สานชุมชน รวมพลเครือข่าย สู่เป้าหมายบ้านซอย 10 วิถีพอเพียง

จัดอบรมเชิงปฏิบัติการน้ำดื่มสะอาดปราศจากสารปนเปื้อน13 สิงหาคม 2016
13
สิงหาคม 2016รายงานจากพื้นที่ โดย นายรอศักดิ์ อาดำ
circle
วัตถุประสงค์

ให้ความรู้น้ำดื่มสะอาดปราศจากสารปนเปื้อนให้แก่ครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กำหนดการอบรม

-9.00 น ลงทะเบียน -9.30 น อบรมให้ความรู้เรื่องวิธีการทำน้ำดื่มให้สะอาดและปลอดภัย - 12.00 นพักรับประทานอาหารกลางวัน - 13.00 นฝึกปฏิบัติการทำน้้ำดื่มให้สะอาด - 15.00 นจบการอบรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวแทนครัวเรือน  อสม แกนนำ คณะทำงานสภาผู้นำ  จำนวน 50 คน ได้เรียนรู้การทำน้ำดื่มสะอาดด้วยตนเองและความรู้การผลิตน้ำประปา ดังนี้

"ขั้นตอนการผลิตน้ำประปา"

น้ำประปา เป็นน้ำที่ผ่านขบวนการต่าง ๆ มากมายกว่าจะเป็นน้ำประปาให้บริการแก่ประชาชนได้นั้น มีขั้นตอนการผลิตหลายชั้นตอน และต้องมีการลงทุนที่สูงมาก  ดังขบวนการผลิตต่อไปนี้

  1. การสูบน้ำ    การผลิตน้ำประปา เริ่มจาก "โรงสูบน้ำแรงต่ำ" ทำการสูบน้ำดิบจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อลำเลียงเข้าสู่ระบบผลิต ซึ่งน้ำดิบที่สามารถนำมาผลิตน้ำประปาได้นั้นต้องเป็นน้ำที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่มีสิ่งสกปรกโสโครกปนเปื้อนเกินกว่าที่กำหนด ซึ่งได้ผ่านการวิเคราะห์ตรวจสอบจากนักวิทยาศาสตร์แล้วว่าสามารถนำมาใช้ผลิตเป็นน้ำประปาได้ และต้องมีปริมาณมากเพียงพอที่จะนำมาผลิตน้ำประปาได้อย่างต่อเนื่อง

  2. การปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ    น้ำดิบที่สูบเข้ามาแล้ว จะถูกผสมด้วยสารเคมี เช่น สารส้มและปูนขาว  เพื่อทำการปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบ สารละลายสารส้มจะช่วยให้มีการตกตะกอนได้ดียิ่งขึ้น และสารละลายปูนขาวจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของตะไคร่น้ำหรือสาหร่ายในน้ำ หรือบางครั้งจะมีการเติมคลอรีน เพื่อทำการฆ่าเชื้อโรคที่อาจปะปนมากับน้ำในชั้นต้นนี้ก่อน

  3. การตกตะกอน    ขั้นตอนนี้จะปล่อยน้ำที่ผสมสารส้มและปูนขาวแล้ว  ที่ทำให้เกิดการหมุนวนเวียนเพื่อให้น้ำกับสารเคมีรวมตัวกันจะช่วยให้มีการจับตัวของตะกอนได้ดียิ่งขึ้น และจะนำน้ำเหล่านั้นให้เข้าสู่ถังตะกอนที่มีขนาดใหญ่ เพื่อทำให้เกิดน้ำนิ่ง ตะกอนที่มีขนาดใหญ่น้ำหนักมาก จะตกลงสู่ก้นถัง และถูกดูดทิ้ง น้ำใสด้านบนจะไหลตามรางรับน้ำเข้าสู่ขั้นตอนต่อไป

  4. การกรอง    ในการกรองจะใช้ทรายหยาบและทรายละเอียดเพื่อการกรองตะกอนขนาดเล็กมากในน้ำ และให้มีความใสสะอาดมากขึ้น ซึ่งในขั้นตอนนี้น้ำที่ผ่านการกรองจะมีความใสมากแต่จะมีความขุ่นหลงเหลืออยู่ประมาณ 0.2-2.0 หน่วยความขุ่น และทรายกรองจะมีการล้างทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้การกรองมีประสิทธิภาพ

  5. การฆ่าเชื้อโรค    น้ำที่ผ่านการกรองมาแล้วจะมีความใส แต่อาจจะมีเชื้อโรคเจือปนมากับน้ำ ฉะนั้นจึงจะต้องทำการฆ่าเชื้อโรค โดยใช้ คลอรีน ซึ่งคลอรีนนี้สามารถฆ่าเชื้อโรคได้เป็นอย่างดี น้ำที่ได้รับการผสมคลอรีนแล้ว เรียกกันว่า "น้ำประปา" สามารถนำมาใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้  และจะทำการจัดเก็บไว้ในถังขนาดใหญ่ เรียกว่า ถังน้ำใส เพื่อจัดการบริการต่อไป

  6. การควบคุมคุณภาพน้ำประปา    ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ  เพราะน้ำประปาที่ทำการผลิตมาแล้วนั้น จะต้องวิเคราะห์ตรวจสอบอีกครั้งจากนักวิทยาศาสตร์ และการตรวจสอบนี้จะดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้น้ำประปาที่สะอาด ปลอดภัย สำหรับการอุปโภคบริโภค

  7. การสูบจ่าย    น้ำประปาที่ผลิตมาแล้วนั้น จะต้องให้บริการถึงบ้านเรือนของผู้ใช้น้ำโดยส่งผ่านไปตามเส้นท่อ ดังนั้นการสูบจ่ายจึงมีความจำเป็น ด้วยการส่งจากหอถังสูงที่สามารถริการได้ในพื้นที่ใกล้เคียง และในพื้นที่ที่ไกลออกไปหรือมีความสูงมากจำเป็นต้องใช้เครื่องอัดแรงดันน้ำ เพื่อให้น้ำประปาสามารถบริการได้อย่างทั่วถึง

แนะนำวิธีการทำน้ำสะอาดด้วยตนเอง ตามบ้านเรือน แนวทางการผลิตน้ำสะอาดสำหรับอุปโภค (น้ำใช้) และบริโภค (น้ำดื่ม) ตามบ้านเรือนเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำดื่มน้ำใช้ของหมู่ที่ 2 บ้านซอย 10  โดยอาศัยอุปกรณ์ที่สามารถหาได้ตามบ้านเรือน รวมถึงหาซื้อได้ตามร้านค้าทั่วไป โดยมีประเด็นต่างๆ ดังนี้ แหล่งน้ำ ควรเป็นแหล่งน้ำที่สะอาด ไม่เน่าเสีย ห่างไกลจากแหล่งสุขา กองขยะ และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ และไม่ผ่านการปนเปื้อนของสารเคมี นอกจากนี้ เรายังอาจเลือกแหล่งน้ำได้จากการสังเกตความใส (มีความขุ่นต่ำ) รวมทั้งควรมีการไหลของแหล่งน้ำในบริเวณดังกล่าว (ลดการสะสมสิ่งสกปรก รวมถึงปัญหาเรื่องกลิ่น) หรือใช้น้ำประปา (ที่อาจมีสี ความขุ่น หรือคุณภาพลดลงในภาวะน้ำท่วม) อุปกรณ์ที่จำเป็น ถังน้ำ 2 ใบ เก้าอี้ สายยางสำหรับทำกาลักน้ำ หนังยาง (หนังสติก) 2 เส้น สำลี หรือ ผ้าสำลี หรือ ผ้ายืด หรือ ผ้าขาวบาง ไฟฉาย สารส้ม น้ำยาคลอรีนเหลว (หยดทิพย์) หรือด่างทับทิมละลายน้ำ (ละลายผงด่างทับทิม 2 ช้อนชาลงในน้ำสะอาด 500 มิลลิลิตร หรือให้เป็นดังสัดส่วนข้างต้น) กาต้มน้ำ ขั้นตอนการผลิต วางถังน้ำใบที่ 1 ลงบนเก้าอี้ เติมน้ำจากแหล่งน้ำที่เลือกแล้วว่าสะอาดที่สุด ลงในถังใบที่ 1 แกว่งสารส้ม จนกระทั่งมองเห็นก้อนตะกอนเกิดขึ้น (ใช้ไฟฉายส่องดู) ซึ่งอาจใช้เวลา 5-20 นาที ขึ้นกับปริมาณน้ำและลักษณะความขุ่นของน้ำ ในกรณีที่มีก้อนสารส้มขนาดเล็ก เราสามารถใช้ผ้าขาวบางมัดสารส้มขนาดเล็กๆ ด้วยกัน เพื่อทำการแกว่งสารส้ม
ตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนในถังใบที่ 1 (ประมาณ 20 – 30 นาที) เมื่อใช้ไฟฉายส่องดูอาจเห็น 1) ตะกอนด้านล่าง 2) ตะกอนลอย (ฝ้า) ด้านบน และ 3) น้ำใส (ด้านบนหรือกลางของถังใบที่ 1)
ใช้สายยาง เพื่อทำกาลักน้ำ (ถ่ายส่วนน้ำใสจากถังใบที่ 1 ไปสู่ถังใบที่ 2) โดยที่ปลายด้านที่น้ำจะไหลออกไปสู่ถังใบที่ 2 นั้น อาจใช้การอุดสายยางด้วยสำลีและมัดด้วยหนังยาง หรือพันหุ้มปลายสายยางด้วยผ้าสำลี/ผ้ายืด/ผ้าขาวบาง ด้วยยางหนังสติก 2 เส้น เพื่อทำการกรองให้ได้น้ำใสอีกครั้งหนึ่ง (ไม่ควรใช้ผ้าหนา หรือซ้อนหลายชั้นเกินไป อาจทำให้น้ำไม่สามารถไหลได้) หากไม่มีอุปกรณ์สายยางทำ กาลักน้ำ อาจใช้ขันตักน้ำส่วนที่ใสและกรองน้ำผ่านผ้าขาวบางหรือผ้ายืดก่อนเข้าถังใบที่ 2 แทน
ทำการฆ่าเชื้อโรคในถังใบที่ 2 (เราควรทราบปริมาตรน้ำในถังใบที่ 2) เติมน้ำยาคลอรีนเหลว (หยดทิพย์) 1 หยดต่อ 1 ลิตร หรือ เติมด่างทับทิมละลายน้ำ 3 – 5 หยดต่อ 1 ลิตร จากนั้น กวนผสมและปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 30 นาที
ได้น้ำใช้สำหรับการอุปโภค (อาบน้ำ ซักล้าง หรือกิจกรรมอื่นๆ) ไม่สามารถนำไปดื่มได้ (บริโภคไม่ได้) หากท่านไม่สามารถหาอุปกรณ์ เช่น สายยาง สำลี หรือผ้า เพื่อทำกาลักน้ำและกรองอีกชั้นหนึ่งได้ ท่านอาจใช้วิธีการทำน้ำใช้ด้วยตนเองซึ่งได้เสนอแนะไปก่อนหน้านี้เพื่อทำน้ำสำหรับอุปโภค (น้ำใช้เท่านั้น) ได้ การกรองด้วยสำลีหรือผ้าอีกชั้นหนึ่งจะช่วยให้น้ำมีความใสมากขึ้นและช่วยให้การฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนหรือด่างทับทิมมีประสิทธิภาพมากขึ้น การทำน้ำสำหรับดื่ม  เราอาจใช้วิธีดังนี้ นำมาต้มให้เดือด เพื่อฆ่าเชื่อโรค รวมถึงไล่สารพิษหรือสารเคมีอันตรายที่ระเหยได้ออก เพื่อใช้เป็นน้ำดื่ม สำหรับน้ำประปาซึ่งขุ่นและมีสี สามารถทำให้ใสขึ้นด้วยวิธีข้างต้นในข้อ 3 และนำมาต้มให้เดือด เพื่อใช้เป็นน้ำดื่มได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนครัวเรือน  อสม แกนนำ คณะทำงานสภาผู้นำ  จำนวน 50 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี