ผังฟาร์มลดรายจ่ายที่บ้านทรายขาว

เรียนรู้ ผังฟาร์ม ครั้งที่ 38 เมษายน 2559
8
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ณัฐชยา รัตนพันธ์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับผังฟาร์ม  ในการทำเกษตรผสมผสาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมเรียนรู้ผังฟาร์มครั้งที่ 3 ซึ่งวันนี้จะเป็นการเรียนรู้ที่บ้านตัวอย่าง ด้านการเกษตรผสมผสาน มี

  1. นายประจวบ รักบ้าน วรรณละภา ไทยเกื้อ นางปรีดา รัตนพันธ์ ปลูกผักผสมผสานที่มีอยู่ในชุมชนมาแนะ ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอพียงของในหลวงวึ่งในแต่ละครัวเรือนสามรถทำได้อยู่แล้วนั้นแต่วันนี้จะเน้นเป็นการนำแนวคิดตามปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงการประยุกต์พื้นที่ให้เข้ากับสภาพแวดล้อม ในด้านการเกี่ยวกับการเกษตร ได้รวมเอาเทคนิค และวิธีการในการทำการเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ทั้งในด้านการปลูกพืช และด้านการเลี้ยงสัตว์ ยกตัวอย่าง เช่น การเลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ การเลี้ยงหมูหลุม การเลี้ยงเป็ด การเลี้ยงไก่ การเลี้ยงหมู การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจต่างๆ การปลูกผักหวานป่า การปลูกกล้วย การปลูกไผ่หวาน การปลูกพืชเศรษฐกิจต่างๆ รวมถึง วิธีการดูแลจัดการต่างๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากเกษตรกรที่ได้ทดลองแล้วได้ผล หรือที่เรียกว่า ปราชญ์ชาวบ้าน เช่น การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ไว้ใช้เอง เพื่อลดต้นทุน การทำจุลินทรีย์ในการปลูกพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนในการทำการเกษตร รวมทั้งการใช้วิธีธรรมชาติ ในการจัดการกับโรค แมลง เพื่อความสมดุลย์ วึงเรื่องบางเรื่องเราก้ได้เรียนรู้ตามผังฟาร์มไปบ้างแล้ว โดยวันนี้จะเน้นเรื่องสิ่งสำคัญในการบริโภคสิ่งที่คนไทยเราบรืโภคทุกวันนั่นก็คือข้าวนั้นเองโดยสภาพเมื่อก่อนั้นตลอดทุกชุมชนมีการปลูกข้าวทำนาอยู่ทุกครัวเรือน เมื่อเวลาผ่านไปการเปลี่ยนแปลงด้านอาชีพก้มีมากขึ้น ตลอดจนที่ดินทำกินที่เคยเป็นนาก็มาการเปลี่ยนเป็นสวยยางพารา สวนปาล์ม หรือกระทั่งบ้านเรือนต่างๆ จึงจะเห็นได้ว่าตอนนี้ในชุมชนแทบจะไม่มีการทำนาเลยก็ว่าได้ เพราะข้าวนั้นเป็นสิ่งสำคัญจึงอยากส่งเสริมให้ผู่ที่เข้าร่วมโครงการนั้น ได้ปลูกข้าวไว้กินในครัวเรือน เพราะข้าวสารปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูง และในข้าวนั้นอาจมีการใช้สารเคมีที่มีปริมารเยอะและสารเคมีกำจัดแมลงต่างๆ จึงอยากส่งเสริมให้คนในพื้นที่มาปลูกข้าวกันเยอะขึ้นแต่ก้ไม่ได้หมายถึงจะให้ผู้ที่เข้าร่วมทุกคนไม่บริโภคข้าวตามตลาดทั่วไปเพียงแต่ส่งเสริมสำหรับคนที่มีพื้นที่ว่างจากการปลูกสวนยางพาราสวนปาล์มหรือแม้ไม่รู้จะปลูกพืชอะไรดี นี้ก็เป็นเพียงตัวเลือกหนุ่งให้ได้มารับความรู้ โดยหวังผุ้ที่เข้าร่วมชุมชนจะหันมาปลูกไร่กันเยอะขึ้น โดยสายพันะ์ข้าวที่ส่งเสริมคือ ดอกพยอม เป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกเป็นข้าวไร่หลายท้องที่ในภาคใต้ ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี ทนแล้ง เหมาะสำหรับปลูกเป็นพืชแซมสวนยางหรือสวนปาล์มที่มีอายุไม่เยอะ เมล็ดมีคุณภาพดี มีรสชาติอร่อย เป็นข้าวไวต่อช่วงแสงอย่างอ่อน มีอายุเก็บเกี่ยวประมาณ 145-150 วันและผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 250 กิโลกรัมต่อไร่ โดยประโยชน์จากการปลุกข้าวไร่ครั้งนี้ทำให้เราได้ข้าวที่มีคุณค่าอาหารเพราะเราจะได้ข้าวที่ไม่ขัดสีรวมทั้งจมูกข้าวซึ่งมีสารต่างๆที่มีประโยชน์ และลดสารเคมีจากข้าว โดยการปลก สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ดินที่เหมาะสมต่อการปลูกข้าว ควรมีความสามารถในการอุ้มน้ำได้ดี มีค่าความเป็นกรด -ด่างของดิน (pH) ประมาณ 5.0-6.5 การปลูกข้าวไร่ต้องอาศัยความชื้นจากน้ำฝน มักปลูกช่วงต้นฤดูฝนในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และการเริ่มต้นของฤดูฝนในพื้นที่นั้นๆ พบว่าข้าวไร่จะให้ผลผลิตสูงสุดถ้าปลูกในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน

การเตรียมดิน ในการปลูกข้าวไร่บนที่สูงที่มีความลาดชัน ถ้าสามารถหลีกเลี่ยงการขุดพลิกดินและย่อยดินได้จะเกิดผลดีในแง่ของการอนุรักษ์ดินและน้ำ ควรทำร่องระบายน้ำเพื่อกันไม่ให้น้ำไหลบ่าลงในแปลง ในการเตรียมดินไม่ควรทำไว้แต่เนิ่นๆ แล้วทิ้งพื้นที่ไว้นานเกินไปก่อนที่จะปลูกเพราะจะทำให้เกิดปัญหาวัชพืชมาก การปลูก ในสภาพไร่ทำได้ดังนี้

  1. หยอดเป็นหลุม โดยทั่วไปมักใช้จอบขุดเป็นหลุมหรือใช้ด้ามจอบปักลงไปในดินลึก 3-5 เซนติเมตร ห่างกัน 15-20 เซนติเมตร หยอดเมล็ดข้าวหลุมละ 3-5 เมล็ดแล้วกลบ การปลูกวิธีนี้ใช้เมล็ดพันธุ์ 12-15 กิโลกรัมต่อไร่
  2. โรยในร่อง หลังจากคราดดินจนร่วนซุย ใช้เครื่องวนซุยหรือใช้เครื่องปลูกตัววี โดยมี ระยะห่างระหว่างร่อง 25-30 เซนติเมตร โรยเมล็ดแล้วกลบ วิธีนี้ใช้เมล็ดพันธุ์ 15-20 กิโลกรัม การใส่ปุ๋ย ในพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูกมานานดินมักจะเสื่อมโทรมทำให้ผลผลิตของพืชปลูกลดน้อยลง ต้องปรับปรุงบำรุงดิน ซึ่งอาจทำได้หลายรูปแบบ ได้แก่ การปลูกข้าวไร่หมุนเวียนกับพืชตระกูลถั่วบำรุงดินต่างๆ การใส่ปุ๋ยบำรุงดิน ซึ่งอาจเป็นปุ๋ยคอก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยพืชสดหรือปุ๋ยเคมี ซึ่งปุ๋ยเคมีที่แนะนำให้ใช้กับข้าวไร่คือ ปุ๋ย 16-20-0 อัตรา 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่ระยะเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังหยอดเมล็ด เมื่อข้าวเริ่มตั้งท้องควรใส่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต (21-0-0) อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ โดยหว่านให้สม่ำเสมอทั่วแปลง ซึ่งในวันนี้ก้จะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ศึกษาจากสถานที่จริงที่เป็นบ้านตัวอย่างในการทำการเกษตรโดยจะให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้ในเรื่อง ของการปลูกผักและพืชจากนายประจวบ รักบ้าน วรรณละภา ไทยเกื้อ นางปรีดา รันตพันธ์ และนางออง รันตบุรีในการทำข้าวไร่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลผลิต : มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน

ผลลัพท์ :

  1. ได้เรียนรู้จากสถานที่จริงซึ่งเป็นบ้านตัวอย่างที่ได้ทำอยู้แล้ว และได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
  2. ได้เรียนรู้จากบ้านตัวอย่างในการทำเกษตรแบบผสมผสาน คือ นายประจวบ รักบ้าน วรรณละภา ไทยเกื้อ นางปรีดา รัตนพันธ์ ปลูกผักผสมผสานนางณัฐชยา รัตนธ์ นางออง รัตบุรี ทำข้าวไร่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

แกนนำชุมชน  คณะทำงาน  ตัวแทนครัวเรือน ประชาชนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

1.เนื่องจากฝนตกหนักเป็นอุปสรรคในการหว่างไถข้าวไร่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี