พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย สานสายใยสู่ชุมชน หมู่ที่ 10 บ้านคลองบาราเกตุ

ถอดบทเรียน /สรุปผลการดำเนินงาน13 ตุลาคม 2559
13
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอานุรี บินตาเอบ
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุและมีแนวทางชีวิตของผู้สูงวัย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1 กิจกรรมสร้างมาตรการทางสังคม จัดเวทีสรุปบทเรียนโครงการ เพื่อกำหนดมาตรการทางสังคม และนำเข้าสู่เวทีประชาคมเพื่อกำหนด และปรับปรุงพร้อมทั้งมีการประกาศใช้ในชุมชน จำนวน 2 วัน
2. สภาผู้นำชุมชนร่วมถอดบทเรียนการทำกิจกรรมโครงการในปีที่ผ่านมาว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ด้านคนในชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างการทำงาน ว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไร ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร มีอะไรที่ควรทำต่อ และทำต่ออย่างไรเพื่อจะขยายผลต่อยอดในปีต่อไป จำนวน 2 วัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีชุดความรู้ในการพัฒนาต่อยอดการดำเนินงานในชุมชน

ผลสรุปที่สำคัญขอกิจกรรม

จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การคืนข้อมูลสถานะสุขภาพผู้สูงอายุ การให้คำแนะนำ พัฒนศักยภาพการดุแลตนเอง พร้อมทั้งมอบภารกิจการดูแลร่วม ให้กับเครือข่าย จำนวน 2 วัน ซึ่งผลสรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการพัฒนาจะใช้แนวทาง 4 มิติ เพื่อเป็นทิศทางในการดูแล โดยเริ่มจากพื้นที่ต้นแบบและขยายเครือข่ายต่อไป โดยมิติที่ 1 คือ การดูแลระยะยาวต่อผู้สูงอายุกลุ่มพึ่งพิงดังนั้นจึงต้องเร่งหาแนวทางแก้ปัญหา และชะลอภาวการณ์พึ่งพึงให้ได้ ซึ่งกระบวนการสำคัญคือต้องส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแกนหลักในการจัดการ อาทิ การจัดกิจกรรมเยี่ยม ไข้ผู้สูงอายุ ซึ่งถือเป็นโครงการที่ทำให้สุขภาพจิตของผู้สูงอายุดีขึ้น ส่วนมิติที่ 2 คือการสร้างอาชีพและรายได้รวมทั้งกิจกรรมของผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มผู้สูงอายุมีรายได้จากเบี้ยยังชีพของรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งบางครั้งอาจไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ดังนั้นจึงต้องหาทางออกให้ผู้สูงอายุมีงานทำ เพื่อสร้างรายได้ และที่สำคัญเป็นการสร้างคุณค่าทางด้านจิตในให้กับผู้สูงวัยด้วย
ส่วนมิติที่ 3 คือการปรับสภาพแวดล้อมให้เป็นมิตรกับผู้สูงวัย คืออยู่แล้วปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตราย หรือลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุ และมิติที่ 4 คือการเตรียมพร้อมสู่วัยสูงอายุ คือต้องส่งเสริมให้มีการเตรียมการ วางแผน และออกแบบไว้ตั้งแต่เริ่มต้นอย่างไรก็ตามทั้ง 4 มิติของการพัฒนานั้นก็จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายภาคส่วน อาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อบต.ควนโดน รพ.สต.ควนโดนและ ชุมชนแต่ส่วนที่สำคัญที่สุดคือผู้สูงอายุเองจะต้องเข้ามามีส่วนร่วม ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมลงแรง เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และนำไปสู่เป้าหมายคือผู้สูงอายุสามารถจัดการตนเองได้

การเรียนรู้ของทีมงานที่ได้ 1. ความภาคภูมิใจ 1.1 ทีมงานรวมกลุ่มกันทำกิจกรรมได้หลากหลายและร่วมมีบทบาทอย่างเต็มที่ 1.2 ได้เยี่ยม รู้จักผู้สูงอายุมากขึ้น 1.3 ได้เรียนรู้และได้พัฒนาตนเอง 1.4 เห็นการเปลี่ยนแปลงของเยาวชนที่ดีขึ้น 1.5 ได้เรียนรู้วิถีชีวิตผู้สูงอายุ 1.6 มีชมรมผู้สูงอายุ 1.7 ได้รู้จักเครือข่ายการทำงานมากขึ้น 2.ผลงานที่ตามความคาดหวัง 2.1 เกิดชมรมผู้สูงอายุ 2.2. ผู้สูงอายุออกเข้าร่วมกิจกรรมมากขึ้น 2.3 ผู้สูงอายุควบคุมโรคและเป็นคนต้นแบบ 2.4 มีการปลูกผักเพิ่มขึ้นในชุมชน 2.5 กลุ่มเยาวชนปรับพฤติกรรมรวมกลุ่มกันทำประโยชน์เพิ่มมากขึ้น 3. ภาคีเครือข่ายเข้าร่วม 3.1 อบต.ควนโดน 3.2 แพทย์แผนไทย 3.3 กำนันตำบลควนโดน 3.4 รพ.สต.ควนโดน 3.5 ผู้นำศาสนา 4. ปัจจัยความสำเร็จ 4.1 มีทีมงานหลากหลาย 4.2 ทีมงานเข้มแข็ง 4.3 ความร่วมมือของชุมชน 4.4 มีพี่เลี้ยงติดตามให้คำแนะนำ 4.5 การประสานงานที่ดี 5.การขยายผล 5.1 จัดทำหลักสูตรโรงเรียนผู้สูงอายุบ้านคลองบาราเกต 5.2 ต่อยอดวืสากิจชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ทีมสภาชุมชนผู้สูงอายุ และคณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ต้องปรึกษาและคำแนะนำจากพี่เลี้ยงในพื้นที่คั

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-