ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

ประชุมจัดตั้งสภาผู้นำ18 ตุลาคม 2558
18
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เกิดแกนนำชุมชนเข้มแข็ง - เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน- เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินโครงการให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมาย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เวทีปรึกษาหารือจัดตั้งสภาผู้นำ มีการจัดเวที จำนวน 2 ครั้ง
ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 18 ต.ค. 58และครั้งที่ 2 วันที่ 25 ต.ค.58 สถานที่ สวนลุงวร เวลาในการประชุม เวลา 13.00 น. ถึง 15.30 น. โดยมีผู้รับผิดชอบโครงการ ,คณะทำงานโครงการ และวิทยากรกระบวนการ คุณสมนึก หนูเงิน และคุณประนอบ คงสม จากตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบลควนรูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เวทีครั้งที่ 1 วันที่ 18 ต.ค. 58

  • นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ แกนนำเยาวชนชี้แจ้งวัตถุประสงค์ความเป็นมาการจัดตั้งโครงการซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงและการดำเนินกิจกรรมจัดตั้งสภาผู้นำเพื่อสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการ และการพัฒนาชุมชน
    เรียนรู้ และทำความเข้าใจรูปแบบของสภาผู้นำ

    1. การใช้หลักสหกรณ” ซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายที่ได้ประโยชน์ คือ คนในชุมชนเอง

    2. การใช้หลักการทำงานของภาครัฐที่ได้เน้นการรวมตัวขององค์กรศูนย์ประสานงานชุมชน ทุกตำบลเป็นการทำงานรวมของเครือข่าย ซึ่งปี2551 เกิดกฎหมายรองรับองค์กร ชาวบ้านที่จัดตั้งขึ้น ของพี่น้องเครือข่ายภาคประชาชน เกิด พรบ.รับรองสภาชุมชน ที่ถูกต้องตาม กฎหมาย ได้ยกตัวอย่าง เช่น สภาผู้นำ หนองกลางดง ของผู้ใหญ่โชคชัย, สภาผู้นำหนองสาหร่าย,สภาผู้นำหนองนาใต้(สี่แยกคูหา) บางพื้นที่ใช้คำว่า สภาประชาชร เกิดจากศูนย์ประสานงาน ยกระดับเป็นสภาประชาชนที่รวมตัวกลุ่ม องค์กร เครือข่ายถ้าเป็นทางการ เช่น -สภาองค์กรชุมชนตำบลเช่น กลุ่มควนรู ใช้หลักการ “ผู้นำสามขา” เปรียบเสมือนเก้าอี้หัวล้าน ไม่มีพนักพิง -ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชน -สภาซูลอง(อิสลาม)

  • แกนนำชุมชนได้ร่วมสะท้อน และแสดงความคิดเห็น เช่น

    1.นายพิศาล ธรรมรัตน์ ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับวิทยากรกระบวนการคุณสมนึก หนูเงิน ได้ซักถามเป้าหมายของคำวาสภาผู้นำ ซึ่ง คำตอบจากวิทยากรคือ เพื่อเชื่อมโยงประสานงานองค์กรกับภาครัฐ

    2.นายวัฒนา ทองเอื้อ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเป้าหมายของสภาผู้นำ คืออยากเห็นคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชน โดยการนำความรู้จากคนในพื้นที่ที่ได้รับความรู้จากการเล่าเรียนมาพัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้น

    3.นายพร้อม ทองเอื้อ ผู้สูงอายุ ได้เล่าย้อนรอยอดีตเกี่ยวกับปัญหาชุมชนที่ภาครัฐไม่เคยส่งทุนมาสนับสนุนมาให้ชุมชนเลย ได้เสนอแนวคิดว่าให้แก้ปัญหาเรื่อการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายทราด้านการเกษตรโดยการลดใช้สารเคมีค่อยๆเปลี่ยนมาเป็นอินทรีย์ โดยใช้หลักทฤษฎี “ฝูงควาย” โดยใช้แม่ควายหรือพ่อควายเป็นตัวขับเคลื่อนในการนำทาง และควายตัวอื่นจะเดินตามโดยไม่แตกฝูง

    4.นายสุทิศ พงษ์จีน ผจก.สหกรณ์การเกษตรควนเนียง จำกัด ได้แสดงความคิดเห็น ของโครงการซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง โดยบอกว่า จุดเด่นของโครงการนี้คือสมาชิกส่วนใหญ่เป็นสมาชิกของสหกรณ์การเกษตรควนเนียง มีจุดเด่น คือ การทำเกษตรอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ แก๊สชีวภาพ จุดด้อยคือ มีปัญหาเรื่องตลาดจัดจำหน่ายสินค้าและผลผลิต ซึ่งคุณสุทิศในฐานะ ผจก.สหกรณ์การเกษตรควนเนียง จำกัดจะช่วยการประสานงานให้มีตลาดชุมชนสหกรณ์ขึ้นโดยใช้สถานที่หน้าโรงปุ๋ยสหกรณ์การเกษตรควนเนียง ซึ่งอยู่ห่างจากปากซอยชุมชนซอยปลักควายประมาณ 500 เมตร

    5.นายนิยม ศิริมุกศิกะ ได้เสนอเรื่องการรื้อฟื้นภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น การทำครกสี การทำครกถีบ การทำรังผึ้งจากไม้ยางพารา เพื่อให้คนรุ่นใหม่ในชุมชนสามารถรู้จักและสืบทอดรุ่นต่อๆไป ไม่ให้สูญหาย

  • ดังนั้นในเวทีครั้งที่หนึ่งจึงสรุปได้ว่า แกนนำชุมชนมีความเข้าใจการทำงานภายใต้รูปแบบของสภาผู้นำ และเห็นทิศทางการทำงานของชุมชนโดยใช้การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ในส่วนของชุมชนปลักควาย การใช้หลัก ธรรมชาติ คือ ทฤษฎี “งูบองหลากับหมาฝูง” ซึ่ง จะใช้แนวคิดคือ “งูบองหลา” เป็นตัวปัญหา ส่วน “หมาฝูง”เป็นตัวจัดการที่เป็นกระบวนการ โดยตั้งข้อสังเกต คือ หมาจะเห่าเมื่อเจองู โดยจะแบ่งกลุ่มการเห่าของมาตามวัยดังนี้

    กลุ่มที่1.หมาเด็ก จะเห่าเพื่อส่งเสียงรบกวนประสาท
    กลุ่มที่2.หมาแก่ จะคอยสังเกตการณ์

    กลุ่มที่3.หมาหนุ่ม คอยจัดการปัฐหา

    กลุ่มที่4.หมาไม่สังกัดกลุ่มที่1-3 จะแอบเห่าอยู่ในที่ลับหรืออยู่ในป่าซึ่งจะไม่ปรากฎตัว


    เวทีครั้งที่ 2 วันที่ 25 ต.ค.58

นางสาวอมรรัตน์แจ้งที่ประชุมถึงเวทีคุยสรุปการจัดตั้งสภาผู้นำโครงสร้างของสภาผู้นำ บทบาทหน้าที่ในการทำงานร่วมกัน ประกอบด้วย

1.นายพร้อม ทองเอื้อตำแหน่งผู้นำอวุโสชุมชน บทบาท หน้าที่ให้คำปรึกษา ตัดสินใจร่วมกันกับสมาชิกและกรรมการชุมชน 2.นายประจวบ คงขวัญตำแหน่ง ที่ปรึกษาชุมชนคนที่2 บทบาทหน้าที่ให้คำปรึกษา ตัดสินใจร่วมกันกับสมาชิกและกรรมการชุมชน 3.นายผ่อง นวลละออ ตำแหน่ง ที่ปรึกษาชุมชนคนที่2 บทบาทหน้าที่ให้คำปรึกษา ตัดสินใจร่วมกันกับสมาชิกและกรรมการชุมชน 4.นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์ ตำแหน่ง เลขานุการ บทบาทหน้าที่จดบันทึกรายงานการประชุมประสานงานกับสภาชุมชนและชาวบ้าน 5.นางสาววลัยลักษณ์ สุวรรณมณี ตำแหน่ง เหรัญญิก บทบาทหน้า ดูแลการรับ-จ่ายเงิน และดูแลทรัพย์สินของชุมชน 6.นายนุสนธิ์ ธรรมรัตน์ ตำแหน่ง กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 7.นายพิศาล ธรรมรัตน์ ตำแหน่ง กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 8.นายประคอง เพรชพรหมศร กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 9.นายผอบ ทองอำพล กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 10.นางเสาวนีย์ บุญการกรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 11.นางอัมไพ ธรรมรัตน์ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 12.นางสุวิมล ทองเอื้อกรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 13.นางพิน อุไรรัตน์ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 14.นายนิยม ศิริมุกศิกะ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 15.นายชาญชัย คงขวัญ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 16.นายสัญญา ทองเอื้อ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 17.นางสาวคะนึง ยิ้มเยื้อน กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 18.นายเวียน ธรรมรัตน์ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 19.นายอนันต์ แก้วเจริญ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 20.นางสาวทัศนีย์ ธรรมรัตน์ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 21.นายนิวัฒน์ ปิยะพงษ์ กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง 22.นายณรงค์ สังฆะปาโน กรรมการ ทำหน้าที่ ร่วมกันให้ความติดเห็นและประสนงานกับชาวบ้านพื้นที่ใกล้เคียง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.กิจกรรมประชุมจัดตั้งสภาผู้นำ มีการดำเนินงานจัดเวทีให้แกนนำชุมชนได้พูดคุย ปรึกษาหารือ จำนวน 2 ครั้งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 ต.ค. และ 25 ตค. 58 จากการหารือทั้งสองเวที ทำให้เกิดคณะทำงานชุมชนในรูปแบบสภาผู้นำ ที่ประกอบด้วย ปราชญ์ชุมชน, กรรมการหมู่บ้าน ,เยาวชน , อสม. จำนวน22 คน

2.แกนนำฃุมชนมีความเข้าใจเรื่องสภาผุ้นำเพิ่มมากชึ้น เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ของชุมชน

3.เกิดการทำงานร่วมกันของแกนนำชุมชนภายใต้การขับเคลื่อนของวงสภาผู้นำชุมชน

4.เกิดโครงสร้างสภาผู้นำชุมชน แบ่งบทบาทหน้าที่ ของแต่ละบุคคล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ปราชญ์ชุมชน 5 คน
  • ผูู้สูงอายุ 2 คน
  • ประชาชนวัยทำงาน ชาย หญิง 13 คน
  • อบต 1 คน
  • อสม 2 คน
  • เยาวชน 4 คน
  • สมาชิกสหกรณ์ 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-