หมู่บ้านสีเขียว ปลอดโรค ปลอดสารเคมี ด้วยแนวทางเกษตรอินทรีย์ หมู่ที่ 4 บ้านควนโต๊ะเหลง

ศึกษาและออกแบบเครื่องมือ ข้อมูลดี มันหาย ปลอดสารเคมี ปลดหนี้ ด้วย ไบซิเคิลทัวร์23 พฤศจิกายน 2558
23
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวนริศรา แกสมาน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างทีมมนักจัดเก็บข้อมูลชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. สภาผู้นำชุมชนประชุมหารือ และเตรียมความพร้อมการดำเนินงาน
  2. รับสมัครเยาวชนจิตอาสา เข้าร่วมพัฒนาชุมชน
  3. สร้างทีมเยาวชนไบซิเคิลทัวร์ นักจัดการข้อมูล จำนวน 20 คน ร่วมปฏิบัติการเรียนรู้การจัดเก็บข้อมูลในชุมชน จำนวน 3 วัน
  4. จัดทำสื่อ เสื้อทีมในการออกจัดเก็บข้อมูล เพื่อการทำงานเป็นทีมเชิงสัญลักษณ์ และประชาสัมพันธ์ สสส เสริมพลังคนทำงาน วันที่1 เรื่องหลักการเศรษฐกิจพอเพียงและ การวิเคราะห์ชุมชน อดีต สภาพความเป็นจริง ณ ปัจจุบัน และความคาดหวังในอนาคต
    วันที่2 ทำความเข้าใจกับทีมเยาวชนและการพัฒนาออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลที่ตรงกับสภาพความเป็นชุมชนและทบทวนให้เป็นปัจจุบันโดยจัดเก็บ ข้อมูล ด้านเศรษฐกิจรายรับรายจ่าย หนี้ การดำรงชีวิตด้านสถานะสุขภาพและด้านสิ่งแวดล้อมในชุมชน วันที่3 พัฒนาเครื่องมือ/บัญชีครัวเรือน และทดลองฝึกปฏิบัติการเก็บข้อมูล
  5. จัดทำเสื้อทีม เยาวชนนักจัดเก็บข้อมูล เพื่อการทำงานเป็นทีม เชิงสัญลักษณ์พร้อมประชาสัมพันธ์ สสส.
  6. โดยแบ่งโซน มีครู อสม. เป็นหัวหน้าทีม และกลับมาสรุปรายงานสิ่งที่ได้เรียนรู้
  7. ประเมินผลการทำงานนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ มาสรุป วางแผน สิ่งที่จะดำเนินการต่อ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมออกเเบบเครื่องมือในครั้งนี้มีทั้งหมด 3วันประกอบด้วย กิจกรรมวันแรก วันที่ 23 พฤศจิกายน 2558 ประธานโครงการร่วมพบปะพูดคุย ผู้เข้าร่วมประชุมและชี้แจ้งกิจกรรมการดำเนินในครั้งนี้ หลังจากนั้นประธานโครงการก็เชิญพี่เลี้ยงโครงการร่วมพูดคุยที่มาในการดำเนินกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่คณะทำงานโครงการและผู้เข้าร่วมประชุมและหลังจากนั้นเชิญทีมวิทยากรร่วมพูดคุยในเรื่องหลักเศรษฐกิจพอเพียง และมีการวิเคราะห์ชุมชนโดยทีมเยาวชนในชุมชน ทีมเยาวชนแนะนำตัวเองกับเพื่อนๆทีมงาน หลังจากนั้นก็แบ่งโซนการเก็บเครื่องมือ ซึ่งในการแบ่ง โซในครั้งนี่ได้ทั้งหมด 3 โซน คือ

• โซนควนโต๊ะเหลง • โซนทุ่งกาด • โซนตีหงี

โดนในแต่ละโซนก็จะคัดเลือกประธานรองประธานและเลขาขอแต่ละโซนและร่วมกันวาดแผนผังในโซนที่ตัวเองรับผิดชอบและกำหนดจุดสำคัญในแต่ละโซนทีมเยาวชนร่วมมือกันและให้ความร่วมมือกันเป็นอย่างดี กิจกรรมวันที่24 พฤศจิกายน2558 ก็เป็นในเรื่องของการทำความเข้าใจกับทีมเยาวชนในเรื่องการออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลให้ตรงกับสภาพความเป็นจริงของชุมชน ซึ่งผลที่ได้จากการออกแบบเครื่องมือมือในครั้งนี้ จะมีอยู่ 4 ประเด็นประด้วยรายละเอียดดังนี้

ข้อมูลทั่วไป

  • จำนวนสมาชิกในครัวเรือน
  • อาชีพ (หลัก ,เสริม)
  • รายได้ รายจ่าย
  • อายุของสมาชิกในครัวเรือน
  • บ้านเลขที่ผู้ให้ข้อมูล
  • ค่าใช้จ่ายหลัก

ด้านสุขภาพ

  • โรคประจำตัว
  • น้ำหนัก ส่วนสูง
  • อาหารการกิน
  • การออกกำลังกาย
  • ประประเสี่ยงของการเกิดโรค
  • น.ส.ค. ที่รับผิดชอบ

ด้านเศรษฐกิจ

  • อาชีพ (หลัก เสริม)
  • รายได้มาจากไหนเป็นหลัก
  • รายจ่ายหมดไปกับ
  • อาชีพเสริมที่นาสนใจ

ด้านเกษตรอินทรีย์

  • ปลูกผัก กินเองไหม
  • ใช้ปุ๋ยอะไร
  • เป็นสมาชิกกลุ่มไหนบ้าง
  • ทำปุ๋ยชีวภาพใช้เองไหม

กิจกรรมวันที่ 25 พฤศจิกายน2558 หลักจากที่ได้เครื่องมือมาแล้วก็จะมีการพัฒนาเครื่องมือ บัญชีครัวเรือน และทดลองฝึกการปฏิบัติในการเก็บข้อมูล ด้านต่างๆที่ได้ออกแบบมาในชุมชน ทีมเยาวชนให้ความร่วมมือและสนุกสนานมากทุกคนดีใจที่ได้ทำงานร่วมกับเพื่อนๆในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

เยาวชนจิตอาสา

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางธิดาเหมือนพะวงศ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-