ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว

กลุ่มเรียนรู้ตามหลักสูตร ครั้งที่ 212 มีนาคม 2559
12
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ณัฐชยา รัตนพันธ์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ ปุ๋ยหมัก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ภาคเช้า เรียนรู้ทฤษฏีจากอาจารย์ จาก มทล.ศรีวิไชย (ไสใหญ่) โดยผู้ช่วยศาสตร์ราจารย์ สมคิด อินช่วย การทำปุ๋ยหมักต่างๆและน้ำหมักปุ๋ยชีวภาพและประชน์ในการนำไปใช้ทั้งให้ต้นไม้โตไว เร่งดอก ไล่แมลง ต่างๆ กระบวนการหมักทีีเกิดขึ้นภายในที่เกิดจากจุลินทรียที่มีอยู่ในธรรมชาตินั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์โดยยอาศัยการหมัก ซึ่งในระยะแรกจุลินทรียจะใช้น้ำตาลหรือกากน้ำตาลเป็นตัวที่ให้จุลินทรียเหล่านั้นกินเป็นอาหารแล้วจุลินทรียจะย่อยสารอาหารอย่างรวดเร็ว จึงทำให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นกว่า 40 องศาเซลเซียส จากนั้นระยะที่สอง เกิดไม่กี่วันถัดมาช่วงระยะนี้จะเกิดอุรหภูมิสุงขึ้น 50-75 องศาเซลเซียส วึ่งทำให้ดารย่อยสลายยาดขึ้นกว่าเดิม จึงต้องกลับกองปุ๋ยเป้นครั้งคราว เพื่อเพื่มอากาสถ่ายเทและกองปุ่ยมีการถ่ายเทความร้อนกระจายสม่ำเสมอ และควรกลับเอาวัสดุที่อยุ่ภายนอกให้เข้ามาได้รับความร้อนภานในกองด้วย โดนอาจารย์บอกว่าระยะมีการสังเคราะห์คล้ายฮิวมัสหรือการเกิดในดินที่มีแร่ธาตุสมบุรณืทั่วๆไป หลังจากนั้นระยยะที่สาม เป้นระยะดารบ่มมีอุณหภูมิปานกลาง แหล่งอาหารที่ใช้ได้ง่ายต่อจุลินทรียก้จะน้อยลง กิจกรรมของจุลินทรียก็จะลดต่ำลงด้วย อุรหภูมิจะใกล้เคียงกับอากาศรอบกองปุ๋ย วึ่งทำให้จุลินทรียเจริยเติบโตเพิ่มขึ้นอีกครั้งหนุ่ง ระยะนี้อาจกินเวลา 3-5 สัปดาหืหรือยืดเป็นเวลาหลายเดือน ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้และสถาพแวดล้อมภานในกองปุ๋ย วิ่งอาจารยืได้อะิบายคร่าวๆว่าในการหมักนั้นมีแบคทีเรียนต่างๆเข้ามาด้วย หรือเชื้อราต่างๆหรือเชื้อโรคต่างๆนั้นแต่ไม่ต้องกังวลเพราะเมื่อเกืดการหมักที่มีอุณหภูมิสูงพวกเชื้อโรถพวกนี้จะตายไป เพราะทนความร้อนไม่ได้ ส่วนแบคทีเรียที่ทนควาามร้อนได้ก้จะมีไม่มากและไม่ทำอันตรายต่อพืชผักต้นไม้
ภาคบ่าย ลงมือปฏิบัติเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก โดยมีส่วนผสมคือผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน + กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วนวิธีผสม : ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ) ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปีหรือใส่ในถังหมักไว้ การทำปุ๋ยแห้ง ส่วนผสม : เศษวัสดุจากพืช 10 ปี๊บ + แกลบ 10 ปี๊บ + มูลสัตว์ 10 ปี๊บ + รำอ่อน 1 ปี๊บ + น้ำหมักพืช 1 ช้อนแกง + กากน้ำตาล 4 ช้อนแกง + น้ำ 1 ถังฝักบัว (18 ลิตร)
วิธีผสม : นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันนำน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล รดให้ทั่ว ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลอมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้ แล้วเกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันให้สูงจากพื้นไม่เกิน 30 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ยแสดงว่า จุลินทรีย์เริ่มทำงานทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออกคลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม อีก 3 - 4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็นถือว่า ใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็นจึงสามารถนำไปใช้ได้
การทำปุ๋ยหมักชีวภาพแบบไล่แมลงแบบสูตรทั่วไป ส่วนผสม : นำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล เหล้าขาว น้ำส้มสายชู อย่างละ 1 ขวด (ขวดกลม) และน้ำสะอาด 10 ขวด
วิธีทำ : ผสมส่วนผสมให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้ 15 วัน (ควรมีฝาปิดมิดชิด) ระหว่างการหมัก (ช่วง 15 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวันเช้า - เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้นและเพื่อระบายแก๊สออกครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือน โดยไม่ต้องเปิดฝาระบายแก๊สเป็นครั้งคราว
การใช้ประโยชน์ : นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกงผสมกับน้ำ 10 ลิตร จากนั้นนำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น (ใช้บ่อยๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน) โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น สำหรับพืชที่กำลังแตกใบอ่อนให้ใช้ในอัตราส่วนที่เจือจางลงโดยหัวเชื้อที่ผสมน้ำแล้วหากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ข่า ตระไคร้หอม ยาสูบโดยนำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ปุ๋ยคอกหมักแบบทั่วไป วิธีทำ : นำมูลสัตว์ แกลบเผา และรำละเอียดมาผสม เข้าด้วยกัน นำน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลผสมน้ำรดกองปุ๋ยที่ผสมคลุกให้ทั่วให้มีความชื้นระดับเดียวกับการทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาไม่เกิน 15 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 3 - 5 วัน โดยไม่ต้องกลับเมื่อปุ๋ยเย็นลงนำไปใช้ได้ โดยทั้งหมดสามรถนำไปประยุกต์ใช้โโยอาจะให้มูลสัตว์ตามที่มีอยู่ในชุมชนมาใชได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต 1.มีผู้เข้าร่วมโครงการ100คน

ผลลัพธ์

  1. ผู้ที่เข้าร่วมสามารถเข้าใจหลักการทำงานของจุลทรีย์อย่างคร่าวๆว่าทำไมกองปุ๋ยถึงร้อนขึ้นจะได้ไม่ไปหาวิธีต่างๆทำที่ไปขัดขวางการทำงานของจุลินทีย์เหล่านี้ทำให้ปุ๋ยไม่สามารถเจรืยได้เต็มที่
  2. ได้รู้สูตรต่างๆของการทำปุ๋ยทั้งการนำวัสดุเหลือใช้ต่างๆ หรือมูลสัตว์ มาหมักทำปุ๋ยชีวภาพ ให้ผู้เข้าร่วมได้ใช้ปรโยชน์สูงสุดของวัสดุจากธรรมชาติที่มีอยู่ในชุมชนและเพื่อเป็นการลดการลดต้นทุนลดการใช้สารเคมีที่ส่งผลอันตรายต่อธรรมชาติและผู้บริโภค

ปัญหาที่พบ : ผู้เข้าร่วมโครงการขาดความรู้ในการหมักปุ๋ยเพราะเข้าใจว่าแค่ผสมส่วนต่างๆแล้วทิ้งไว้ไม่นานก้นำไปใช้ได้แต่กลับส่งผลให้พืชพันธ์เน่าเสียเป็นผลมาการการที่ปุ๋ยหมักยังหมักไม่เข้าที่ตัวปุ๋ยมีอุฯหภูมิสูงและยังมีเชื้อโรคต่างๆ เมื่อนำไปใช้เชื้อโรคเหล่านี้ก้ไปลำรายระบบราก หรือตินอ่อนให้เน่าเสียและตายในที่สุดและให้มองว่าการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพนี้ไม่ได้ประสิทธิภาพ เมื่อผู้เข้าร่วมได้มีความเข้าใจในเรื่องนี้แล้วก้สามารถตรวจเชคเวลาหรืออุณหภูมิของกองปุ๋ยได้และสามารถนำปุ่ยที่ปลอดภัยและมีคุรภาพดีเหล่านี้ไปใช้งานได้จริง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

แกนนำชุมชนคณะทำงาน ตัวแทนครัวเรือน และประขาชนทั่วไป

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี