บ้านห้วยแหยง สืบสานภูมิปัญญา

เรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 119 ธันวาคม 2558
19
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย สุทัศน์ ปานจีน
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับศิลปะมวยไทย2.เพื่อให้เยาวชนฝึกการใช้ศิลปะมวยไทย3.การถ่ายทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นการเรียนรู้ฐานภูมิปัญญา ครั้งที่ 1 หลังจากได้มีการจัดทำฐานเรียนรู้เรียบร้อยแล้วคณะทำงานพร้อมด้วยกลุ่มเป้าหมายได้มาร่วมเรียนรู้ศิลปะมวยไทยโดยมีการเชิญปราชญ์ผู้มีความรู้ความสามารถในเชิงมวยไทยนายสุชาติ ศิริชุมและนายประเสริฐ บัวกิ่งมาสอนและแนะนำเกี่ยวศิลปะมวยไทยโดยเริมมาที่มาและบอกความหมายของมวยไทย

มวยไทยนั้นมีมาพร้อมกับคนไทยมาแต่โบราณ ซึ่งเป็นมรดกตกทอดทางวัฒนธรรมของชาติไทยมาช้านาน ในสมัยโบราณประเทศไทยมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ จึงมีการสู้รบกันอยู่เสมอๆ ดังนั้นชายไทยจึงนิยมฝึกมวยไทยควบคู่กับการฝึกอาวุธ ต่อมาได้พัฒนามาจนกลายเป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากขึ้น มีลีลาการเคลื่อนไหวที่สวยงามแฝงไว้ด้วยความแข็งแกร่งดุดัน สามารถฝึกเพื่อป้องกันตนเอง เพื่อความแข็งแรงของร่างกาย และเพื่อเป็นอาชีพได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ศิลปะแม่ไม้มวยไทยหมายถึงการนำท่าของการผสมผสาน ของ การใช้ หมัด เท้า เข่า ศอก เพื่อการรุก หรือรับ ในการต่อสู้ด้วย มวยไทยการจะใช้ศิลปะไม้มวยไทย ได้อย่าง ชำนาญ จะต้อง ผ่านการฝึก เบื้องต้น ในการใช้หมัด เท้า เข่าศอกแต่ละอย่าง ให้มีความคล่องแคล่วก่อนจากนั้น จึงจะหัด ใช้ผสมผสาน กันไปทั้งหมัด เท้า เข่า ศอกและศิลปะ การหลบหลีก ซึ่งก็ขึ้นอยู่ กับครูมวยไทย ที่จะคิดดัดแปลง พลิกแพลง เพื่อนำไปใช้ได้ผล ในอดีตมวยไทยไม่ได้ ใส่นวม จะชกกัน แต่ชกด้วยมือเปล่า หรือใช้ผ้าดิบ พันมือ จึงสามารถใช้มือ จับคู่ต่อสู้ เพื่อทุ่ม หัก หรือบิดได้ นักมวยจึงใช้ชั้นเชิง ในการต่อสู้ มวยไทย มากกว่าการใช้พละกำลัง จึงเกิด ท่า มวยมากมาย ต่อมามีการกำหนด ให้นักมวยไทย ใส่นวมในขณะขึ้นชก แข่งขัน เช่นเดียว กับมวยสากล และ มีการออกกฎกติกาต่าง ๆ เพื่อเป็น การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้น แก่ นัก มวยไทย และง่ายต่อการตัดสิน ท่ามวยไทย ที่มีมาแต่อดีต "บางท่าจึงไม่สามารถ นำมาใช้ ในการแข่งขันได้ ถือว่าผิดกติกา" และบางท่านัก มวยไทย ก็ไม่ สามารถ ใช้ได้ถนัด เนื่องจาก มีเครื่อง ป้องกัน ร่างกายมาก ท่ามวย บางท่า จึงถูกลืมเลือนไปในที่สุด ซึ่งทุกคนก็น่าเคยได้ยินชื่อของนักมวยคนนี้คือนายขนมต้ม ซึ่งนายขนมต้มนี้ก็ เป็นเชลยไทยที่ถูกกวาดต้อนไปครั้งกรุงศรีอยุธยาแตก ครั้งที่ ๒ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๑๗ พระเจ้ากรุงอังวะ กษัตริย์พม่าโปรดให้จัดงานพิธีสมโภชมหาเจดีย์ใหญ่ ณ เมืองร่างกุ้ง ทรงตรัสให้หานักมวยไทยฝีมือดี มาเปรียบกับนักมวยพม่า แล้วให้ชกกันที่หน้าพระที่นั่ง ในวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๓๑๗ ซึ่งนายขนมต้มชกชนะนักมวยพม่าถึง ๑๐ คน โดยไม่มีการพักเลย การชกชนะครั้งนี้เป็นการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยในต่างแดนเป็นครั้งแรก ดังนั้นนายขนมจึงเปรียบเสมือน "บิดามวยไทย" และวันที่ ๑๗ มีนาคม ได้ ถือว่า เป็นวันมวยไทย ซึ่ง ท่าของการใช้ศิลปะมวยไทยที่สำคัญที่สุด อันเป็นพื้นฐานของการใช้ไม้มวยไทย ซึ่งผู้ฝึกมวยไทยต้องเรียนรู้ และปฏิบัติให้ได้ก่อนที่จะฝึกลูกไม้ถือว่าเป็นการใช้ไม้มวยไทยที่ละเอียดขึ้น บูรพาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิได้จัดแบ่งแม่ไม้มวยไทยออกเป็น ๑๕ ไม้ ได้แก่ 1)สลับฟันปลา 2)ปักษาแหวกรัง 3)ชวาซัดหอก 4)อิเหนาแทงกริช 5)ยอเขาพระสุเมรุ 6)ตาเถรค้ำฝัก 7)มอญยันหลัก 8)ปักลูกทอย 9)จระเข้ฟาดหาง 10)หักงวงไอยรา 11)นาคาบิดหาง 12)วิรุฬหกกลับ 13)ดับชวาลา 14)ขุนยักษ์จับลิง 15)หักคอเอราวัณ ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมก็จะได้เรียนรู้กัน
อุปกรณ์มวยไทย ในการฝึกซ้อมมวยไทยสมัครเล่น และมวยไทยอาชีพ จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ในการฝึกซ้อมเพื่อสร้างเสริมสมรรถภาพของนักกีฬามวยไทย ให้มีร่างกายแข็งแรง ทนทาน ความคล่องแคล่วว่องไว ในการใช้ทักษะมวยไทย จึงต้องมีอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมรวมถึงอุปกรณ์ในการแข่งขัน ซึ่งอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมและแข่งขันมวยไทยสมัครเล่น มีดังนี้ 1)นวม 2) กระสอบ 3) เป้าเตะ 4)เวทีมวย 5)เชือกกระโดด 6 )สนับแข้ง 7)สนับศอก 8)เครื่องป้องกันศีรษะ 9)เครื่องป้องกันลำตัว
10)กระจับ 11)สลับฟัน
และในส่วนของการ เรียนรู้เรื่องการชกต่อยและวิธีการป้องกันตัว และ เรียนรู้เรื่องท่าไหว้ครูมวยไทยจะสอนในเวลาที่ปฏิบัติ และหลังจากนั้นก็ให้เยาวชได้ฝึกการชกมวย และมีนักมวยที่เป็นเยวชนในชุมชน มาร่วมในกิจกรรมและได้แนนำสอนด้วย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงาน
ผลผลิต 1.มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 180 คน ผลลัพธ์ 1.เป็นการสืนสานภูมิปัญญาไทย โดยเยาวชนได้เรียนรู้เรื่องมวยไทยเกี่ยวกับความหมายของมวยไทยท่าของมวยไทยอุปกรณ์ของมวยไทย เป็นต้น 2.เยาวชนได้ฝึกปฏิบัติจริง 3.ลดช่องว่างระหว่างวัย เกิดความสามัคคีในชุมชนคือการได้มีวัยผู้ใหญ่มาสอนมวยไทยให้กับเยาวชนและเมื่อได้มาทำกิจกรรมร่วมกันก็ทำให้สามัคคีขึ้น 4.ประชาชนและเยาวชนได้เรียนรู้เกี่ยวกับศิลปะมวยไทยที่ถูกต้อง มีการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้คน 3 วัยได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันเป็ฯการลดช่องว่างระหว่างวัยได้ดี 5.เยาวชนหันมาสนใจในการฝึกมวยไทยเพิ่มขึ้นเพื่อพัฒนาเป็นอาชีพต่อไปได้

6.ยาเสพติดในชุมชนลดลงเนื่องจากเยาวชนและประชาชนหันว่าสนใจในการฝึกมวยไทยเพราะสามารถหารายได้เลี้ยงครอบครัวได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 180 คน จากที่ตั้งไว้ 180 คน
ประกอบด้วย

เด็กวัยเรียน 80คน
วัยทำงาน80คน ผู้สูงอายุ 20คน รวม 180 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี