สายน้ำสร้างสุขณ บ้านทุ่งโชน

ทำฝายมีชีวิตเก็บกักน้ำ ครั้งที่112 มกราคม 2559
12
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย สมเด็จ เกื้อกูล
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อฟื้นฟูระบบสภาพแวดล้อมคลองทุ่งโชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. นัดแนะแรงงาน และทำความเข้าใจให้ความรู้ในเรื่องการทำฝาย ประโยชน์ วิธีการสร้าง และการอนุรักษ์สายน้ำบ้านทุ่งโชน แก่ตัวแทนครัวเรือน
  2. ร่วมกันเคลียพื้นที่ ในบริเวณพื้นที่ในการสร้างฝายมีชีวิต
  3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์เช่นไม่ไผ่กระสอบเชือกทราย
  4. รวบรวมกำลังคน แบ่งหน้าที่ในการทำงาน เป็นผลัด ๆ ละ 1-2 ชม ประมาณ 20-30 คน เพื่อการดำเนินงานการสร้างฝายอย่างต่อเนื่อง และไม่กระทบต่อการประกอบอาชีพของครัวเรือน
  5. ลงมือทำฝายมีชีวิต 1 การบรรจุกระสอบทราย การตัดไม้ไผ่การวางผัง และอื่นๆ ตามกระบวนการการทำฝาย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลที่เกิดขึ้น ตัวแทนครัวเรือนให้ความร่วมมือ และมาพร้อมกันบริเวณที่กำหนดจัดการสร้างฝาย เกิดการแลกเปลี่ยน เกิดความตระหนัก ความคิดไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดผลลัพธ์ เกิดการดำเนินการตามแผนที่วางไว้มีการมือร่วมแรง ร่วมใจ และมีการสนับสนุน สมทบอุปกรณ์ต่างๆจากครัวเรือนเช่นกระสอบ ไม้ไผ่อุปกรณ์ตักทรายเป็นต้น เกิดการแบ่งงานกันทำ และแบ่งผลัดกันในการทำงานว่าใครรับผิดชอบช่วงไหน ของวัน ฝ่ายประสานงาน ฝ่ายวัสดุ ฝ่ายอาหาร การเงินเกิดการแลกปลี่ยนเรียนรู้และการนำปัญหามาสรุปแต่ละวัน สรุปความก้าวหน้าในการทำฝายครั้งที่ 1 ดังนี้

  • มีการกำหนดจุดในการสร้างฝายที่ชัดเจน จำนวน 1 จุด
  • ลงตอกเสาไม้ไผ่ ผูกเชือก จัดทำโครงสร้างฝาย ร้อยละ 70 ของโครงสร้าง
  • ต่อเติมหูช้าง ตอกเสาหมุด ขอบเขตแนวหูช้าง ร้อยละ 50 ของโครงสร้างหูช้าง
  • รวมมือกันบรรจุกระสอบทราย ร้อยละ 30 ของจำนวนที่จะใช้ทั้งหมด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

วัยแรงงานจำนวน100 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม้ไผ่หายาก

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายอภิวัฒน์ไชยเดช
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี