โครงการเยาวชนคนสร้างสุข บ้านนาเกาะไทร (ต่อเนื่อง ปี2)

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการวิสาหกิจชุมชนตัวอย่างการผสมปุ๋ยอินทรีย์-ชีวภาพบ้านดินแดง อ.ลำทับ จ.กระบี่18 กันยายน 2559
18
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย สมชาย เนียมหวาน
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเพิ่มศักยภาพแกนนำชุมชนให้มีความรู้จากพื้นที่ต้นแบบด้านการจัดการบริหารชุมชนน่าอยู่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมมีการแยกกลุ่มกันไปเรียนรู้หลายพื้นที่เพราะมีหลายจุดให้ได้เรียนรู้แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มย่อยกลุ่มละประมาณ 8 - 10 คน เนื่องจากการรวมกลุ่มจัดทำแปลงเกษตรของเยาวชนในชุมชนมีการพูดคุยปรึกษาหารือกันทุกวันอาทิตย์ ภายหลังจากการขายน้ำชา (กองทุนน้ำชาเพื่อการศึกษา มัสยิดบ้านนาเกาะไทร) เป็นสภากาแฟ เพราะเป็นการ กินไปคุยกันไป มีทั้งเด็กและผู้ใหญ่เข้ามาพูดคุยความต้องการของเด็กๆ การปลูกสำหรับบางพื้นที่นั้นทำยาก บางพื้นที่ทำง่าย สำหรับ มัสยิดบ้านนาเกาะไทรมีพื้นที่สำหรับทำแปลงเกษตรที่นอกเหนือจากการปลูกผักให้สวยงามแล้วจักต้องเป็นการสร้างรายได้ให้กับตัวเองและครอบครัวการไปลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดการวิสาหกิจชุมชนระดับดีเด่นภาคใต้ตอนบน ปี 58 ล่าสุด ทำให้ชาวบ้านและเยาวชนได้เห็นกระบวนการตั้งแต่  แนวคิด ในการลดต้นทุน คือการไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ผลิตโดยใช้วัสดุธรรมชาติที่มีอยู่นท้องถิ่น เช่น แกลบ กากปาล์ม ทางปาล์ม เศษพืช มูลวัว มูลไก่ เศษผักผลไม้ และอื่นๆที่ีอยู่ในชุมชนหรือหามาได้แล้วทำการหมักโดยใช้สารเร่งอินทรีชีวภาพทำให้สิ่งที่ถูกหมักย่อยสลายและมีอินทรีย์วัตถุที่เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้และผัก จากกระบวนการผลิตทั้งหมด เมื่อทำในจำนวนที่มากแล้วผลที่ออกมาหลังจากการนำไปใช้ สามารลดต้นทุนการผลิตสินค้าภาคเกษตรได้จริง จึงมีการรวมกลุ่มกันลงหุ้นผลิตเพื่อนำปุ๋ยที่ผลิตได้มาจำหน่ายให้กับสมาชิกในชุมชนและผู้ที่สนใจอยากลดต้นทุนการผลิต เป็นผลให้สมาชิกในกลุ่มนอกจากลดต้นทุนการผลิตได้แล้ว ยังทำให้มีรายได้จากการจำหน่ายปุ๋ยที่ผลิตได้ผ่านการลงหุ้นของแต่ละคน  นอกจากนี้ยังมีแปลงสาธิต หรือแปลงทดลอง จากการใช้ปุ๋ยที่ผลิตได้จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเอง เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าชมและศึกษาดูงานเปรียบเทียบระหว่างการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยที่ผลิตเองจากธรรมชาติที่ให้ผลผลิตคงที่ มีผลดีต่อสุขภาพของผู้ใช้ ลดต้นทุน รายได้เพิ่ม มีเงินออม แถมสุขภาพดี สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนดี สังคมดี ตำบลดินแดงและบ้านปลายทับใหม่ จึงได้รับรางวัลหมู่บ้าน น่าอยู่ที่สุดของจังหวัดกระบี่ ปี 59 เด็กๆและชาวบ้านที่ไปเยี่ยมต่างชื่นชมว่าเป็นหมู่บ้านเกษตรที่สวยงามอย่างยิ่งชุมชนสะอาดปลอดขยะ มีการปลูกพืชเกษตรที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือทุกบ้าน ไม่มีพื้นที่ว่างเปล่าประโยชน์เลย ทุกตารางเมตรเต็มได้ด้วย มะละกอ และกล้วยพันธุ์ต่างๆ เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ และผลไม้อื่นๆ มากมายเต็มพื้นที่ทั้งตำบล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การเรียนรู้ศึกษาแนวทางการจัดการบริหารชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนสามารถทำให้ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้นรวมถึงสิ่งแวดล้อมและสุภาพของคนในชุมชนดีขึ้นนั้น เป็นสิ่งที่ได้แลกเปลี่นเปรียบเทียบให้เห็นว่าชุมชนชนของเราสามารถทำตามและตัดแปลงความสำเร็จนั้นได้จากพื้นที่ของต้นแบบ ทุกคนที่ไปเรียนรู้ในกิจกรรมนี้ มองเห็นภาพความเป็นไปได้ในเรื่องของความสามัคคี และการบริหารที่ดี

  1. การตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อลดรายจ่ายเพิ่มรายได้

  2. การจัดการสิ่งแวดล้อม

  3. การใช้สื่อ เข้ามาแสดงผลลัพธ์ของความสำเร็จของงานที่ทำ

  4. รู้จักเรียนรู้ความสำเร็จจากพื้นที่ต้นแบบ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม เป็นเยาวชนและแกนนำหมู่บ้านที่สนใจด้านทำเกษตรพอเพียง การปลูกพืช ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์และการผสมปุ๋ยหมักหรือที่เรียกกันว่า ปุ๋ยชีวภาพ ล้วนแล้วแต่มุ่งเน้นการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว การรวมกลุ่มของเยาวชนช่วยกันทำแปลงเกษตรปลูกผักกางมุ้ง มีสมาชิกรวมกล่มกันประมาณ 20 คน และมีลุ่มแกนนำจำนวน  10  คนที่สนใจอยากมีความรู้ในการทำปุ๋ยชีวภาพเพื่อนำมาใช้กับปลงเกษตรของกลุ่ม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-