กองปังสร้างสุขบ้านกะลาพอตก

กองปังสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว (ลานศิลปะกองปังพี่สอนน้อง)8 เมษายน 2559
8
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย มะรอบี ยามิง
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนในการจัดทำข้อมูลด้านความสัมพันธ์ระหว่างเยาวชนกับคนในครอบครัว

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. นัดประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมในการแบ่งบทบาทหน้าที่
  2. ประสาน ปราชญ์ชาวบ้านผู้นำศาสนา กุลุ่มเยาวชน อสม. ตัวแทนหัวหน้าครอบครัว กลุ่มเครื่อข่ายเยาวชนศิลปะกองปัง
  3. เตรียมสถานที่ลานศิลปหน้าบาลาเซาะบ้านกลาพอตก
  4. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์อาหารว่างแก่ผู้เข้าร่วมจำนวน 21 วัน เริ่มจัดเตรียมสถานที่ในลานบาลาเซาะบ้านกลาพอตกในการฝึกอบรมศิลปะกอปังตั้งแต่วันที่ 8 เมษายนถึงวันที่ 3 พฤษภาคม2559 เป็นเวลา 21วัน เริ่มตั้งแต่ โดยใช้กองปัง (เครื่องเล่นสมัยก่อนมีลักษณะคล้ายกลอง ซึ่งเป็นเครื่องเล่นในสมัยท่านนบีมูฮัมมัด) มีรายละเอียด ดังนี้
  • วันที่ 8 เม.ย.59 เริ่มสอนร้องอนาซีดประสานเสียงแก่เด็ก โรงเรียนตาดีกาโรงเรียนตายุจดีน บ้านกะลาพอตก
  • วันที่ 9 เม.ย.59 ฝึกร้องอนาซีดประสานเสียงเป็นรายบุคคล เพื่อคัดเลือกผู้ร้องประสานเสียงนำ
  • วันที่ 10 เม.ย.59 จัดแบ่งกลุ่ม เพื่อการประสานเสียงให้เป็นจังหวะ
  • วันที่ 11 เม.ย.59 สอนผู้ร้องนำเพื่อเกิดความมั่นใจให้แก่ผู้ร้องตาม
  • วันที่ 12 เม.ย.59 สอนผู้ร้องตาม ในการใช้ประสานเสียงที่พร้อมเพรียงกัน
  • วันที่ 13 เม.ย.59 ร่วมกันฝึกร้องประสานเสียงเป็นทีม
  • วันที่ 14 เม.ย.59 เริ่มทำการรู้จักเครื่องดนตรี พร้อมทั้งฟังเสียงเครื่องดนตรีในแต่ละอย่าง
  • วันที่ 15 เม.ย.59 เริ่มการฝึกเล่นดนตรี เพื่อคัดเลือกว่าใครเหมาะสมกับเครื่องดนตรีประเภทไหน
  • วันที่ 16 เม.ย.59 สอนเล่นเครืองดนตรีให้เป็นจังหวะ
  • วันที่ 17 เม.ย.59 สอนตีกล่องให้เป็นจังหวะพร้อมร้องประสานเสียงไปด้วยกัน
  • วันที่ 18 เม.ย.59 ฝึกการขึ้นเวทีพร้อมร้องประสานเสียงและตีกล่องไปด้วยกัน ณ โรงเรียนตาดีกาตายุจดีน บ้านกะลาพอตก
  • วันที่ 19 เม.ย.59 เริ่มการฝึกร้องอนาซีดใหม่ๆ
  • วันที่ 20 เม.ย.59 ฝึกร้องประสานเสียงพร้อมตีกล่องภายในตำบลที่มีการจัดกิจกรรมภาคเวที ณ บ้านกะลุแปเหนื่อ
  • วันที่ 21 เม.ย.59 มีการบรรยายธรรมที่บาลาเซาะ พร้อมเชิญกลุ่มร้องประสานเสียงกองปังขึ้นเวที่ไปด้วย
  • วันที่ 22 เม.ย.59 มีชมรมวัฒนธรรมอำเภอสายบุรีมาเชิญให้กลุ่มประสานเสียงกองปังกะลาพอตก ไปเล่นที่ลานหน้าอำเภอสายบุรี เพื่อให้ประชาชนรำลึกถึง วัฒนธรรมเก่าๆ ที่กำลังจะสูญหาย
  • วันที่ 23 เม.ย.59 มีการสอนการสื่อความหมายในเนื้อหาที่กำลังขับร้อง
  • วันที่ 24 เม.ย.59 มีชมรมวัฒนธรรมอำเภอสายบุรี เชิญกลุ่มประสานเสียงกองปังให้ไปเล่นที่จังหวัดปัตตานี
  • วันที่ 25 เม.ย.59 โรงเรียนตาดีกาปะนาเระ ได้มาเชิญให้กลุ่มกองปัง ไปร่วมแสดง ณ บ้านฆือลอง
  • วันที่ 26 เม.ย.59 ได้มีการแสดง ณ ตลาดหาดวาสุกรี ขอรับบริจากเพื่อจัดงานให้แก่เด็กกำพร้าภายในตำบลเตราะบอน
  • วันที่ 27 เม.ย.59 ได้จัดประชุมคณะทำงานและผู้เข้าร่วมกลุ่มกองปัง ในการจัดงานเลี้ยงเด็กกำพร้าใน วันที่30 เม.ย.59 ที่จะถึงนี้
  • วันที่ 28 เม.ย.59 ฝึกร้องพร้อมตีกล่องให้เป็นจังหวะ ก่อนงานเลี้ยงเด็กกำพร้า
  • วันที่ 29 เม.ย.59 ได้จัดการแสดงอีกครั้ง ณ ตลาดเปิดท้ายปัตตานี เพื่อของบสมทบทุนงานเลี้ยงเด็กกำพร้า
  • วันที่ 30 เม.ย.59 จัดซื้อของพร้อมเตรียมสถานที่และเวที่ เพื่องานเลี้ยงที่จะเกิดขึ้นตอนเวลา 20.30น. จนถึง 03.00น.
  • วันที่ 1 พ.ค. 59หลังจากจัดงานเสร็จไปด้วยดี คณะทำงานพร้อมทั้งผู้เข้าร่วมกลุ่มกองปัง ก็ได้จัดการประชุมพร้อมหาจุดบกพร่องในการจัดงานในวันที่ 30 เม.ย.59
  • วันที่ 2 พ.ค. 59 สรุปผลจากการทำกิจกรรม 21 วัน 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากกิจกรรมที่เกิดขึ้นใน วันที่ 2 เม.ย 59 ถึงวันที่ 1 พ.ค 59 สรุปได้ว่า เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและลดช่องว่างระหว่างกลุ่มคณะทำงาน ซึ่งเป็นวัยผู้ใหญ่กับกลุ่มเด็กเยาวชน ทุกคนในหมู่บ้านถือว่าเป็นปัญหาของตนเอง เข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาให้กลุ่มเยาวชนเขาจัดการปัญหา ออกแบบวิธิแก้โดยเขาเอง แก้ปัญหาโดยการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกัน ให้เขาคิด ทำแก้ปัญหาโดยตัวเขาเองดีกว่าการสั่งให้เขาตามเรามันเหมือนเป็นการถูกบังคับ สามารถลดความหวาดระแวงทั้งในระดับครอบครัวและชุมชน ก็จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เยาวชนเองก็จะไม่ทำให้เป็นปัญหาและภาระต่อชุมชน อีกทั้งสามารถเกิดความสัมพันธ์และความร่วมมือกันให้เกิดชุมชนเข้มแข็งให้อย่างยั่งยืน ทุกครอบครัวมีความเข้าใจระหว่างกัน มีความเอื้ออาทรระหว่างกัน ช่วยกันดูแลลูกฉันลูกเธอ เกิดการพบปะพูดคุยระหว่างผู้นำในชุมชน คนในชุมชน เด็กและเยาวชน กลุ่มเสี่ยงเข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตามความชอบและสมัครใจ เกิดกิจกรรมที่คนในชุมชนทำร่วมกัน เกิดระบบการเฝ้าระวังภัยทางสังคมที่จะเข้ามาในชุมชน ใช้ข้อมูลในการทำงานมากขึ้น
  • เกิดกลุ่มเยาวชนและสภาหมู่บ้านในการร่วมมือการฝึกสอนเยาวชนคนรุ่นใหม่ในการห่างไกลยาเสพติดผ่านเรี่องราวการร้องเพลง โดยใช้เครื่องมือในการร้องกองปังเริ่มจากการฝึกการตีกลองใช้กระบวนการพี่สอนน้องเพื่อบอกเล่าผ่านเสียงเพลง จากการแต่งเพลงของเยาวชนรุ่นพี่เพื่อสร้างความเข้าในแก่ผู้ปกครองและสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัว เยาวชนจะบอกพ่อแม่ขอเวลาวันละครั้งทีจะได้อยู่พร้อมหน้าพ่อแม่ลูก ผลที่เกิดขึ้น ว่า เยาวชนกลุ่มเสียงได้เข้ามาร่วมและไม่ยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดพ่อแม่ คนในชุมชนเข้าใจเยาวชนผ่านการสื่อสารด้วยศิลปกองปัง และสร้างแรงจูงใจในการออกแสดงกองปังเพิ่มรายได้แก่เยาวชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 45 คน จากที่ตั้งไว้ 32 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มเป้าหมาย คณะกรรมการตามโครงการ 8 คน ปราชญ์ชาวบ้าน 1 คน ผู้นำศาสนา 1 คน กุลุ่มเยาวชน 10 คนอสม.2 คน ตัวแทนหัวหน้าครอบครัว 8 คน กลุ่มเครื่อข่ายเยาวชนศิลปะกองปัง / 15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-