สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรียนรู้และสืบทอดการทำเรือพระ 1/1023 กรกฎาคม 2016
23
กรกฎาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายรอศักดิ์ อาดำ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมรักษาขนบประเพณีท้องถิ่นแก่เยาวชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1.แกนนำและปราชญ์เรือพระวางแผนการสอนนักเรียน 2.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการฝึกสอน 3. จัดอบรมให้ความรู้เรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีและประวัติเรือพระ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ปราชญ์ได้อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมและประวัติเรือพระ มีดังนี้     ประวัติความเป็นมา  ประเพณีลากพระ บางท้องถิ่นเรียกว่า "ประเพณีชักพระ" เป็นประเพณีพื้นเมืองของชาวภาคใต้ ได้สืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณถึงปัจจุบัน และเป็นประเพณีที่มีกำหนดการแน่นอน คือ จัดทำในแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ตรงกับวันออกพรรษา     ที่มาของประเพณี เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชได้ 7 พรรษา และ พรรษาที่ 7 นั้นได้เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้นออกพรรษาแล้ว ยามเช้าของแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ได้เสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ ในการนี้พุทธบริษัททั้ง 4 ประกอบด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และ อุบาสิกา ซึ่งรอคอยพระพุทธองค์มาเป็นเวลานานถึง 3 เดือน ครั้งทราบว่า พระพุทธเจ้าเสด็จกลับ จึงได้รับเสด็จและได้นำภัตตาหารคาวหวานไปถวายด้วย ผู้ไปทีหลังนั่งไกล ไม่สามารถเข้าไปถวายภัตตาหารด้วยตัวเองได้ จึงใช้ใบไม้ห่ออาหารและส่งผ่านชุมชนต่อๆกันไป เพื่อขอความอนุเคราะห์ต่อผู้นั่งใกล้ๆ ถวายแทน บุญประเพณีลากพระ จึงมีขนมต้มหรือที่เรียกตามภาษาถิ่นว่า "ต้ม" เป็นขนมประจำประเพณีทำด้วยข้าวเหนียว ห่อด้วยใบไม้อ่อนๆ เช่น ใบจาก ใบลาน ใบตาล ใบมะพร้าว หรือ ใบกะพ้อ เป็นต้น     การลากพระ เป็นการบำเพ็ญบุญประเพณีในเทศกาลคล้ายวันพระพุทธเจ้าเสด็จกลับจากสรวงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่โลกมนุษย์ เพื่อให้ประเพณีดังกล่าวโน้มน้าวเร้าจิตใจให้คิดระลึกถึงวันที่พระพุทธองค์ทรงกลับมาสู่มนุษย์โลก และ โปรดเวไนยสัตว์จนเสด็จดับขันปรินิพพาน ประเพณีลากพระจัดทำในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 โดยอัญเชิญพระพุทธรูปปางห้ามญาติ หรือ ปางห้ามสมุทร ซึ่งเป็นปางประทับยืนปละทรงยกพระหัตถ์เสมอพระอุระ ประดิษฐานเหนือบุษบกคือมณฑปขนาดเล็กสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป ที่จัดตั้งไว้ในยานพาหนะสำหรับลากจูงต่อไป ขบวนลากจูงเรือพระนี้ เป็นประเพณีที่ชาวภาคใต้เรียกว่า "พิธีลากพระ"

    การลากพระแบ่งเป็น 2 ประเภท     เนื่องจากพื้นที่ภาคใต้บางแห่งเป็นที่ราบลุ่ม ชุมชนที่อยู่อาศัยในสถานที่แห่งนี้ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้ทะเล แม่น้ำลำคลอง การคมนาคมใช้เรือเป็นพาหนะ สำหรับชุมชนที่อาศัยในที่ราบสูงใช้เกวียนหรือรถยนต์เป็นพาหนะ ดังนั้น บุญประเพณีลากพระจำเป็นต้องใช้ยานพาหนะให้เหมาะกับพื้นที่ จึงจะประกอบพิธีลากพระได้ทั่วภูมิภาคและต่อละสถาน ที่มีวัตถุประสงค์อย่างเดียวกันต่างกันแต่รูปแบบ หรือ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในพิธีดังนี้     1.การลากพระเรือ เป็นประเพณีลากพระทางน้ำของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบลุ่ม การคมนาคมใช้เรือเป็นพาหนะ     2.การลากพระบก เป็นประเพณ๊ลากพระทางบกของชุมชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในที่ราบสูง การคมนาคมในชีวิตประจำวันใช้เกวียนหรือรถยนต์และรถไฟเป็นพาหนะ แต่ร้านม้าที่จัดตั้งบุษบกใช้คำว่า "เรือ" นำหน้าจึงเรียกว่า "เรือพระบก" สันนิษฐานว่า การลากพระคงเริ่มจากลากพระเรือก่อนที่จะดัดแปลงมาเป็นลากพระบก

      การจัดเตรียมอุปกรณ์ในการลากพระ     1.เครื่องประโคม ประกอบด้วย ฆ้อง ระฆัง ตะโพน (กลองชนิดหนึ่ง)     2.พระพุทธรูปประทับยืนปางห้ามสมุทร หรือ ปางห้ามญาติ จำนวน 1 องค์ หรือ 2 องค์ ภาษาถิ่นเรียกว่า "พระลาก" นิยมใช้ไม่เกิน 2 องค์     3.ยานพาหนะ สำหรับจัดตั้งบุษบก ถ้าลากพระทางน้ำใช้เรือเป็นพาหนะ ลากพระทางบกใช้ร้านม้าเป็นพาหนะ         3.1 ลากพระทางน้ำ จัดเตรียมเรือขนาดใหญ่ 1 ลำ หรือ เรือขนาดกลาง 2 ลำ ผูกติดกันเป็นคู่ขนาน วางคาน ปูพื้นและขนาดพื้นที่กว้างไม่น้อยกว่า 4*4 เมตร เพื่อวางบุษบกและอุปกรณ์อื่นๆ สะดวก         3.2 ลากพระทางบก จัดทำร้านม้าวางบนคานเลื่อน 2 แผ่น ดังเลื่อนที่สุนัขลากบนน้ำแข็ง ต้องสร้างด้วยวัสดุที่แข็งแรง แต่ลากเลื่อนสะดวก สำหรับบุษบกจัดตั้งบนร้านม้ายึดทุกส่วนติดกันให้แข็งแรง มิฉะนั้นอาจจะหักพัง เพราะบางท้องถิ่นมีประเพณีแย่งเรือพระซึ่งกันและกันด้วย (จะเล่าให้ทราบในขบวนพิธีลากพระ) ปัจจุบันบางท้องถิ่นใช้รถยนต์แทนร้านม้า ทำให้ความสนุกสนานในการลากพระบกลดน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแย่งชิงเรือพระไม่สามารถกระทำได้     4.เชือกลากเรือพระ วัสดุลากจูง ถ้าลากพระทางน้ำใช้เชือกลากพระ เพราะน้ำหนักน้อยกว่าหรือไม่ ถ้าลากพระทางบกนิยมใช้ไม้ไผ่แทนเชือก เพราะประชาชนจับลากจูงสะดวกกว่าเชือก
    ขบวนลากพระ     การลากพระทั้งทางบกและทางน้ำ มีทั้งสิ่งที่เหมือนกันและต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานที่และยานพาหนะที่ใช้เป็นเรือพระ     สิ่งที่แตกต่างกัน คือ การลากพระทางน้ำ เนื่องจากใช้เรือเพื่อจัดตั้งบุษบกและใช้เรือยาวขนาดหลายๆฝีพาย พร้อมทั้งเรือเล็กทุกขนาดลากจูง กรรมวิธีก็คือ เรือลากจูงผูกติดกับเชือกลากเรือพระเป็นขบวนยาวสุดสายตา เรียงหน้าขนานไปตามลำคลองเหมือนเป็นฝูงใหญ่ลงว่ายน้ำพร้อมกัน สายน้ำที่ใสสะอาดปราศจากมลภาวะ ถึงกับต้องเปลี่ยนสีที่เกิดจากเงาสะท้อน ย้อนแสงสีเขียว เหลืองแดงของอาภรณ์หนุ่มสาวที่สรรหามาแต่งตัวยั่วกัน เช่น เรือยางบางลำแต่งกายด้วยสีม่วงหรือสีแดง ทั้ง 30 ฝีพาย สายน้ำยิ่งดูยิ่งงามยามเรือผ่าน เห็นด้วยกับคำว่า "น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า" เรือทุกลำต่างคนต่างพาย พร้อมทักทายเพื่อนร่วมงานเป็นฉันท์มิตรที่ค้นเคยมาแต่ก่อนก็สาดน้ำเข้าใส่สกิจใจแทนวาจา ต่างเพศ ต่างฐานะ ต่างวัย แต่เสมอกันด้วยศรัทธาร่วมใจลากจูงเรือพระไปยับสถานที่ซึ่งกำหนดไว้ ให้ทันเพลาถวายภัตตาหารเพลแด่ภิกษุสามเณรร่วมกัน ประชาชนทั้งสองฝั่งคลอง เมื่อขบวนเรือพระมาถึงหน้าบ้าน ยกภาชนะขนมต้นลงเรือไปแขวนพระหัตถ์พระพุทธรูป ซึ่งประทับยืนอยู่ในบุษบก แล้วก็รีบพายเรือของตนไปผูกติดกับเชือกลากเรือพระเข้าขบวน มือพายเรือปากทักทายเจรจาพาทีกับพี่น้องน้าป้าต่อไป     การลากพระทางบก แตกต่างจากลากพระทางน้ำ คือ การใช้แรงคนเดินเท้าลากจูงเรือพระ ตั้งขบวนเดินลัดตัดทุ่งนา หมู่บ้าน ผ่านคูหนองร่องลำธาร โดยใช้ไม้ไผ่ผูกติดโคนต่อปลายให้ยาวตามที่ต้องการผูกติดกับเรือพระเป็นคู่ขนานหลายๆเส้นแทนเชือก เพราะสะดวกในการจับลากจูงขบวนผ่านหมู่บ้านใด ประชาชนนำขนมต้มมาแขวนพระหัตถ์พระพุทธรูปหรือผูกห้อยกับร้านม้า ร่วมอนุโมทนาแล้วเสร็จ รีบก้าวไปเข้าขบวนลากพระตามประเพณี บางคนแย่งเรือพระหรือบังคับให้อ้อมโค้งออกนอกเส้นทาง หวังจะให้เรือพระผ่านทุ่งนาของตน เพราะมีความเชื่อว่า เรือพระผ่านท้องทุ่งแห่งใด จะทำให้ข้าวกล้าพืชพันธุ์ธัญญาหารงอกไพบูลย์ การลากพระบก มีทั้งนันทนาการ มีความสนุกสนาน ตลกขบขันและความสัมพันธ์ก็เกิดขึ้น เป็นต้นว่าขบวนผ่านลงน้ำทุกคนก็เปียกน้ำ ผ่านโคลนตมก็เปื้อนโคลนตม บางครั้งแย่งเรือพระซึ่งกันและกัน อีกกลุ่มหนึ่งลากไปข้างหน้า อีกกลุ่มหนึ่งดึงถอยหลัง เพราะอยากเปลี่ยนเส้นทางจนกลายเป็นกีฬาชักเย่อไปโดยไม่เจตนา เสียงหัวหน้ากลุ่มและลูกน้องร้องตะโกนหาแนวร่วมจากชุมชน ประสมประสานเสียงกับเครื่องประโคม เช่น ระฆัง ตะโพน ฆ้อง ก้องกัมปนาทสะเทือนทุ่ง หากขบวนมุ่งตรงเข้าหมู่บ้านใด หมูจะแหกคอก วัวควายวิ่งออกนอกบ้านพลัดถิ่นหลงฝูง เชือกผูกล่ามจูงขาดกระจัดกระจาย เหตุการณ์เหล่านี้ ไม่มีใครโกรธและโทษใคร เพราะบุญประเพณีเป็นที่ยึดใจ ความโกรธไม่สามารถมาบัญชาให้ใครโกรธใคร เพราะจิตใจพกพาอภัยทานตั้งแต่ก่อนจะร่วมงานซึ่งกันและกัน ความผิดพลาดทั้งหลายละลายด้วยการให้อภัยโทษ สิ่งที่เหมือนกัน คือ ขบวนลากพระทั้งทางบกและทางน้ำ ต่างมุ่งหน้าไปยังสถานที่แห่งเดียวกัน เพื่อบำเพ็ญทำกิจกรรมและนันทนาการร่วมกัน สถานที่ดังกล่าวจะเป็นศูนย์กลางท้องถิ่นนั้นๆ เรือพระที่ขบวนลากมาจากวัดเหนือ วัดใต้ หรือ จากวัดอื่นใด ทั้งเรือพระบกและพระน้ำ จะลากไปหยุดร่วมกัน ณ สถานที่นั้นและจะถึงก่อนเวลาถวายภัตตาหารเพลแด่พระสงฆ์ทุกๆ ขบวน

      กิจกรรมประจำประเพณี     แต่ละสถานที่อาจจะแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและค่านิยมของชุมชน กิจกรรมที่จัดทำทั่วไป ได้แก่     1.ประกวดเรือพระ หลักเกณฑ์และวิธีคัดเลือก ตัดสินแพ้ชนะ พิจารณาถึงความสวยงาม ส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีชาวภาคใต้ทั้งเรือพระบกและเรือพระน้ำ ได้ประดับด้วยสิ่งประดิษฐ์อันวิจิตรการตา เช่น เรือพระบกคานรองร้านม้าและสลักเป็นพญานาค 2 ตัว ยกหัวชูหงอนสะบัดหาง เลื้อยเคียงคู่ประคองบุษบกไปตามเส้นทาง ยิ่งดูยิ่งเพิ่มศรัทธาเร้าใจ จนเข้าไปร่วมขบวนโดยไม่รู้สึกเหนื่อยหน่าย     2.การแข่งตะโพน ซึ่งเป็นกลองชนิดหนึ่ง หัวสอบท้ายสอบตัวตะโพนทำด้วยไม้ขึงด้วยหนังหัวท้าย มีขารอง ตีด้วยฝ่ามือ (ภาษาถิ่นบางแห่งเรียกว่า "ปืด") เข้าทำการแข่งขันครั้งละคู่ ตัดสินโดยการฟังเสียงเป็นสำคัญ วิธีแข่งขัน เรียงตะโพนตามกัน 2 ใบ ใบแรกจะตั้งเสียงตีก่อน ใบที่ 2 จะตัดเสียงทีหลัง คณะกรรมการจะดักฟังเสียงทางด้านหลังของตะโพนทั้ง 2 ใบ และต้องอยู่ห่างไกล จึงสามารถแยกเสียงตั้งและเสียงตัดได้ดี คู่แข่งขันจะสลับวางด้านหน้าและด้านหลังอย่างน้อยคนละหนึ่งครั้ง ตะโพนอีกประเภทหนึ่ง ตีด้วยไม้ ผู้ตีกลองต้องแข็งแรง วิธีแข่งขันจะตีแรงๆ รัวเร็วๆ และช่วงเวลาตียาวนาน ผลัดเปลี่ยนตีโชว์คนละครั้ง     3.แข่งเรือยาว กำหนดรุ่นตามจำนวนฝีพาย กติการและวิธีแข่งขัน ตัดสินการแพ้ชนะที่ความเร็วช้ากว่ากัน ดังแข่งขันเรือยาวทั่วไป     4.แข่งขันซัดขนมต้ม เป็นกีฬาที่รุนแรง ผู้แข่งขันต้องตาเร็ว มือเร็ว มีทักษะในการขว้างปาแม่นยำด้วย     อุปกรณ์ในการแข่งขัน คือ ขนมต้มสามเหลี่ยมและจัดทำเป็นขนมต้มชนิดแข่งขันเฉพาะ บางแห่งใช้ข้าวเหนียวผสมทรายห่อด้วยใบกะพ้อ ต้มหรือนึ่งจนแห้งให้ข้าวเหนียวแข็ง วิธีแข่งขัน แข่งเป็นคู่ๆ และใช้สนามกว้างๆ ผู้ชมยืนห่างจากนักกีฬาในระยะที่ปลอดภัย เตรียมการโดยคู่แข่งมีขนมต้มข้างละ 30-40 ลูก ยืนห่างกันประมาณ 12 เมตร กติกาในการแข่งขัน ใช้ขนมต้มปาให้ถูกร่างกายของคู่แข่งให้มากที่สุด ห้ามปาต่ำกว่าเข็มขัด เมื่อหมดขนมต้มนับจำนวนที่ปาถูกร่างกายคู่แข่งเป็นสำคัญ เมื่อจบกิจกรรมต่างวัดต่างลากเรือพระของตนกลับ สนุกสนานสั่งลาก่อนจากฝากมิตรต่อไป     ดังนั้น งานประเพณีลากพระ จะเป็นงานเทศกาลบุญกุศลเท่านั้นก็หาไม่ได้ แต่เป็นประเพณีเสริมสร้างสามัคคี อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของชาวภาคใต้ ให้สืบสานไปสู่เยาวชนคนรุ่นหลัง และคงเป็นมรดกสังคมคงอยู่คู่ไทยถิ่นใต้ชั่วนิรันดร์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

เยาวชน อายุ 9-15 ปีในหมู่บ้าน จำนวน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไมมี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี