กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก

แผนปฏิบัติชุมชนในการแก้ปัญหาครอบครัวภายใต้การมีส่วนร่วมของสภาผู้นำ(สภากองปังสร้างสุข)20 มีนาคม 2559
20
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย มะรอบี ยามิง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดทำข้อมูลด้านความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัว

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อแบ่งบทบาทหน้าที่ในการประสานงาน ติดต่อ และเตรียมอาหารสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน40คน
  2. ประสานวิทยากรการจัดทำแผนสัมพันธ์ครอบครัว น.ส.ซูไฮลา สะนิ ให้ความรู้เรื่องการทำแผนชุมชน
  3. นำข้อมูลต่างๆที่ผ่านการวิเคราะห์มาใส่ในแผนปราชญ์ชาวบ้าน -กลุ่มเยาวชน -ครู -ตัวแทนหัวหน้าครอบครัว -ผู้นำศาสนา -บัณฑิตอาสา -แกนนำหลักในชุมชน -และกลุ่มสตรีจำนวน 40คน จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ปัญหาครอบครัวที่ทำการผู้ใหญ่บ้านม.8บ้านกลาพอตก โดยวิทยากรให้ความรู้และขั้นตอนกาารจัดทำแผนสัมพันธ์ครอบครัวโดยมีขั้นตอนดังนี้คือ
  • ขั้นตอนที่ 1 วิทยากรชวนคุยเกี่ยวกับข้อมูลความสัมพันธ์ของคนในชุมชน
  • ขั้นตอนที่ 2 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและบอกเล่าความเป็นมาของคนในหมู่ 8 บ้านกะลาพอตก
  • ขั้นตอนที่ 3 การรวบรวมข้อมูล เป็นการรวบรวมข้อมูลความสัมพันธ์ของคนในชุมชน
  • ขั้นตอนที่ 4 จัดทำแผนความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานและประชาชนจำนวน40คน เรียนรู้การจัดทำแผน
  • ผลที่เกิดจากการจัดทำแผน คือ ได้ความสัมพันธ์ครอบครัว ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวในชุมชน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาความเข้มแข็งของครอบครัวและพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัวให้ดีขึ้น โดยกำหนดเป็นกิจกรรมในลักษณะการเฝ้าระวัง การป้องกัน การแก้ไข การส่งเสริมและพัฒนาที่ครอบครัวสามารถนาไปปรับใช้หรือเข้ามามีส่วนร่วมได้ และมีความสอดคล้องกับความต้องการของครอบครัวและบริบทของชุมชน ความสำคัญของแผนความสัมพันธ์ครอบครัวโดยชุมชนใช้เป็นแนวทางในการเฝ้าระวัง การป้องกัน การแก้ไข การส่งเสริมและพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัว เปิดโอกาสให้ครอบครัว และชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทาแผนครอบครัวเข้มแข็งโดยชุมชน ตั้งแต่การกำหนด สืบค้นข้อมูล การวางแผน การดำเนินการตามแผน การติดตามและรับผลประโยชน์โดยการสนับสนุนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งจากภายในและภายนอกชุมชน ทำให้เกิดการนำข้อมูลครอบครัวในชุมชน เช่น ข้อมูลความเข้มแข็งของครอบครัว ข้อมูล จปฐ.ข้อมูลพื้นฐานชุมชน ข้อมูลด้านสาธารณสุข เป็นต้น มาใช้ในการกำหนดแผนครอบครัวเข้มแข็งโดยชุมชนทำให้ครอบครัวและชุมชนรับรู้และตระหนักถึงสถานการณ์ครอบครัวในชุมชน เพื่อให้การพัฒนาความเข้มแข็งของสถาบันครอบครัวมีเป้าหมายชัดเจน เช่น โครงการกีฬาต้านยาเสพติด อบรมจริยธรรมเด้กเยาวชนในช่วงปิดเทอม เกิดแผนงานโครงการดังนี้โครงการกีฬาเพื่อต้านยาเสพติดวัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
  2. เพื่อให้เยาวชนมีสุขภาพกาย จิตแข็งแรง
  3. เพื่อให้เยาวชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้ชีวิตที่ถูกต้องระหว่างกันกระบวนการ คือ การสรรหาแกนนาเยาวชนที่มีทักษะความสามารถในการเล่นกีฬามาเป็นแกนนาในการจัดตั้งกลุ่มกีฬา การเปิดรับสมัครเยาวชนเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มกีฬา และจัดหาสถานที่สาหรับให้เยาวชนได้ทากิจกรรมด้านกีฬาร่วมกัน งบประมาณ 100,000บาท
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย

-ปราชญ์ชาวบ้าน -กลุ่มเยาวชน -ครู -ตัวแทนหัวหน้าครอบครัว -ผู้นำศาสนา -บัณฑิตอาสา -แกนนำหลักในชุมชน -และกลุ่มสตรี

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-