บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง

เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ ครั้งที่ 129 พฤศจิกายน 2558
29
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันนี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้การทำนำ้ยาเอนกประสงค์ครั้งที่ 1ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านควนหนองหงษ์
กำหนดการกิจกรรม เวลา 9.00 – 10.30 น รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม เวลา 10.30-11.00 น. ประธานโดยนางจีระนันท์แปะก๋งเส้ง เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านควนหนองหงส์ เปิดกิจกรรม เวลา 11.00-12.00 น.เรื่องเล่าจากผู้ที่ใช้น้ำยาเอนกประสงค์อยู่แล้วบรรยายโดย นายสมนึกมีชนะ ปราชญ์ชาวบ้าน ม.3 ต.ควนหนองหงส์ เวลา 12.00-13.00 น. พักรับประธานอาหารกลางวัน เวลา 13.00-14.30 น.เริ่มทำกิจกรรมทำน้ำยาเอนกประสงค์ เวลา 14.00-15.00 น.แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เวลา 15.00-15.30 น.ปิดประชุมการทำกิจกรรม

เวลา 9.00 น.ชาวบ้านเริ่มทยอยกันมาลงทะเบียน ณ หอประชุม หมู่บ้าน ม. 3 ควนหนองหงส์ เวลา10.30น. ประธานในพิธีโยนางจีระนันท์แปะก๋งเส้งพยาบาลชำนาญการ รพ.สต.ควนหนองหงส์เดินทางมาถึงและได้ทำพิธีเปิดพูดคุยถึงที่มาที่ไปของกิจกรรมนี้ กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการบ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียงซึ่งมีผู้รับผิดชอบคือนางรัชนูมีชนะและนางขวัญใจเนาว์สุวรรณ โครงการนี้สนับสนุนงบประมานโดย สสส.ซึ่งในโครงการจะมีการทำกิจกรรมหลายๆ กิจกรรมที่ยึดหลักแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อจะลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของชาวบ้านได้เพื่อชาวบ้านได้ปรับใช้กับยุคที่ราคายางพาราตกต่ำในขณะนี้ในยุคสมัยนี้ไม่มีอะไรเหมาะสำหรับเราเท่ากับการเดินตามรอยพ่อหลวงโดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงอีกแล้ว เวลา11.00น.เป็นการเล่าเรื่องราวของ นายสมนึกมีชนะ ปราชญ์ชาวบ้าน ม.3 ต.ควนหนองหงส์ผู้ใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นเวลาหลายปีแล้วนายสมนึกมีชนะ ปัจจุบันอายุ 63 ปี เมื่อก่อนมีอาชีพเป็นช่างซ่อมรถเปิดร้านอยู่ที่บ้าน แต่หลังจากนั้นไดผันตัวเองมาเป็นเกษตรกรโดยมาเป็นชาวสวนยางและได้มาเล็งเห็นว่าแนวเศรษฐกิจพอเพียงนั้นมันมีประโยชน์และสามารถทำให้เป็นจริงได้ท่านก็เลยไปอบรม ไปศึกษาแนวเศรษฐกิจพอเพียงเริ่มจาก ธกส. มาแนะนำการทำน้ำหมักจากเศษวัสดุที่มีอยู่ตามบ้านเราเช่นเศษอาหารสด เปลือกผลไม้เศษผัก ที่เราใช้ทำกับข้าว และนำมาทำน้ำยาล้างจานใช้เองน้ำยาซักผ้าใช้เองซึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้มากทีเดียวหลังจากนั้นท่านก็ได้ไปเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพราะเห็นว่ายางพาราที่ท่านกรีดอยู่นั้นให้ผลผลิตไม่เต็มที่ ตามที่ควรจะเป็น แม้ว่าจะใส่ปุ๋ยเคมีในแต่ละปีใช้งบประมาณเป็น 10000- 20000 บาทต้องเสียเงินไปกับการซื้อปุ๋ยเคมีปีหนึ่งๆหลายบาทท่านก็เลยมาคิดทำปุ๋ยหมักชีวภาพใช้เองและปัจจุบันนายสมนึกมีชนะ ทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ทำน้ำยาล้างจาน น้ำยาซักผ้าใช้เอง มาเป็นเวลา 10 กว่าปีแล้ว สามารถลดภาระหนี้สินในครัวเรือนได้และมีสุขภาพร่างกายที่ดี ปลอดจากสารเคมีต่างๆ ครอบครัวมีสุข เวลา12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวันตามอัธยาศัย ร่วมพูดคุยกันตามความสะดวก เวลา 13.00 น. เริ่มทำกิจกรรมกวนน้ำยาเอนกประสงค์วันนี้ที่ทำคือน้ำยาซักผ้าและน้ำยาล้างจานเริ่มแรกวิทยากรแนะนำการทำน้ำยาซักผ้าและน้ำยาล้างจานโยวิทยากร วันนี้คือนางขวัญใจเนาว์สุวรรณเป็นปราชญ์ชาวบ้านวัสดุที่ใช้ทำวันนี้ซื้อมาจาก ธกส.ก่อน เริ่มจากแนะนำวิธีการทำโดยแจกเอกสารประกอบการทำกิจกรรม ขั้นตอนที่1. ผสมเกลือกับน้ำคนให้ละลายก่อนวางพักไว้ 2. นำ N 70 ใส่ถังกวนไปทางเดียวกันประมาณ 5 นาที นำน้ำเกลือที่ละลายไว้เติมลงไปและกวนต่อไปสลับกับใส่น้ำเกลือจนหมดไปเรื่อยๆ 3. เติม F 24 กวนไปทางเดียวกันจนเข้ากันดี 4. ผงฟองนำมาละลายน้ำร้อนคนจนละลายดีนำมาเติมลงไปกวนจนเข้ากันดี 5. เติมน้ำหมักชีวภาพ มะกรูดลงไปกวนต่อไปเรื่อยๆ ในทางเดียวกัน 6. นำน้ำเปล่าประมาณ 6 ลิตร มาเติมลงไป กวนไปเรื่อยๆในทางเดียวกันประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นทิ้งไว้ให้ฟองยุบและก็แบ่งกันไปใช้ เวลา 14.30 – 15.30 น.แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องของการนำน้ำยาเอนกประสงค์ไปใช้ และก็แบ่งน้ำยาที่ร่วมกันทำในวันนี้ไปใช้ที่บ้านและปิดการทำกิจกรรมในวันนี้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปผลการดำเนินงานตามกิจกรรมในครั้งนี้ สรุปได้ว่า กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม 80 คน ได้เรียนรู้การทำน้ำยาเอนกประสงค์ สูตรสมุนไพร เป็นการเรียนรู้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้การประหยัดในครัวเรือน และทำให้สมาชิกได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำำน้ำยาเอนกประสงค์ ทำให้เกิดภาพการทำงานร่วมกันและเมื่อทำเสร็จแล้วมีการแบ่งปันน้ำยาเอนกประสงค์ให้ไปใช้ที่บ้าน ส่ิงที่ได้เรียนรุู้จากกิจกรรมในวันนี้คือเป็นการนำภูมิปัญญาชุมชนมาใช้ เรียนรู้การลดรายจ่ายครัวเรือนและทุกคนมีความร่วมมือสามัคคีกันในการร่วมทำกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานและผู้นำชุมชน 30 คนประชาชนผู้สนใจ 50 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ์ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี