักษาโรค หรือแปรรูป ไว้ใช้ในครัวเรือน ลดปัญหารายจ่ายลงได้มั้ง ไม่มากก็น้อย และที่สำคัญเพื่อสุขภาพของคนในชุมชนลดการใช้สารเคมี มาใช้สมุนไพรแทน และยังช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ช่วยปรับสภาพสิ่งแวดล้อมไปได้ในตัว

สิ่งที่ได้เรียนรู้ การทำงานเป็นระบบ เป็นทีม มีกระบวนการวางแผนในการออกสำรวจแต่ละครัง ได้รับคำแนะนำจากผู้สูงอายุ และปราชญ์ชาวบ้านที่มีส่วนร่วมของกิจกรรม ได้ทำงานกับกลุ่มหลายวัย ได้รู้จักพื้นที่ในชุมชนมากขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นเกินความคาดหมาย การร่วมกลุ่ม คณะทำงาน อสม. มีฐานข้อมูลชุมชน ได้ทำความเข้าใจในชุมชนมากขึ้น ทำความเข้าใจในด้าน พื้นที่ที่ลงสำรวจ ได้เข้าถึงครัวเรือนได้สัมผัสจากคนหลายกลุ่มวัย ทำความเข้าใจกับชุมชนได้ดียิ่งขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

  • คณะทำงาน ร่วมกับ อสม.และกลุ่มเยาชน มีการประชุมวางแผนในการสำรวจข้อมูลมีการออกแบบแบบสอบถามร่วมกัน แสำรวจข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายรายได้หนี้สิน เงินออม การมีและใช้สมุนไพรในครัวเรือน น้ำหมักชีวภาพน้ำยาอเนกประสงค์และข้อมูลพื้นฐานของชุมชนโดยใช้แบบสำรวจที่ร่วมกันคิดและออกแบบ
  • เชิญ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. ผู้ใหญ่บ้านสมาชิก อบต. เข้าร่วมระดมความคิดเพื่อร่วมกันกันคิดออกแบบสำรวจและแนวทางการเก็บข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาหมู่บ้านได้แก่ข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้จ่ายรายได้หนี้สิน เงินออม ข้อมูลพื้นฐานของชุมชนมาเป็นข้อมูลต้องใช้ประกอบประเมินผลก่อนเริ่มโครงการละจัดทำแบบสอบถามเพื่อออกไปสำรวจ

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมสำรวจข้อมูลสมุนไพรข้อมูลครัวเรือน ครั้งที่ 2 เริ่มกิจกรรมโดยนางนีรนุช เกิดกุลชร ผู้ใหญ่บ้าน พบปะพูดในเรื่องของการลงสำรวจ ว่าให้แบ่งกลุ่มในการสำรวจเหมือนเดิม และให้สำรวจในพื้นที่ที่ยังไม่ได้ไปสำรวจให้มีการสำรวจทุกครัวเรือน ให้สอบถามตามลำดับขั้นตอนในแบบสำรวจ โดยมีกลุ่ม อสม. เป้นพี่เลี้ยงในการทำกิจกรรมและดำเนินการ เพราะ อสมเป็นผู้ชำนาญการในพื้นที่ และเขตรับผิดชอบของตนเอง โดยแบ่งเป็น 3 เขต รับผิดชอบ จากนั้นคณะทำงาน และกลุ่ม อสม ออกสำรวจพื้นที่ได้ข้อมูล ครัวเรือน ข้อมูลสมุนไพรทำให้มีข้อมูลในการจัดการปฏิบัติงาน

 

20 20

10. จัดทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 1

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้หนี้สินและสร้างสามัคคีโดยการเรียนรู้สมุนไพรชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือนเป้าหมายเข้ารับการอบรมบัญชีครัวเรือน ร้อยละ 100 1.มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน
2.ทราบสถานะตนเองเกี่ยวกับรายรับ รายจ่าย 3.เกิดภูมิคุ้มกันระดับครัวเรือน 4.ครัวเรือนเป้าหมายมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน ร้อยละ 100

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลงานที่เกิดขึ้น:

เชิญหัวหน้าครัวเรือนเข้าร่วมโครงการฯ มาเรียนรู้เรื่องการจัดการจัดทำบัญชีครัวเรือน แผนการลดรายจ่ายและการเพิ่มรายได้ของครัวเรือนโดยแกนนำร่วมกันคิดและจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบชุมชนบ้านไร้เหนือ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น:

  • เรียนรู้และฝึกปฏิบัติเรื่องบัญชีครัวเรือน
  • กำหนดกลุ่มเป้าหมายทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรม
  • มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.แกนนำเชิญครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมาเรียนรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน แผนการลดรายจ่ายและการเพิ่มรายได้ของครัวเรือน โดยแกนนำร่วมกันคิดและจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบชุมชนบ้านไร่เหนือ 2.เชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมโดยแบ่งทีมของแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน แต่ละกลุ่ม จะต้องมี ผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน วัยทำงาน 5 คน นักเรียนหรือเยาวชน 3 คนและประชาชนทั่วไป10 คน
ครั้งที่ 1 1..เรียนรู้และฝึกปฏิบัต เรื่องบัญชีครัวเรือน กำหนดให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยประยุกต์ทำแบบง่ายๆ เพื่อให้สะดวกต่อการบันทึกและรวบรวมข้อมูลดังนี้ -บัญชีรับจ่าย
-บัญชีสุขภาพ -รายจ่ายประจำวัน, ประจำเดือนและมีความจำเป็น -รายจ่ายประจำวัน,ประจำเดือนแต่ไม่มีความจำเป็น -รายจ่ายฟุ่มเฟือย
-รายได้หลัก -รายได้เสริม 2.ให้ทุกคนกลับไปทำต่อที่บ้าน และนัดหมายมาพบกันในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป

ครั้งที่ 2หัวหน้าโครงการให้ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือน มาเล่าให้ฟังว่าตนเองได้อะไรจากการทำบัญชีครัวเรือน พบข้อมูลอะไรที่เป็นรายจ่ายฟุ่มเฟือย และมีแนวทางการปรับลดอย่างไร และให้กลับไปทำต่อที่บ้าน ครั้งนี้จะทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทั้งหมดไว้เป็นสาเหตุของปัญหาและเกิดแนวทางการแก้ปัญหาและนัดหมายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป
ครั้งที่ 3 ตัวแทนโครงการ ออกมาเล่าให้ฟังว่า เมื่อจัดทำบัญชีครัวเรือนไปแล้ว ได้เรียนรู้อะไรบ้าง อะไรคือรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย อะไรคือรายจ่ายที่จำเป็น และมีการปรับลดรายจ่ายอะไรไปบ้างแล้ว

สรุป จากข้อมูลที่ชาวบ้านเข้าเรียนรู้จัดทำบัญชีแต่ละเดือนนำมาพูดคุยกันว่าแต่ละเดือนใช้จ่ายอะไรอย่างไง สามารถลดรายได้ได้หรือไม่มีเงินออมแต่ละเดือนเท่าไหร่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งหาทางแก้ไขที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ เราจะทำอย่างไรถึงจะมีเงินเก็บได้

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้นำหมู่บ้าน นางนีรนุช เกิดกุญชร ได้เชิญครัวเรือนเป้าหมาย เข้าร่วมโครงการจัดทำบัญชีครัวเรือน แผนการลดรายจ่ายละเพิ่มรายได้ของครัวเรือน โดยแกนนำร่วมกันคิด และจัดทำบัญชีครัวเรือนบบชุมชนบ้านไร่เหนือ โดยให้กลุ่มเป้าหมาย แบ่งทีมของแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 10 แต่ละกลุ่มมีผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน วัยทำงาน 5 คน นักเรียนหรือเยาวชน 3 คน และประชาชนทั่วไป 10คน โดยวิทยากร ผู้ชำนาญการจัดทำบัญชีครัวเรือน มาเป็นวิทยากรให้ความรู้ของการใช้เงิน การทำบัญชีครัวเรือนสามารถรู้แหล่งเงินที่มาที่ไปของเงิน ชาวบ้านได้เรียนรู้ถึงการออมเงิน จะได้รู้ถึงไหนจำเป็น สิ่งไหนฟุ่มเฟือย 11.30น ร่วมรับประทานอาหาร 13.00น. วิทยากร บรรยายการลงบันทึกบัญชีต้นทุนการประกอบอาชีพการคิดกำไรขาดทุนจากการประกอบอาชีพ การบันทึกรายได้ ต้นทุนค่าใช้จ่าย การคิดค่าแรงงานตนเอง รายได้หลัก รายได้เสริม ให้ทุกคนไปทำต่อที่บ้าน และนัดหมายมาพบกันนเดือนถัดไป 15.00น. เลิกประชุม

 

100 100

11. อบรมการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารการเงิน

วันที่ 7 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อความเข้าใจในรายงานที่ถูกต้อง

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลงานที่เกิดขึ้นจริง: -เข้าร่วมกิจกรรมของ สสส. -เข้าใจการเขียนโครงการฯ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง:การเรียนรู้การทำรายงาน เรียนรู้การทำรายงานการเงิน เรียนรู้การหักภาษี ณ ที่จ่าย สิ่งที่เกินความคาดหมาย:การเรียนรู้การหักภาษี ณ ที่จ่าย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เข้าร่วมการอบรม เรียนรู้แนวทางการเขียนรายงานผลการดำเนินงาน การจัดทำเอกสารการเบิกจ่ายเงินที่ต้องถูกและเหมาะสมกับประเภทของค่าใช้จ่าย และการหลักการหักภาษี ณ ที่จ่าย

กิจกรรมที่ทำจริง

09.30น.ได้พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามผลงานทำกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อม และบันทึกกิจกรรมรายงานกิจกรรม ที่เกิดขึ้น และไม่พบ สจรส.มอ.ที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เรียนรู้; 1.การเขียนรายงานและการเงิน การบันทึก รายงานลงโปรแกรม การประเมินผล คุณภาพกิจกรรม 2.การเก็บรวมรายงานใน 1กิจกรรม เอกสาร -รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม -ใบเสร็จรับเงิน 1ใบเสร็จ -สำเนาบัตรประชาชน ผู้รับเงิน 2.2เอกสารทางภาษี 2.3รายงาน บันทึกการทำกิจกรรม 3.การหักภาษี ออกภาษีหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ภงด.3 ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

 

2 2

12. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 3

วันที่ 9 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรม  และติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.คณะทำงานมีการประชุมต่อเนื่อง 12 ครั้ง 2.มีการสำรวจข้อมุลชุมชนเกี่ยวกับความขัดแยังในชุมชน 3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และวางแผนออกแบบกิจกรรม 1 แนวทาง 4. มีกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างวัย จำนวน 1 กลุ่ม5.มีเวทีในการพบปะปรึกษาหารือกัน 6.มีปฏิทินกิจกรรม 7.มีแผนการปฏิบัติ 8.มีการแบ่งความรับผิดชอบตามความเหมาะสม 9.มีบทเรียนปัจจัยความสำเร็จ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้มีการวางแผนทำงานในกิจกรรมครั้งต่อไป
  2. ได้ทราบถึงปัญหาจากการทำกิจกรรม คือ การไม่เข้าใจในเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนเท่าที่ควร
  3. คณะทำงานได้ปรึกษาและคิดร่วมกันในการหาทางแก้ไขปัญหาการทำบัญชีครัวเรือน คือ การออกแบบสมุดบันทึกใหม่ที่ทำได้ง่ายและเป็นที่เข้าใจของคนในชุมชน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง 2.มีการแบ่งความรับผิดชอบกันในการทำงานตามความเหมาะสม 3.มีการทำปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมและผู้รับผิดชอบกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม 4.การประชุมทุกครั้งมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จและอุปสรรคต่างๆทุครั้ง 5.ร่วมกันถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างต่อไป -ในการจัดการประชุมจะมีการให้ความรู้และส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้ชีวิตแบบพอเพียงและการออกกำลังกายตามความเหมาะสม - การจัดการประชุม มีการรณรงค์ให้คณะทำงานลดบุหรี่ สุรา และวางแผนที่ จะลด ละ เลิกบุหรี่ สุรา -สถานที่ประชุม มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาครั้งที่ 3 ณ ศาลาประจำหมู่บ้านบ้านไร่เหนือซึ่งเริ่มด้วย นางนีรนุช เกิดกุญช รผู้ใหญ่บ้านไร่เหนือได้เปิดประชุม ซึ่งมีคณะทำงาน สภาผู้นำชุมชน จำนวน 20 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือน ธันวาคม 2558 วึ่งประชุมตามแผนในกิจกรรมสภาผู้นำชุมชนเดือนละครั้ง เพื่อพบปะพูดคุยในเรื่องของการทำกิจกรรม ว่าแตละกิจกรรมมีปัญหาอะไรบ้างที่พบซึ่งจากการได้ประชุมพูดคุยกันในที่ประชุม ได้พบปัญหาในการทำกิจกรรมจากที่ได้ทำกิจกรรมการเรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือนในครั้งที่ผ่านมา เช่น ชาวบ้านไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีครัวเรือนไม่ค่อยเข้าใจในการเขียน รายรับ รายจ่ายเท่าที่ควร บางครัวเรือนก็เข้าใจง่าย และมีการออมเงิน ครัวเรือนใหนที่เข้าใจ ก็ช่วยอธิบายวีธีการเขียนบัญชีรายรับรายจ่ายให้กับครัวเรือนอื่นๆในกลุ่มเป้าหมาย แต่ก็ยังไม่เข้าใจเท่าที่ควร คณะทำงานจึงได้ปรึกษากันว่าจะออกแบบการทำบัญชีรายรับ รายจ่าย ที่ชาวบ้านเข้าใจได้ง่าย และสะดวกต่อการลงบัญทึก และไม่ซับซ้อนมากเกินไป ประธานได้คุยและนัดทำกิจกรรมประชุมสภาผู้นำครั้งต่อไป ในเดือน มกราคม 2559 นัดคณะทำงาน สภาผู้นำชุมชน ดูและวางแผนในการทำกิจกรรมในโครงการนัดการอบรมการทำบัญชีครัวเรือนในครั้งต่อไป นางนีรนุช เกิดกุญชร ได้กล่าวขอบคุณสภาผู้นำทุกคนที่เข้าร่วมประชุม

กิจกรรมหรือผลงานที่เกิดขึ้น ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน คณะทำงาน พุดคุยปัญหาของคนในชุมชน มีบางครัวเรือนไม่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีครัวเรือนไม่ค่อยเข้าใจในการเขียนรายรับ รายจ่ายเท่าที่ควร จึงได้มาคิดวิเคราะห์หาวิธีแก้ไขด้วยการออกแบบแบบการบันทึกการทำบัญชีครัวเรือน ที่บันทึกรายรับ รายจ่ายให้ชาวบ้านเข้าใจได้ง่ายที่สุด และสามารถลงบันทึกได้ โดยไม่ซับซ้อนและติดตามความคืบหน้าร่วมกันอย่างน้อยเดือนละ ครั้ง

 

20 20

13. จัดทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 2

วันที่ 18 ธันวาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเรียนรู้หนี้สินและสร้างสามัคคีโดยการเรียนรู้สมุนไพรชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.ครัวเรือนเป้าหมายเข้ารับการอบรมบัญชีครัวเรือน ร้อยละ 100 1.มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน
2.ทราบสถานะตนเองเกี่ยวกับรายรับ รายจ่าย 3.เกิดภูมิคุ้มกันระดับครัวเรือน 4.ครัวเรือนเป้าหมายมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน ร้อยละ 100

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลงานที่เกิดขึ้น:มีตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือนมาเล่าให้ฟังว่าได้อะไรจากการทำบัญชีครัวเรือน และมีแนวทางปรับลดอย่างไร

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น:

  • สมาชิกได้เรียนรู้การทำบัญชีครัวเรือน รายรับรายจ่ายเพิ่มเติม
  • ครัวเรือนเป้าหมายมีการจัดทำบัญชีครัวเรือน มีการบันทึกข้อมูลรายรับ รายจ่ายของครัวเรือน
  • ได้เรียนรู้จากการทำบัญชีครัวเรือนรายรับรายจ่ายในครัวเรือน โดยรู้ถึงสาเหตุที่มีค่าใช้จ่ายสูง ได้รู้สถานะของตนเองในการใช้จ่าย และแนวทางในการปรับวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อใ้ห้รายรับพอกับรายจ่ายเช่น ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือย การเล่นหวย ลดการเปลี่ยนหรือซื้อวัตถุนอกกายบ่อย ๆ ไม่หลงตามเทคโนโลยีใหม่ ๆ เน้นที่การใช้จ่ายที่จำเป็นในครัวเรือน ใช้ทุนที่มีอยู่ในชุมชนให้เกิดประโยชน์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.แกนนำเชิญครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมาเรียนรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือน แผนการลดรายจ่ายและการเพิ่มรายได้ของครัวเรือน โดยแกนนำร่วมกันคิดและจัดทำบัญชีครัวเรือนแบบชุมชนบ้านไร่เหนือ 2.เชิญกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมโดยแบ่งทีมของแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน แต่ละกลุ่ม จะต้องมี ผู้สูงอายุอย่างน้อย 2 คน วัยทำงาน 5 คน นักเรียนหรือเยาวชน 3 คนและประชาชนทั่วไป10 คน
ครั้งที่ 1 1..เรียนรู้และฝึกปฏิบัต เรื่องบัญชีครัวเรือน กำหนดให้กลุ่มเป้าหมายทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรม มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน โดยประยุกต์ทำแบบง่ายๆ เพื่อให้สะดวกต่อการบันทึกและรวบรวมข้อมูลดังนี้ -บัญชีรับจ่าย
-บัญชีสุขภาพ -รายจ่ายประจำวัน, ประจำเดือนและมีความจำเป็น -รายจ่ายประจำวัน,ประจำเดือนแต่ไม่มีความจำเป็น -รายจ่ายฟุ่มเฟือย
-รายได้หลัก -รายได้เสริม 2.ให้ทุกคนกลับไปทำต่อที่บ้าน และนัดหมายมาพบกันในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป

ครั้งที่ 2หัวหน้าโครงการให้ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือน มาเล่าให้ฟังว่าตนเองได้อะไรจากการทำบัญชีครัวเรือน พบข้อมูลอะไรที่เป็นรายจ่ายฟุ่มเฟือย และมีแนวทางการปรับลดอย่างไร และให้กลับไปทำต่อที่บ้าน ครั้งนี้จะทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทั้งหมดไว้เป็นสาเหตุของปัญหาและเกิดแนวทางการแก้ปัญหาและนัดหมายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไป
ครั้งที่ 3 ตัวแทนโครงการ ออกมาเล่าให้ฟังว่า เมื่อจัดทำบัญชีครัวเรือนไปแล้ว ได้เรียนรู้อะไรบ้าง อะไรคือรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย อะไรคือรายจ่ายที่จำเป็น และมีการปรับลดรายจ่ายอะไรไปบ้างแล้ว

สรุป จากข้อมูลที่ชาวบ้านเข้าเรียนรู้จัดทำบัญชีแต่ละเดือนนำมาพูดคุยกันว่าแต่ละเดือนใช้จ่ายอะไรอย่างไง สามารถลดรายได้ได้หรือไม่มีเงินออมแต่ละเดือนเท่าไหร่ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน พร้อมทั้งหาทางแก้ไขที่มีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ เราจะทำอย่างไรถึงจะมีเงินเก็บได้

กิจกรรมที่ทำจริง

แกนนำครัวเรือนที่เข่าร่วมโครงการมาเรียนรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน มาพร้อมกันเวลา 09.00น.เพื่ออบรมการทำบัญชีครัวเรือนครั้งที่ 2 หัวหน้าโครงการให้ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมกันทำบัญชีครัวเรือนมาเล่าให้ฟังว่าตนเองได้อะไรจากการทำบัญชีครัวเรือน พบข้อมูลอะไรที่เป็นรายจ่ายฟุ่มเฟือย และมีแนวทางการปลับลดอย่างไร ครั้งนี้จะทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทั้งหมดเป็นสาเหตุของปัญหา ตัวแทนผู้เข้าอบรมได้ให้ นงจิรพร เกิดเกลี้ยง เป็นผู้อธิบายถึงสาเหตุและปัญหาต่างๆ ของของครัวเรือนสาเหตุที่เป็นหนี้เพราะมีรายจ่ายมากกว่ารายรับมียอดจ่ายที่ฟุ่มเฟือย ไมพอกับรายรับ จึงก่อให้เกิดหนี้ตามมา รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย เช่นเล่นหวย ซื้อของแพง ฟุ่มเฟือย หลังจากทำบัญชีครัวเรือนจึงได้สาเหตุใดที่ตนเอง เป็นหนี้สินมากมาย ทำบัญชีครัวเรือนสามารถบอกความเป็นอยู่ของเราให้ดีขึ้นได้ 12.00น. ร่วมรับประทานอาหาร 13.00น. เข้าอบรมต่อช่วงบ่าย มีวิทยากรได้สอนการจัดทำบัญชีครัวเรือนจากการทำบัญชีครัวเรือนจากการทำบัญชีครัวเรือนแล้วได้เรียนรู้รายจ่ายที่ฟุ่มเฟือย อะไรคือรายจ่ายที่จำเป็นและมีการปรับลดรายจ่ายอะไรบ้าง จากข้อมูลที่ชาวบ้านเข้าเรียนรู้จัดทำบัญชีแต่ละเดือนสามารถลดรายได้มีเงินออมแต่ละเดือน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันพร้อมทั้งแก้ไขมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ารายได้ เราจะทำอย่างไรห้มีเงินเก็บเงินออม 15.00น. เลิกการอบรม

แกนนำครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมาเรียนรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน มาพร้อมกันเวลา 9.00 น เพื่ออบรมการทำบัญชีครัวเรือนของครังที่ 2หัวหน้าโครงการให้ตัวแทนที่เข้าร่วมจัดทำบัญชีครัวเรือน มาเล่าให้ฟังว่าตนเองได้อะไรจากการทำบัญชีครัวเรือน พบข้อมูลอะไรบ้างที่เป็นรายจ่ายฟุ่มเฟือย และมีแนวทางการปรับลดรายจ่ายในครัวเรือน ในเรื่องการที่เรามีทุนในชุมชนนี้สามารถนำมาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนได้บ้าง ครั้งนี้จะทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทั้งหมดเป็นสาเหตุของปัญหาต่างๆของครัวเรือน สาเหตุที่เป็นหนี้ เพราะมีรายจ่าย มากกว่ารายรับ จ่ายฟุ่มเฟือย เช่น เล่นหวย เปลี่ยนโทรศัพท์อยู่เรื่อย เห่อกับวัตถุนอกกายของเหล่านี้ก่อให้เกิดหนี้ตามมาทีหลัง หลัง จากการทำบัญชีครัวเรือนจึงได้รู้ว่าสาเหตุใดที่ตนเอง เป็นหนี้มาก การจัดทำบัญชีครัวเรือนสามารถเห็นถึงความเป็นอยู่ของเราในแต่ละวัน แต่ละเดือน และคนในชุมชนสามารถปรับตัวในการดำรงชีวิตประจำวันได้ และครัวเรือนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทำให้ชุมชนน่าอยู่

ผลงานที่เกิดขึ้น มีตัวแทนที่เข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือนมาเล่าให้ฟังว่าได้อะไรจากทำบัญชีครัวเรือน และมีแนวทางปรับลดอย่างไร โดยให้ชาวบ้านหันมาใช้ทุนที่มีในชุมชน มาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนลง ไม่จ่ายของฟุ่มเฟือย ให้ชาวบ้านจัดทำบัญชีในครัวเรือน เพื่อที่จะได้รู้ถึงรายรับ รายจ่ายในครัวเรือน และสามารถปรับตัวในการดำรงค์ชีวิตประจำวันได้ และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

 

100 100

14. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 4

วันที่ 7 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรม  และติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.คณะทำงานมีการประชุมต่อเนื่อง 12 ครั้ง 2.มีการสำรวจข้อมุลชุมชนเกี่ยวกับความขัดแยังในชุมชน 3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และวางแผนออกแบบกิจกรรม 1 แนวทาง 4. มีกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างวัย จำนวน 1 กลุ่ม5.มีเวทีในการพบปะปรึกษาหารือกัน 6.มีปฏิทินกิจกรรม 7.มีแผนการปฏิบัติ 8.มีการแบ่งความรับผิดชอบตามความเหมาะสม 9.มีบทเรียนปัจจัยความสำเร็จ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้มีการวางแผนทำงานในกิจกรรมครั้งต่อไป
  2. มีการยอมรับกันมากขึ้น
  3. มีการเสนอแนะและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
  4. มีฐานข้อมูลชุมชนเพื่อดำเนินกิจกรรมของโครงการ มีการประชุมคณะทำงานต่อเนื่อง มีส่วนร่วมในการวิเคราะห์ข้อมูลและวางแผนของชุมชนในครั้งต่อไป

กิจกรรมหรือผลงานที่เกิดขึ้น ได้แก่

ประชุมสภาชุมชนประจำเดือน มกราคม2559มีผู้เข้าร่วมประชุมตามกลุ่มเป้าหมายมีคณะทำงาน กลุ่ม อสม ได้ รายงานผลการปฏิบัติงาน ละกิจกรรมที่ผ่านมา ว่าชุมชนของเรายังมีสมุนไพรที่มีโดยธรรมชาติและปลูกกันเองตามบริเวณข้างบ้าน ที่สำรวจพบ ทั้งชนิด ยืนต้น เถาวัล์ และที่ปลูกกันเองบริเวณบ้าน มี ตะใคร้ ขมิ้น กะเพราหัวเปราะ หัวไพล พรึกไทยดำ ดอกอัญชัญ ใบรา โหระพาที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ มี บอรเพชร ไหลเผือก หญ้ารีแพร พาโหมต้น ชุมเห้ด ย่านนาง ขมิ้นฤษี หญ้าใต้ใบ แต่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์มองข้ามของเหล่านั้นยังขาดความเข้าใจในการไปใช้ไประโยชน์และไม่เห็นคุณค่าของที่มีในชุมชนประชาชนมีน้อยมากที่ทำบัญทึก รายรับรายจ่ายเพราะฉะนั้นเราต้องให้ประชาชนได้ลงบัญทึก รายรับ จ่ายในแต่ละวัน แต่เราต้องหารูปแบบในการลงบัญทึก ให้ชาวบ้านเข้าใจได้ง่ายที่สุด และเขาสามารถลงได้ง่ายกระทัดรัด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง 2.มีการแบ่งความรับผิดชอบกันในการทำงานตามความเหมาะสม 3.มีการทำปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมและผู้รับผิดชอบกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม 4.การประชุมทุกครั้งมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จและอุปสรรคต่างๆทุครั้ง 5.ร่วมกันถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างต่อไป -ในการจัดการประชุมจะมีการให้ความรู้และส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้ชีวิตแบบพอเพียงและการออกกำลังกายตามความเหมาะสม - การจัดการประชุม มีการรณรงค์ให้คณะทำงานลดบุหรี่ สุรา และวางแผนที่ จะลด ละ เลิกบุหรี่ สุรา -สถานที่ประชุม มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านไร่เหนือครั้งที่ 4 ณ ศาลาประจำหมู่บ้านบ้านไร่เหนือ เริ่มด้วย เปิดประชุม เวลา 13.00 โดยนาง นีรนุช เกิดกุญชร เป็นประธานการประชุม มีคณะทำงาน สภาผุ้นำ กลุ่ม อสม เข้าร่วมประชุมประจำเดือน ประธานได้ชี้แจงการทำงาน ของคณะทำงาน ซึ่งมีหัวข้อดังนี้ ปํญหาในการลงพื้นที่ บางครัวเรือนที่ไม่ตอบรับและไม่ให้ความร่วมมือ นั้นมีน้อยลง และเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมเพิ่มขึ้น บางครัวเรือนมีความสุข สนุกกับกิจกรรมของโครงการ ซึ่งได้พุดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันในเรื่องของโครงการ สมุนไพรสร้างความสามัคคี และลดหนี้ที่บ้านไร่เหนือ ว่าชุมชนของเราส่วนใหญ่มีสมุนไพรทั้งที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ และที่ปลูกกันเอง เราน่านำสมุนไพรเหล่านี้มาใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดประโยชน์ เพื่อสุขภาพ และลดรายจ่ายในครัวเรือนได้บ้าง และได้พูดคุยกับผู้สูงอายุในพื้นที่ มีผู้สุงอายุส่วนใหญ่ร่วมมือกับกิจกรรม และสนใจ แล้วยังบอกสรรพคุณของสมุนไพรที่มีในพื้นที่ ว่านำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย คณะทำงานก็ได้ฟัง แล้วเก็บข้อมูลมาใช้ในการทำกิจกรรมครั้งไปการนัดประชุมครั้งต่อไปของเดือน กุมภาพันธ์ 2559 ดูตามแผนการปฏิบัติงาน ว่ามีกิจกรรมอะไรบ้างที่จะดำเนินการ กิจกรรมใดบ้างที่ต้องเพิ่ม การนัดประชุมผ่านคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะทำงานผู้ใหญ่ได้กล่าวขบคุณผู้เข้าร่วมประชุม และปิดเวทีการประชุม

 

20 20

15. ติดตามผลงานร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 30 มกราคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อความเข้าใจและเรียนรู้ในการทำเอกสาร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลงานที่เกิดขึ้น:มีการบันทึกกิจกรรม รายงานกิจกรรมไว้สำหรับ สสส.ตรวจสอบ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น:

  • มีแบบบันทึกกิจกรรม
  • มีหลักฐานการเงินครบถ้วน
  • มีหลักฐานประกอบการดำเนินงานสมบูรณ์ครบทุกกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามผลการดำเนินงานของกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ สจรส.มอ. ตรวจหลักฐาน และรายงาน เพื่อปิดรายงานงวดที่ 1

กิจกรรมที่ทำจริง

09.30น. ได้ไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตาม ผลงานของกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมให้ สจรส.มอ. ตรวจหลักฐาน
1.มีการบันทึกกิจกรรม แบบบันทึกผลกิจกรรม สิ่งที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์ ผลกระทบ รายงานกิจกรรม เพื่อบันทึกข้อมูลในเอกสารเรียนร้อย ให้พิมพ์เข้าโปรแกรมออนไลน์ แต่ละกิจกรรมให้โหลดรูปภาพ 2.หลักฐานการเงิน -ดำเนินตรวจสอบหลักฐานทางการเงิน -ตรวจสอบยอดเงินโครงการฯ และบันทึกออนไลน์ -ตรวจสอบการเขียนเงินสด -ตรวจสอบหลักฐาน สมุดบัญชีธนาคาร ต้องดำเนินกิจกรรมใช้เงินมากกว่าร้อยละ 60 3.หลักฐานประกอบการดำเนินงาน -ลายมือชื่อผู้เข้าร่วมประชุม -หลักฐานการเบิกจ่ายเงิน 4.บันทึกช่วยจำ -บันทึกข้อมูลเข้าโปรแกรมออนไลน์ให้เรียบร้อย -หลักฐานการเงินต้องถูกต้อง ครบถ้วน -ปิดงวดส่งเอกสาร

 

2 2

16. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 5

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมวางแผนกิจกรรม  และติดตามความคืบหน้าในการทำกิจกรรมโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

1.คณะทำงานมีการประชุมต่อเนื่อง 12 ครั้ง 2.มีการสำรวจข้อมุลชุมชนเกี่ยวกับความขัดแยังในชุมชน 3. ประชาชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์และวางแผนออกแบบกิจกรรม 1 แนวทาง 4. มีกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างวัย จำนวน 1 กลุ่ม5.มีเวทีในการพบปะปรึกษาหารือกัน 6.มีปฏิทินกิจกรรม 7.มีแผนการปฏิบัติ 8.มีการแบ่งความรับผิดชอบตามความเหมาะสม 9.มีบทเรียนปัจจัยความสำเร็จ

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

กิจกรรมหรือผลงานที่เกิดขึ้น ผู้ใหญ่เปิดการประชุม มีสภาผู้นำมาประชุมครบตามเป้าหมาย มาประชุมรายงานแผนปฏิบัติงานของกิจกรรมที่ผ่านมา มีกลุ่มผู้สูงอายุให้คำแนะนำเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีในชุมชนและคณะทำงานได้พูดคุยถึงปัญหาที่พบ ว่าชาวบ้านได้มองข้ามทุนที่มีในชุมชน ไม่สามรถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ในชีวิตประจำวันได้ จึงปรึกษากันว่าจะต้องส่งเสริมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับชาวบ้านในเรื่องของสมุนไพร และให้เรียนรู้ถึงการนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้เข้าครัวเรือนและส่งเสริมในการดูแลสุขภาพในด้านสมุนไพรของชุมชน

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง มีการประชุมคณะทำงานต่อเนื่อง มีกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างวัย มีเวทีพบปะพูดคุยปรึกษาหารือในเรื่องการทำกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง ในส่วนปัญหาที่พบก็คล้ายกัน คือ มีบางครัวเรือนไม่ให้ความร่วมมือ ไม่สนใจกับโครงการ และครัวเรือนที่สนใจกับโครงการแต่มองข้ามทุนที่มีอยู่ ในชุมชน ไม่รู้ในการนำไปใช้ประโยชน์ คณะทำงานจึงปรึกษาว่าจะนำกลุ่มเหล่านี้ มาให้ความรู้ด้านสมุนไพรและทำให้เกิดกลุ่มเรียนรู้ เพื่อที่จะได้เป็นตัอย่าง และดึงบางครัวเรือนที่ไม่สนใจ มาเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ

สิ่งที่เกิดขึ้นเกินความขาดหมาย มีแผนการปฏิบัติงาน มีการแบ่งความรับผิดชอบตามความเหมาะสม ประชาชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ลดการขัดแย้งในชุมชน
สิ่งที่ได้เรียนรู้คือ มีความร่วมมือ ความพร้อมในการทำกิจกรรม คณะทำงานมีความสามัคคีและรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายในแต่ละกิจกรรม และสามารถแก้ปัญหาได้ตรงจุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

1.ประชุมคณะทำงาน เพื่อวางแผนการทำงานร่วมกันอย่างน้อยเดือนละครั้ง 2.มีการแบ่งความรับผิดชอบกันในการทำงานตามความเหมาะสม 3.มีการทำปฏิทินการปฏิบัติกิจกรรมและผู้รับผิดชอบกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม 4.การประชุมทุกครั้งมีการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จและอุปสรรคต่างๆทุครั้ง 5.ร่วมกันถอดบทเรียนแห่งความสำเร็จเพื่อเป็นแบบอย่างต่อไป -ในการจัดการประชุมจะมีการให้ความรู้และส่งเสริมให้กลุ่มเป้าหมายเรียนรู้ชีวิตแบบพอเพียงและการออกกำลังกายตามความเหมาะสม - การจัดการประชุม มีการรณรงค์ให้คณะทำงานลดบุหรี่ สุรา และวางแผนที่ จะลด ละ เลิกบุหรี่ สุรา -สถานที่ประชุม มีป้ายห้ามสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์

กิจกรรมที่ทำจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมประชุมสภาผู้นำบ้านไร่เหนือครั้งที่ 5 ณ ศาลาประจำหมู่บ้านบ้านไร่เหนือ
เริ่มด้วย นางนิรนุชเกิดกุญชร ผู้ใหญ่บ้าน เปิดการประชุม มีสภาผู้นำชุมชน ตามกลุ่มเป้าหมาย มาประชุมกันและพูดคุยถึงกิจกรรมที่ผ่านมาว่าได้รับการตอบรับของชุมชนได้รับความร่วมมือจากชุมชนเป็นอย่างดี จากการลงพื้นที่ในการทำกิจกรรม ได้พูดคุยกับชาวบ้านในเรื่องของโครงการที่ได้รับสนับสนุนของ สสส เข้ามาในชุมชน ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของโครงการ มีบางครัวเท่านั้นที่ไม่ให้ความร่มมือ ไม่ยอมรับฟัง ไม่สนใจ แต่ก็มีน้อย ส่วนใหญ่ก็สนใจและยินดีให้ความร่วมมือ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุให้คำแนะนำเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีในชุมชน และยังให้ความรู้กับสมุนไพรในด้านการใช้ประโยชน์ ไม่ว่ากิน หรือใช้เป็นยารักษาโรค และคณะทำงานได้คุยในปัญหาที่พบ ในเรื่องว่าชาวบ้านได้มองข้ามทุนที่มีอยู่ในชุมชน และไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ จึงปรึกษากันว่า จะต้องส่งเสริมและประชาสัมพันธ์ให้ความรู้กับชาวบ้านในเรื่องสมุนไพร และให้เรียนรู้ถึงการใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน และให้เห็นคุณค่าของทุนในชุมชนจากนั้นก็ได้ทำบัญชีปิดงวดแรกของโครงการ ในการพบพี่ลี้ยง ให้นาง จิราภร พลประมวล นางขวัญใจ ชูทอง เป็นผู้พบพี่เลี้ยงทำเอกสารบัญชีของโครงการ และดูแผนปฏิบัติงานครั้งต่อไป จะต้องเตรียมความพร้อม นัดคณะทำงานและกลุ่มเป้าหมาย ข้อมูลของกิจกรรมการทำปิดงบงวดแรก ในวันเสาร์ ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2559 ที่มหาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับหมอบหมายให้ นาง จิราภร พลประมวล และนาง ขวัฐใจ ชูทอง ไปทำรายงานปิดงวด

 

20 20

17. ปิดรายงานงวดร่วมกับพี่เลี้ยง

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อทำความเข้าใจเอกสารและปิดงวด

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

สามารถรวบรวมเอกสารการดำเนินกิจกรรมได้ครบถ้วนทุกกิจกรรม และได้แก้ไขในบางกิจกรรมได้เรียบร้อย โดยได้เรียนรู้ ได้ความรู้ในการทำบัญชีทางการเงินเพิ่มขึ้นจากการตรวจเอกสารร่วมกับพี่เลี้ยง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเอกสาร และการเขียนรายผลกิจกรรมหลังจากได้ไปปรับแก้

กิจกรรมที่ทำจริง

เดินทางมาพบพี่เลี้ยง รพ.สต. เขาพระบาท เพื่อดำเนินการปิดงวดครั้งที่ 1 ได้เรียนรู้ในเรื่อง: -การตรวจหลักฐานการทำงายงาน -การลงบันทึกโปรแกรมออนไลน์ -การลงรูปภาพ -การลงบันทึกรายรับรายจ่าย ได้เรียนรู้การแก้ไขดังนี้ -การเขียนบันทึกรายงานลงโปรแกรมออนไลน์เรื่องบัญชีครัวเรือน -ใบสำคัญรับเงิน -การเปลี่ยนแปลงวันที่ทำกิจกรรม

 

2 2

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 41 17                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 212,830.00 74,880.00                  
คุณภาพกิจกรรม 68 59                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

1.ประชาชนไม่ให้ความร่วมในการทำกิจกรรม

1.เพราะคิดว่าไม่ใช้เรื่องของตนเอง 2.ยังมีการแบ่งพรรค แบ่งพวก

1.มีการเชิญชวนและประชาสัมพันธ์โครงการเพ่ิมขึ้น 2.ชักชวนมาทำกิจกรรมเพิ่มเติม

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. สำรวจสมุนไพรธรรมชาติ ( 25 ก.พ. 2559 )
  2. ร่วมสืบสานสมุนไพรบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 1 ( 27 ก.พ. 2559 )
  3. เรียนรู้การขยายพันธุ์สมุนไพร ครั้งที่ 1 ( 1 มี.ค. 2559 )
  4. วิเคราะห์ทางสมุนไพร ( 5 มี.ค. 2559 )
  5. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 6 ( 7 มี.ค. 2559 )
  6. เรียนรู้การขยายพันธุ์สมุนไพร ครั้งที่ 2 ( 11 มี.ค. 2559 )
  7. สำรวจสมุนไพรธรรมชาติ ( 15 มี.ค. 2559 )
  8. ประชุมติดตามโครงการ ( 26 มี.ค. 2559 )
  9. ร่วมสืบสานสมุนไพรบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 2 ( 31 มี.ค. 2559 )
  10. เรียนรู้การขยายพันธุ์สมุนไพร ครั้งที่ 3 ( 1 เม.ย. 2559 )
  11. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 7 ( 7 เม.ย. 2559 )
  12. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 8 ( 7 พ.ค. 2559 )
  13. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 9 ( 7 มิ.ย. 2559 )
  14. ร่วมสืบสานสมุนไพรบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 3 ( 11 มิ.ย. 2559 )
  15. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 10 ( 7 ก.ค. 2559 )
  16. การคืนข้อมูลสู่ชุมชน ( 8 ก.ค. 2559 )
  17. สภาผู้นำบ้านไร่เหนือ ครั้งที่ 11 ( 7 ส.ค. 2559 )

(................................)
นาง จิราภรณ์ พลประมวล
ผู้รับผิดชอบโครงการ