ซอยปลักควายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียง

เสวนาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ พืชร่วมยาง กับวิถีเกษตรยุคใหม่10 มกราคม 2559
10
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางสาวอมรรัตน์ ธรรมรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ จุดเด่น จุดด้อยในการปลูกสวนยางเชิงเดี่ยว และสวนยางแบบพืชร่วมยาง และเปิดโอกาสให้คนในชุมชนมาเรียนรู้และสามารถนำไปหฏิบัติใช้ในพิ้นที่แปลงขอตนเอง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เวลา 12.40-13.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมการทำกิจกรรม
  • เวลา 13.00-13.20 น. นายพิศาล ธรรมรัตน์ พิธีกร และปราชญ์ชุมชน กล่าวสวัสดีทักทายพี่น้องในชุมชนที่มาร่วมทำกิจกรรม และได้เชิญ คุณเพ็ญศรี แซ่ตัน หัวหน้าเกษตรอำเภอ มากล่าวเปิดงาน และพบปะทักทายกับพี่น้องเกษตรกรในชุมชนที่เข้าร่วมรับฟังเวที เสวนา พร้อมทั้งแนะนำตัว ประวัติความเป็นมา และเสนอแนะกิจกรรมที่ทางเกษตรอำเภอควนเนียงกำลังจะจัดให้พี่น้องเกษตรกร เกี่ยวกับการจ่ายเงินชดเชยที่ทางรัฐบาลกำลังสนับสนุนและช่วยเหลือชาวสวนยางพาราให้พี่น้องเกษตรกรไร่ละ 1,500 บาท สำหรับเกษตรกรที่เคยได้รับเงินค่าชดเชยไปแล้วผ่านการขึ้นทะเบียนเกษตรอำเภอเมื่อปี 2557 และ มีการประชาสัมพันธ์ เรื่อง ขอเชิญร่วมงานวันถ่ายทอดความรู้(Filed Day) ปี 2559 ณ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรปี 2559 เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญา ที่มีความเหมาะสมกับพี้นที่ ตลอดจนการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้สำหรับพื้นที่การทำยางพาราซึ่งเป็นพืชเชิงเดี่ยวในปัจจุบัน เพื่อจัดกระบวนการในการบรรเทาปัญหายางราคาถูก และ แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากเด็กนักเรียนในโรงเรียน เผยแพร่เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การปลูกพืชร่วมยาง และการป้องกันกำจัดโรคยางพาราให้มีคุณภาพ เพื่อให้มีการถ่ายทอดจากเด็กไปสู่ผู้ใหญ่ให้ร่วมด้วยช่วยกันพึ่งพาตัวเองสู่การอยู่รอดต่อไปในอยาคต
  • เวลา 13.20-13.40 น. นายพิศาล ธรรมรัตน์ ได้เชิญให้นายสำเริง แก้วศรีนวล จนท.ส่งเสริมการเกษตร จังหวัดสงขลา มาพบปะพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมการดำเนินงานของหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรในปัจจุบัน ซึ่ง นายสำเริงได้แจ้งถึงความคืบหน้าเกี่ยวกับการทำงานในปัจจุบันว่า ในภาคใต้ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการเกษตรขึ้นมาแล้วทั้งหมด 16 แห่ง ซึ่งเกษตรกรที่ทำสวนยางพาราสามารถไปขอข้อมูลและขอความรู้ได้ตามจุดต่างๆ ที่ทางจัดหวัดกำหนดไว้ตามอำเภอต่างๆ เช่น อ.รัตภุมิ อ.สิงหนคร อ.นาทวี อ.สทิงพระ เพื่อแก้ปัญหาให้กับเกษตรกรที่ประสบปัญหาจากภาวะที่ยางพารา ราคาตกต่ำ
  • เวลา 13.40-14.00 น. นายพิศาล ธรรมรัตน์ ได้เชิญให้ นายสุทิศ พงษ์จีน ผจก.สหกรณ์การเกษตรควนเนียง จก. มาร่วมเสวนา ซึ่ง นายสุทิศ พงษ์จีน ได้บอกถึงแนวทางที่ทางสหกรณ์การเกษตรควนเนียงได้มีแผน การทำกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือ พี่น้อง เกษตรกร ที่กำลังประสบปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย ในช่วงภาวะราคายางตกต่ำเปิดร้านขายอาหารราคาถูก เริ่มต้นที่ราคาจานละ10 บาททุกวันพุธ ของสัปดาห์ และอาหารบุฟเฟ่ จานละ 50 บาท ทุกวัน จันทร์-ศุกร์(ยกเว้นวันพุธ) มีการขายของราคาถูกตลาดนัดเปิดท้ายทุกวันพุธสุดท้ายของวันสิ้นเดือน ฯ พร้อมทั้งเชิญชวนพี่น้องเกษตรกรภายในชุมชนสามารถนำสินค้า เช่น พืชผลทางการเกษตร ไป จำหน่าย ณ ตลาดกลางเกษตรอินทรีย์จุดร้านค้าจำหน่ายของ สหกรณ์การเกษตรควนเนียง ได้ทุกคน
  • เวลา 14.00-15.00 น. นายพิศาล ธรรมรัตน์ ได้เชิญให้ นาย จำนาญ วิจะสิกะ หน.ฝ่ายปฏิบัติการ กยท.รัตภูมิ เข้าร่วมเวที่ เสวนา ซึ่ง จำนาญ ได้บอกเล่าประวัติความเป็นมาของการการจัดตั้ง หน่วยงาน กยท. เปลี่ยนชื่อมาจาก สกย. เพื่อเป็นการ ส่งเสริม และ รวมกลุ่ม เพื่อแสวงหากำไรให้กับกลุ่มพี่น้องเกษตรกร เพื่อเพิ่มช่องทางให้กับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางมากขึ้น ส่วนการส่งเสริมในการปลูกพืชแซมยาง โดยเปลี่ยนจากสวนยางโล่งเตียนให้เป็นป่ายาง เนื่องจากมีพืชหลายชนิดที่ช่วยเกื้อหนุนให้ยางพารามีน้ำยางที่มีคุณภาพดีมากขึ้น เช่นการปลูกกล้วย ปลูกผักเหมียง(เหรียง) ปลูกพืชสมุนไพรเช่น ขมิ้น หัวไพร หรือสำหรับเกษตรกรที่ล้มยางรัฐบาลจะมีเงินส่งเสริมการปลูกพืชแทนยางล้มครัวเรือนละ 100,000 บาท พร้อมทั้งได้ชี้แนะและเชิญชวนให้พี่น้องเกษตรกรสวนยางปรับเปลี่ยนความคิดจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมาปลูกพืช ร่วมแนวผสมผสานที่หลากหลายในบริเวณสวนยาง และเปลียนสภาพจากสวนยางเป็นป่ายางอีกครั้ง เพื่อคืนความชุ่มชื้นให้กับผืนดิน และสามารถเอื้อกับยางพารา สามารถเพิ่มผลผลิตน้ำยางให้มีคุณภาพและทำให้เกษตรกรมีรายได้จากการปลูกพืชแซมด้วย
  • เวลา 15.00-15.40 นายพิศาล ธรรมรัตน์ ได้เชิญ นางสุดา ยาอีด หน.เกษตรอำเภอคลองหอยโข่งมาเสวนาเกี่ยวกับวิธีการปลูกพืชร่วมยาง จากประสบการณ์จริงของเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในพื้นที่ อ.คลองหอยโข่ง นางสุดา ได้เริ่มบรรยายพร้อมฉายสไลต์ภาพประกอบ เกี่ยวกับหัวข้อทางรอดของเกษตรกรชาวสวนยางพารา ได้เริ่มจากการเปิดประเด็นปรับเปลี่ยนความคิดของเกษตรกรที่มาร่วมรับฟัง โดยใช้หลักการทำสวนยางพาราดังนี้
  1. ต้องทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง 2.ต้องทำให้มีรายได้เสริม นอกเหนือจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว 3.ต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ในส่วนของเกษตรกรที่จะมีการปรับเปลี่ยนจากพืชเชิงเดี่ยวมาเป็นพืชผสมผสาน ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดดังนี้

- ต้องรู้จักวิธีการปลูกพืชแซมที่ถูกต้อง เช่น การปลูกผักเหลียง - ต้องมีงบประมาณในการลงทุน เช่น กิ่งพันธ์ ค่าเดตรียมพื้นที่ การสนับสนุนจาก ภาครัฐ เช่น ภาคการเกษตร
- ต้องมีตลาดรองรับ - ควรรู้วิธีการปลูกที่ถูกต้อง สำหรับพืชร่วมยางที่แนะนำให้ปลูกและมีเกษตรกรในพื้นที่ อ.คลองหอยโข่งปลูกและมีตลาดรองรับสามารถจำหน่ายได้อย่างต่อเนื่อง แยกประเภทตามอายุอย่างได้แก่ 1. พื้นที่ยางพาราแก่ เหมาะสำหรับปลูก หมากเหลือง,สละอินโด,ผักเหรียง,เหรง,และ เลี้ยงเป็ด 2. พื้นที่ยางพาราอ่อนเหมาะสำหรับการปลูก ดาวเรือง,ผักกูด,มะละกอ 3. พื้นที่ล้มยางพาราไปแล้ว เหมาะสำหรับการปลูก ข้าวโพดหวาน,ฝรั่ง สำหรับการปลูกพืชร่วมยาง คือ การปลูกพืชที่อยู่ร่วมกับยางอายุ มากกว่า 3 ปี ขึ้นไป เช่น ไผ่ลวก คุณสุดา ได้สรุปตอนท้ายไว้ สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่มากกว่า 100 ไร่ กรมทรัพยากรธรณี มีการลงทุน เรื่องน้ำ ผ่านพลังงาน Solar Cell  เกษตรกรสามารถยื่นหลักฐานการขึ้นทะเบียนได้ที่หน่วยงานดังกล่าวได้ เวลา 15.40-16.00 นายพิศาล ธรรมรัตน์ ได้เชิญนายอนุชา ยาอีด ตำแหน่งหัวหน้ายุทธศาสตร์เกษตร จ.สงขลา มากล่าวสรุปปิดการเสวนา พืชร่วมยาง ซึ่งนายอนุชา ได้กล่าวสรุปว่า เกษตรกรทุกคนต้องหันมาปรับทัศนคติเกี่ยวกับการปลูกพืชเสริมให้มากขึ้นเปลี่ยนจากสวนยางพาราที่โล่งเตียน มาเป็นป่ายางที่มีพืชแซม แต่ต้องเป็นพืชที่ตลาดต้องการ และต้องมีการรวมกลุ่มและมีเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันได้เพื่อจะได้พึ่งพาเกี่ยวกับเรื่องควบคุมคุณภาพของผลผลิตและตลาดที่จะนำไปขาย เพื่อจะได้เป็นทางรอดในการดำเนินชีวิตเพื่อปากท้องของพี่น้องเกษตรกรทุกคนในขณะที่กำลังเผชิญกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจราคายางตกต่ำ 16.00-16.20 นายพิศาล ธรรมรัตน์ ได้เปิด การถามตอบระหว่าง วิทยากร ปราชญ์ชุมชน และเกษตรกรในชุมชน โดยนายนุสนธิ์ ได้ถามถึง ตลาดผักเหลียงพร้อมขอคำแนะนำวิธีการปลูก ว่าสามารจำหน่ายที่ไหน นางสุดาได้ตอบว่า ตลาดส่วนใหญ่เป็นร้านอาหารในหาดใหญ่ และ ตลาดกิมหยง ส่วนวิธีการปลูก นางสุดา แนะนำให้ปลูก 2 วิธี คือ ผักเหรียงใบเรียวเล็ก ให้ปลูกเอียง 45 องศา ส่วนผักเหรียงใบใหญ่ ให้ปลูกลำต้นตั้งตรง


16.20 น. นายพิศาล ธรรมรัตน์ ขอบคุณ วิทยากรที่มาร่วมเสวนาทุกคน พร้อมกล่าวปิดการเสวนา และ มอบกระเช้าของที่ระลึก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทำให้คนในชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องการปลูกพืชเชิงเดี่ยว และีความเข้าใจเกี่ยวกับการปลูกพืชแบบผสมผสาน
  • ทำให้คนในชุมชน มีความรู้เกี่ยวกับการเพิ่มรายได้จากการปลูกพืชเสริมในพื้นที่สวนยางที่มีอยู่แล้วโดยการปลูกพืชแซมที่เหมาะสมในพื้นที่ของ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 214 คน จากที่ตั้งไว้ 200 คน
ประกอบด้วย

ประชาชน หมู่ 1 และหมู่ 13

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-