รู้เร็ว รู้ไว จัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่

อบรมเชิงปฎิบัติการการจัดเก็บข้อมูลชุมชนเยาวชนเรียนรู้ภูมิปัญญาจัดการภัยพิบัติ24 ตุลาคม 2558
24
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายณัฐพงษ์ คงสุดรู้
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เยาวชนได้มีส่วนร่วมในการหาข้อมูลจากผู้สูงอายุในด้านภูมิปัญญา ความรู้ ประสบการณ์ สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของลักษณะอากาศ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประธานโครงการเปิดกิจกรรม
  2. วิทยากรให้ชุมเล่าปัญหาของชุมชน
  3. ชมวีดีทัศน์เรื่องภัยพิบัติ
  4. วิทยากร ชื่อ ดร.สมพร ช่วยอารีย์ ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักวิทยาบริการที่อยู่ มอ. ปัตตานี นำเสนอความรู้การใช้เครื่อง GPS และกูเกิลเอิร์ธ
  5. ฝึกปฎิบัติการจัดเก็บข้อมูล จัดเก็บที่ตั้งชุมชน พิกัดบ้านแต่ละหลัง พิกัดผู้พิการ สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน
  6. สรุปการฝึกปฎิบัติการจัดเก็บข้อมูล
  7. ปิดกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ฝึกเก็บข้อมูลเกี่ยวกับจัดเก็บที่ตั้งชุมชน พิกัดของบ้านแต่ละหลัง พิกัดผู้พิการ สถานที่สำคัญของหมู่บ้าน สถานที่ที่มีผู้ป่วย สตรีมีครรภ์ สามารถทำแผนที่ระบุบตำแหน่ง GPS ในกูเกิลเอิรธ์ เกิดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลมากขึ้น
  • หมู่บ้านจัดการตนเองบ้านปลายทับใหม่มีความคาดหวัดในการดำเนินโครงการนี้เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนทุกเพศทุกวัยในเรื่องที่หมู่บ้านมีความตระหนักมากที่สุดคือเรื่องภัยพิบัติมุ่งเน้นการเชื่อมกับกลุ่มองค์กรในหมู่บ้าน เช่น ดึงกลุ่มเยาวชนที่มีความเสี่ยงติดยาเสพติเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อกลุ่มดังกล่าวได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และใช้ความสามารถที่มีอยู่ในการช่วยเหลือบ้านเกิดของตน กล้าแสดงออกในทางที่ถูกต้อง กลุ่มผู้สูงอายุผู้สูงอายุที่มีภูมิปัญญา ประสบการณ์ จากการสังเกตต้นกำเนิดของภัยพิบัติแต่ละครั้ง และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ของคนทั้งสามวัย วัยเด็ก คนทำงาน ผู้สูงอายุ ให้ได้ร่วมทำกิจกรรมด้วยกัน
  • การพัฒนาระบบป้องกันและเฝ้าระวังภัยพิบัติเพื่อลดความสูญเสียทั้งชีวิตละทรัพย์สินของพี่น้องบ้านปลายทับใหม่อีกทั้งปัญหาภัยพิบัติบ้านปลายทับใหม่ประสบภัยพิบัติจากพายุฝนตกหนัก ลมครรโชกแรงทำให้บ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหายทุกปีและภัยพิบัติมีความรุนแรงมากขึ้นทุกปีเกิดความเสียหายทั้งบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร อันเนื่องมากจากความแปรปรวนของอากาศ ภัยพิบัติไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใดเมื่อเราระบุตำแหน่ง GPS ในกูเกิลเอิรธ์ เราสามารถรับรู้ได้ว่าฝนจะตกในวันไหน น้ำจะไหลมาทางทิศใดและมีปริมาณเท่าไรทำให้เราสามารับรู้ถึงภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถกำหนดได้ว่าเราควรย้ายผู้ประสบภัยพิบัติไปทางทิศใดหรือจะช่วยเหลือบุคลที่อยู่ในบริเวณไหนก่อนหรือหลัง ทำให้เรามีระบบแบบแผนในการทำงานที่ดียิ่งขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 42 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  1. ผู้สูงอายุ 10 คน
  2. เยาวชนวัยเรียน 17 คน
  3. คนวัยทำงาน 15
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ แต่วิทยากรสามารถแก้ปัญหาโดยใช้แบตเตอรี่สำรองจากแผงโซล่าเซลล์ที่รถวิทยากร

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
น.ส.จารุวรรณ วงษ์เวช
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี