โครงการเยาวชนคนสร้างสุข บ้านนาเกาะไทร (ต่อเนื่อง ปี2)

จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนอิสลามเข้มแข็งบ้านนาเกาะไทร24 กรกฎาคม 2559
24
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย สมชาย เนียมหวาน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้ที่มีข้อมูลชุมชนในแต่ละด้านของบ้านนาเกาะไทร สามารถถ่ายทอดเผยแพร่แก่ผู้สนใจแลกเปลี่ยนเรื่องราวชุมชน มีเอกสารและบันทึกภาพถ่ายเป็นคู่มือประกอบประจำศูนย์เรียนรู้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามชุมชน บ้านนาเกาะไทร เป็นการปรึกษาพูดคุยกันในชุมชน หลายๆด้าน ที่มีอยู่ในชุมชนซึ่งบริบทชุมชนเป็นคนนับถือศาสนาอิสลาม 50%ของหมู่บ้าน ซึ่งมีกิจกรรมทางศาสนาและการปฏิบัติศาสนากิจที่ยังดำรงค์ไว้อย่างเข้มแข็งและบ่มเพาะเมล็ดพันธ์ใหม่ๆขึ่้นมาเรียนรู้และต่อยอด เป็นการประชุมในสภาผู้นำชุมชน  พูดคุยกันที่สภากาแฟในวันอาทิตย์บริเวณจำหน่ายอาหารของกองทุนน้ำชาเพื่อการศึกษาการรวมทั้งพบปะพูดคุยแบบถึงบ้านถึงที่เฉพาะเรื่องมีที่ความรู้ความถนัดที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาและมักเป็นการทำโดยรู้ทั่วกัน การประชุม ต้องการให้มีการบันทึกเป็น ด้านประวัติชุมชน ด้านศาสนา การศึกษา ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาวะ  โดยต้องร่วมมือประสานงานกับหน่วยงานราชการอื่นๆ เข้ามามีส่วนร่วมการเตรียมข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญมาก การจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ต้องเป็นสถานที่ที่สามารถเรียนรู้ได้จริง ข้อมูลจริง  สถานที่จริง บางอย่างต้องจับต้องได้จริงด้วย  เพื่อไม่ให้เป็นศูนย์ที่ว่างเปล่ามีเพียงชื่อ ท่านผู้ใหญ้บ้าน นายนพรัตย์ ชุมศรีได้แนะนำให้ทำข้อมูลเป็นเอกสารพร้อมทั้งจัดทำสไลต์ภาพถ่ายที่เป็นข้อมูลชุมชนให้เรียบร้อยแล้วนำมาเผยแพร่ต่อสภาผู้นำอีกครั้งหนึ่ง แล้วหลังจากนั้น จึงดำเนินการขอจดจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนผ่านทางฝ่ายปกครองและมีทีมงานคณะกรรมการที่จัดเจนสามารถปฏิบัติงานได้ต่อเนื่อง และท่านผู้ใหญ่บ้านจะสนับสนุนให้ศูนย์เป็นภาคีเครือข่ายกับสภาองค์กรชุมชนตำบลปกาสัย ด้วย เพิ่มระดับการทำงานของคณะกรรมการศูนย์ให้มีความเคลื่อนไหว มีงาน มีกิจกรรม และงบประมาณสนับสนุนจากรัฐ เข้ามาช่วยเหลือให้ศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นศูนย์ที่มีชีวิต สามารถเป็นแหล่งข้อมูลแลกเปลี่ยนระหว่างชุมชนที่สนใจในแนวทางการทำงานและเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการจัดการบริหารศูนย์ของชุมชนเองให้เข้มแข็ง สามารถดึงประชาชนในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนต่อเติมประเด็นต่างๆให้เพิ่มยิ่งขึ้น เพื่อให้ศูนย์ได้เป็นแหล่งข้อมูลของชุมชนเก็บและรวบรวมบันทึกเรื่องต่างๆไว้ให้ได้ค้นหาเพื่อเรียนรู้ พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลและรูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัยด้วย ภาพนิ่ง ภาพวิดีโอพร้อมเสียงบรรยายมีเอกสารประกอบในการนำเสนอ สามารถนำไปถ่ายทอดเผยแพร่ได้ทุกสถานที่ไม่จำเป็นต้องอยู่ประจำศูนย์ที่เดียว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สิ่งที่เกิดขึ้นจากการร่วมคิดร่วมทำร่วมพูดคุยในหลายๆด้าน หลายๆจุด ผลสรุปหรือผลลัพธ์ที่ได้คือ
1.ข้อมูลเชิงลึกด้านชมุชน ประวัติชุมชนจากคำบอกเล่าและการอ้างอิงโดยสถานที่จริง

2.หลักสูตรและคู่มือการศึกษาของเด็กและเยาวชนที่พัฒนาให้การเรียนการสอนของชุมชนมีคุณภาพยิ่งขึ้น

3.ฐานเรียนรู้ชุมชน5 ฐาน ประกอบด้วย 1.จุดรวมพล 2.การศึกษาโดยชุมชน3.เศรษฐกิจพอเพียง4. ส่งเสริมอาชีพครัวเรือน5.สุขภาวะครอบครัว ซึ่ง5ฐานนี้เรียกว่า "วงเวียนเรียนรู้"

4.ชุดความรู้ชุมชนเบื้องต้น3ชุด

5.วิทยากรประจำฐานศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลามชุมชน บ้านนาเกาะไทร 5 คน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 71 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเป้าหมายในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีอิสลาม ชุมชนบ้านนาเกาะไทร มีชาวบ้านร่วมแลกเปลี่ยนเสนอความคิดการรวบรวมข้อมูล 71 คน ผู้นำชุมชนคณะกรรมการรมัสยิด 15 คนผู้นำศาสนา 15 คน ผู้ใหญ่บ้าน1 คนเยาวชน20คนชาวบ้าน20คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การประสานงานจากหลายหน่วยงานเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมและทำกิจกรรมล่าช้าเพราะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเต็มมือ

การเก็บข้อมูลต้องอาศัยเวลา ช่วงโอกาส และสถาการณ์ เช่นงานประเพณีงานพิธีการ การ่ขาดเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำข้อมูลก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้งานไม่ต่อเนื่อง
การไม่มี Wifiในสถานที่จัดกิจกรรมเครื่องมือ บันทึกภาพ สื่อต้นแบบ สิ่งเหล่านี้หากไม่มีหรือไม่พร้อม ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานกิจกรรม

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-