สือดังเบอร์ซาตู (ร่วมเป็นหนึ่ง)

วิเคราะห์/สังเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ครั้งที่224 ธันวาคม 2558
24
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายฮาฎอรอมี สะตา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้หมู่บ้านเกิดแผนพัฒนาหมู่บ้านเพื่อไปสู่ในการปฎิบัติ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประสานผู้เข้ากิจกรรมและประชาสัมพันธ์เสียงตามสายทุกเช้าในมัสยิด
  • ประสานวิทยากรกระบวนการในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • แบ่งบทบาทหน้าที่แก่คณะทำงาน การรับลงทะเบียน การจัดการด้านอาหาร เครื่องดื่ม เก็บภาพ ประมวลผลกิจกรรม
  • จัดเตรียมข้อมูลที่ผ่านจากเวทีวิเคราะห์ครั้งที่1เพื่อให้ทีมวิทยากรวิเคราะห์ครั้งที่ 2 โดยวิทยากรให้ความรู้ในขั้นตอนการจัดทำแผนที่เดินดินของหมู่บ้าน มีขั้นตอนการทำคือ มาทำแผนที่เดินดินโดย การเดินสำรวจดูด้วยตา และจดบันทึกทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมของชุมชนและสิ่งต่างๆ ที่พบเห็นลงบนบันทึก เพื่อเข้าใจถึงความหมายทางสังคม (Social Meaning) และหน้าที่ทางสังคม (Social Function) ของพื้นที่ทางกายภาพ (Physical Space) เป็นเครื่องมือชิ้นแรกที่สำคัญที่จะนำไปสู่ความเข้าใจชุมชน ด้วยวิธีการง่ายๆ และใช้เวลาไม่นานมาก
  • วิธีการ และข้อแนะนำโดยการนำแผนที่ชุมชน ใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น ทบทวนข้อมูลในแผนชุมชน มีข้อมูลที่สามารถนำกลับมาใช้หรือจำเป็นต้องสำรวจใหม่ การให้ความสำคัญกับการสร้างความคุ้นเคยกับชาวบ้านในชุมชนควบคู่กับการเขียนแผนที่ แวะทักทายชาวบ้านระหว่างการทำ
  • สรุปประเด็นที่เกิดขึ้นในการจัดกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เรียนรู้การทำแผนที่เดินดิน มีหลักการ คือ

  1. ถ้าเป็นหมู่บ้านที่มีระยะห่าง ไม่ควรนั่งรถยนต์ทำแผนที่ อาจใช้รถจักรยาน หรือจักรยานยนต์ แต่ต้องหมั่นจอดแวะทักทายชาวบ้าน
  2. ต้องเดินสำรวจให้ทั่วถึง โดยเฉพาะบ้านคนจน บ้านผู้ทุกข์ยากที่อยู่ชายขอบของชุมชน บ้านของผู้ที่แยกตัวอย่างโดดเดี่ยวในชุมชน
  3. มองพื้นที่ทางกายภาพแต่ตีความให้เห็นถึงพื้นที่ทางสังคม
  4. ถ้าทีมงานมีหลายคน ไม่ควรแยกเขียนแล้วนำมาต่อกัน ควรเดินสำรวจร่วมกันทั้งทีม
  5. หมั่นสังเกตและพูดคุยแลกเปลี่ยนกันในทีมระหว่างเดินสำรวจว่าพื้นที่ที่เห็นบอกเรื่องราวอะไรที่สำคัญของชุมชน ซึ่งถือว่าเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สำคัญ
  6. ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถสังเกตได้ด้วยตาเพียงอย่างเดียว ( อาจเป็นภาพลวงตา ) จำเป็นต้องสอบถามจากเจ้าของบ้านญาติ เพื่อนบ้าน หรือบุคคลอื่นเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม
  7. ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถสอบถามจากเจ้าของบ้านได้โดยตรง จำเป็นต้องสอบถามคนในชุมชนเพิ่มเติม หรืออาศัยการสังเกตเพิ่มเติมด้วยตนเอง
  8. ข้อพึงระวัง เมื่อให้ชาวบ้านนำทาง ข้อมูลอาจจะมีอคติจากผู้พาเดิน เช่น ไม่ต้องการให้พบเห็นสิ่งที่คิดว่าสร้างความเสื่อมเสียต่อชุมชน
  9. พยายามเขียนข้อสังเกต เช่น ความสัมพันธ์ทางสังคมระหว่างคนในชุมชน หน้าที่ทางสังคมของพื้นที่ต่าง ๆ
  • การวิเคราะห์ทุนหมู่บ้าน คือ บ้านสือดังยังมี่พื้นที่ไม่ได้ปรโยชน์เพื่อให้เกิดรายได้ บุคคลที่ยังขาดความรู้ในการแก้ปัญหาหมู่บ้านทั้ง 4 ด้านการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานยังน้อย
  • ร่วมเสนอแนวทางการแก้ปัญของหมู่บ้าน
  1. ทำให้มองเห็นภาพรวมของชุมชนได้ครบถ้วน
  2. ได้ข้อมูลมากและละเอียดในระยะเวลาสั้น
  3. ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากกว่าเพราะได้จากการสังเกตด้วยตนเอง
  4. นำไปสู่ความเข้าใจในมิติอื่นๆ ตามมา
  5. นำข้อมูลมาปรับใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหาหมู่บ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 51 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำหมู่บ้านและตัวแทนประชาชนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ยังไม่มีการจัดทำแผนที่เดินดินจะดำเนินกิจกรรมทำแผนที่เดินในกิจกรรมถัดไป
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-