บ้านควนหนองหงส์เรียนรู้การลดหนี้ด้วยวิถีพอเพียง

เรียนรุู้การทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยชีวภาพ ครั้งที่ 221 พฤษภาคม 2559
21
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางรัชนู มีชนะ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพชีวภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กิจกรรมในวันนี้เป็นกิจกรรมเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก โดยจะมาเรียนรู้ร่วมกันในการทำปุ๋ยหมักและได้มอบหมายล่วงหน้าให้สมาชิกนำวัตถุดิบและอุปกรณ์มาช่วยกันทำ พร้อมทั้งนำกระสอบใส่ปุ๋ยหมัก หลักจากร่วมกันทำเสร็จในวันนี้โดยให้นางรัชนี มีชนะ เป็นแกนนำหลักในการเตรียมอุปกรณ์ ซึ่งอุปกรณ์ที่ใช้ทำปุ๋ยหมักประกอบด้วย
  1. ขี้วัว จำนวน ๒๐ กระสอบ
  2. เศษวัชพืชเช่น ใบไม้ผักตบชวาผักบุ้งหยวกกล้วย
  3. แกลบ จำนวน ๒๐ กระสอบ
  4. พด.๑ จำนวน ๑ ซอง
  5. กากน้ำตาลจำนวน ๑ ขวด
  6. กระสอบสำหรับใส่ปุ๋ย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 90 คน
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้นำวัตถุดิบมาช่วยกันทำปุ๋ยหมัก
  3. ผู้เข้าร่วมได้ช่วยกันทำปุึ๋ยหมักช่วยกันสับวัตุถุดิบช่วยกันผสมปุ๋ยหมัก ได้เรียนรู้วิธีทำปุ๋ยหมักดังกล่าว เป็นการหมักปุ๋ยชีวภาพแบบ ใส่กระสอบ โดยต้องจัดเตรียมถานที่ และอุปกรณ์ต่างๆในการทำปุ๋ยหมัก โดยการนำกระสอบ และผ้ายางมารองปูพื้นเพื่อที่จะใช้ในการผสมปุ๋ยหมัก การเตรียมวัสดุในการทำปุ๋ยหมัก โดยการนำใบไม้ผักตบชวาผักบุ้งหยวกกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆเพื่อความรวดเร็วในการย่อยสลาย และนำขี้วัว แกลบ โดยใช้สัดส่วน 1 : 1 มาผสมคลุกเล้าให้เข้ากัน จากนั้นนำ พด.1ผสมกับน้ำ 20 ลิตร และใส่ กากน้ำตาล 1 ขวด ผสมให้เข้ากัน เมื่อส่วนผสมคลุกเคล้าเข้ากันแล้ว ก็นำน้ำที่ผสมกันไว้มารดในกองปุ๋ยให้ทั่วคลุกเค้าให้เข้ากัน โดยกะให้มีความชื้นประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ วิธีทดสอบง่ายๆ คือถ้ากำปุ๋ยไว้ในมือแล้วไม่มีน้ำไหลออกมาตามง่ามนิ้ว และเมื่อแบมือออก ปุ๋ยก็ยังจับกันเป็นก้อน อย่างนี้ถือว่าใช้ได้
  • เมื่อผสมปุ๋ยเสร็จ ก็นำกระสอบที่สมาชิกนำมาจากบ้าน คนละ 3-4 สอบ มาใส่ปุ๋ยโดยใส่ประมาณ2 ส่วน 4 ของกระสอบ เพื่อเหลือพื้นที่ไว้ในการที่จะพลิกกระสอบและนำเชือกมารัดปากกระสอบปุ๋ยไว้ 5.ก็ให้สมาชิกแต่ละคนนำกระสอบปุ๋ยที่ใส่ปุ๋ยไว้เสร็จแล้ว ไปทำการหมักเองที่บ้านโดยจะต้องป้องกันแสงแดดและคอยพลิกปุ๋ย ทุกๆ 2-3 วัน ประมาณ 3 สัปดาห์ ก็สามารถนำปุ๋ยมาใช้ได้ บรรยากาศในการทำงาน ทุกคนมีการพูดคุย เป็นการกันเองพร้อมทั้งพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 90 คน จากที่ตั้งไว้ 90 คน
ประกอบด้วย

วัยทำงาน 50 คน วัยเรียน 20 คน ผู้สูงอายุ 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายยงยุทธ สุขพิทักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี