รู้เร็ว รู้ไว จัดการภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่

นำเสนอข้อมูลจากการวิเคราะห์การสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน ถอดบดเรียน คืนข้อมูล และจัดทำแผนภัยพิบัติ18 เมษายน 2559
18
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายณัฐพงษ์ คงสุดรู้
circle
วัตถุประสงค์

จัดเวทีนำเสนอข้อมูจากวิเคราะห์การสำรวจหมู่บ้าน ถอดบทเรียน คืนข้อมูลให้ชุมชนและจัดทำแผนชุมชนร่วมกันเรื่องภัยพิบัติ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

นายเสริม เขียวเข็ม ประธานในเวทีนำเสนอข้อมูลจากวิเคราะห์การสำรวจหมู่บ้านกล่าวสวัสดี และนำเสนอข้อมูลต้องต่อผู้เข้าร่วมเวทีดังนี้ 1. จากวิเคราะห์การสำรวจหมู่บ้านปลายทับใหม่ สามารถสรุปได้ว่า มีบ้านเรือนทั้งหมด 182 หลัง ประชากรทั้งหมด 726 คนแยกเป็น ชาย 367 คนหญิง 359 คน ผู้สูงอายุ(อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป)รวมทั้งสิ้น 47 คน แยกเป็นชาย 25 คนหญิง 22คน คนพิการ รวมทั้งสิ้น 11 คน แยกเป็น ชาย 6 คนหญิง 5 คนอาชีพทำสวนยางพารา จำนวน 144 ครัวเรือน อาชีพทำสวนปาล์ม จำนวน 38 ครัวเรือน

หากมีฝนตกลงมามากว่า 100 มิลลิเมตรต่อชั่วโมง จะมีบ้านที่เสี่ยงต่อการถูกน้ำป่าทะลักเข้าท่วมจำนวน 1 หลัง คือบ้านของนายปราโมชย์ พราหมณี และหากมีฝนตกลงมามากว่า 100 มิลลิเมตรต่อชั่วโมงเป็นเวลา 7 วันติดต่อกันบ้านที่เสี่ยงสไลด์ลงทับนั้นไม่มี
2. วิทยากรนายวรพจน์ แป้นเกิด พูดคุยถอดบทเรียนเกี่ยวกับภัยพิบัติในชุมชน
ปัญหาภัยพิบัติ บ้านปลายทับใหม่ประสบภัยพิบัติจากพายุฝนตกหนัก ลมครรโชกแรงทำให้บ้านเรือนและทรัพย์สินเสียหายทุกปีและภัยพิบัติมีความรุนแรงมากขึ้นทุกปีเกิดความเสียหายทั้งบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร อันเนื่องมากจากความแปรปรวนของอากาศ ภัยพิบัติไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อใด ในรอบปีที่ผ่านมาปี2555-2559บ้านปลายทับใหม่ มีบ้านที่ประสบภัยพิบัติวาตภัย จำนวน 18 หลัง ต้นยางพาราเสียหายจำนวน2,800 ต้น ปาล์มน้ำมัน 20 ต้น หมาก 41ต้น มะพร้าว 14ต้น อีกทั้งเกิดการสไลน์ของหน้าดินทำให้สวนยางพาราเสียหาย 1 แปลง ถนนลูกรังขาดจำนวน 2 สาย คือสายจิตรภิรมย์ และสายไร่ในจึงทำให้ไม่สามารถนำสิ้นค้าเกษตรออกจำหน่ายได้
แนวทางที่คณะืำงานได้วางแผนไว้ดังนี้ ไปปฎิบัติแล้ว 1.มีคณะกรรมการจัดการภัยพิบัติ 2.มีการพัฒนาศักยภาพคณะทำงาน 3.มีการประชุมร่วม วิเคราะห์ปัญหาร่วมกันทำประชาคม ทำกิจกรรมร่วมกัน 4.มีฐานข้อมูลGIS ของหมู่บ้าน 5.มีระบบการเฝ้าระวังและป้องกันภัยพิบัติธรรมชาติ 6.มีอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยพิบัติจำนวน1ชุด 7.มีศูนย์เฝ้าระวังภัยพิบัติ 8.มีเส้นทางหนีภัยพิบัติ 9.มีสถานที่หลบภัยพิบัติ 10.มีภาคีร่วม ท้องที่ ท้องถิ่น รพสต. ปภ. ดังนั้นแสดงให้เห็นถึงการตื่นรู้ของพี่น้องบ้านปลายทับใหม่ ที่ต้องการพึ่งพาตนเอง ช่วยเหลือกันเองก่อนที่จะรอความช่วยเหลือจากภาครัฐ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีเวทีนำเสนอข้อมูจากวิเคราะห์การสำรวจหมู่บ้าน 1 ครั้ง
  2. มีการคืนข้อมูลให้ชุมชนและจัดทำแผนชุมชนร่วมกันเรื่องภัยพิบัติ
  3. เกิดผลการถอดบทเรียนการจัดการภัยพิบัติ 1 ชุด
  4. มีแนวทางในการดำเนินงานเมื่อเกิดภัยพิบัติชุมชน 1 ฉบับ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  1. เยาวชน
  2. กองทุนสวัสดืการ
  3. อสม.
  4. ผู้สูงอายุ
  5. สภองค์กรชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ได้รับการสนับสนุนจากทีมพีเลี้ยงเป็นอย่างดี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี